แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 14 ตุลาคม 2560
- Tweet
- บทนำ
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อย่างไร?
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อย่างไร?
- ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
- ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
- ยาลดความดัน ยาลดความดันเลือดสูง ยาลดความดันโลหิตสูง (Antihypertensive drug)
บทนำ
แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker ย่อว่า CCB หรือ Calcium channel antagonist หรือ Calcium antagonist) ถูกค้นพบและนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) เป็นหมวดยาที่มีฤทธิ์รบกวนการเคลื่อนย้ายเกลือแคลเซียมในเซลล์ของร่างกาย และส่งผลให้เกิดการลดความดันโลหิต ทางการแพทย์จึงนำยากลุ่มนี้มารักษาโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงอาการเจ็บหน้าอกด้วยหัวใจขาดเลือด และป้องกันการหดเกร็งตัวของหลอดเลือดดำในบริเวณสมองด้วยเช่นเดียวกัน
เราอาจแบ่งหมวดของยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ออกตามโครงสร้างยาได้ดังนี้
1. กลุ่มโครงสร้างไดไฮโดรไพริดีน (Dihydropyridine หรือ Dihydropyridine calcium channel blocker): ใช้ลดความดันของหลอดเลือดแดงและของหลอดเลือดดำ ใช้รักษาอาการหัวใจขาดเลือด ซึ่งในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย ยา เช่น Amlodipine, Aranidipine, Azelnidipine, Barnidipine, Benidipine , Cilnidipine, Isradipine , Efonidipine, Felodipine, Lacidipine , Lercanidipine , Manidipine, Nifedipine, Nilvadipine, Nimodipine , Nisoldipine, Nitrendipine, Pranidipine
2. กลุ่มโครงสร้างนอน - ไดไฮโดรไพริดีน (Non – dihydropyridine Non-Dihydropyridine calcium channel blocker): ยังแบ่งเป็นโครงสร้างโมเลกุลยาได้อีก ดังนี้
- 2.1 กลุ่มโครงสร้างฟีนิลแอลคิลเอมีน (Phenylalkylamine หรือ Phenylalkylamine calcium channel blocker) ใช้ลดความ ต้องการออกซิเจนในกล้ามเนื้อหัวใจ นำมารักษาอาการหัวใจขาดเลือด (Angina) ประกอบด้วยยา เช่น Verapamil, Gallopamil, Fendiline
- 2.2 กลุ่มโครงสร้างเบนโซไทอะซีปีน (Benzothiazepine หรือ Benzothiazepine calcium channel blocker ) ช่วยลดอัตราการทำงาน ของหัวใจและทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีตัวยา 1 ตัว คือ Diltiazem
ข้อมูลทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic, การศึกษาความเป็นไปของยาเมื่อ ยาเข้าสู่ร่างกาย) ของยากลุ่มนี้ อาจกล่าวในภาพรวมว่า แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ดูดซึมได้จากระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับกลาง ตัวยาสามารถรวมตัวกับพลาสมาโปร ตีนตั้งแต่ 80% จนถึงมากกว่า 90% ขึ้นไป ตับจะเป็นอวัยวะที่คอยกำจัดยาออกจากร่างกาย โดยต้องใช้เวลาตั้งแต่ประมาณ 2 ชั่วโมงจนถึง 45 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยา
คณะกรรมการอาหารและยาได้บรรจุยากลุ่มนี้บางตัวลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น Amlodipine, Diltiazem, Nicardipine, Nifedipine, Nimodipine, และ Verapamil โดยจัดอยู่ในหมวดยาอันตราย
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีข้อจำเพาะเจาะจงต่อคนไข้แต่ละรายแตกต่างกันออก ไป ยังรวมถึงข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังอีกมากมาย การใช้ยาจึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีสรรพคุณดังนี้
- รักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina)
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- รักษาอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Supraventricular tachycadia)
- ป้องกันโรคปวดศีรษะที่มีอาการปวดเป็นชุดๆ/ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster headache)
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะลดการนำเข้าของแคลเซียมเข้าในกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ในผนังเซลล์ของหลอดเลือดรวมถึงกล้ามเนื้อของหัวใจ ส่ง ผลให้หลอดเลือดเหล่านั้นขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง รวมถึงลดการหดบีบตัวของหัว ใจอีกด้วย
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้
- ยาเม็ด ขนาด 2.5, 5, 10, 20, 30, 40, 60, 90, และ 240 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาแคปซูล ขนาด 90 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาฉีด ขนาด 10 และ 50 มิลลิกรัม
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
เนื่องจากยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีหลายรายการ ความเหมาะสมของตัวยากับกลุ่มโรคมีความแตกต่างกันออกไป อีกทั้งมีข้อห้ามใช้และผลข้างเคียงมากมาย การใช้ยาที่ปลอดภัยจึงขึ้นกับแพทย์ผู้ทำการรักษาที่จะสามารถบริหารยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หาย ใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อา การข้างเคียง) ดังนี้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ บวมตามปลายแขนและขา หัวใจ เต้นเร็ว วิงเวียน รู้สึกระคายเคืองในทางเดินอาหาร และท้องผูก
มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ดังนี้
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วย Wolfe-Parkinson-White Syndrome (กลุ่มอาการหัวใจเต้นผิด ปกติชนิดหนึ่ง)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุก ชนิด (รวมยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น ดังนี้
- การรับประทานยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ เช่น Digoxin อาจทำให้ร่างกายกำจัด Digoxin ได้ช้าลง ก่อให้เกิดความเสี่ยงการได้รับพิษจาก Digoxin มากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน หรือต้องปรับขนาดการรับประทานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
- การรับประทานยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (เช่น Nifedipine หรือ Diltiazem) ร่วมกับยาลดกรดบางตัว เช่น Cimetidine อาจเพิ่มความเป็นพิษกับหัวใจมากขึ้น จึงควรหลีก เลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การรับประทานยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล๊อกเกอร์บางตัว เช่น Diltiazem ร่วมกับยากันชัก เช่น Phenytoin อาจทำให้ฤทธิ์การรักษาของยากันชักด้อยประสิทธิภาพลง หากไม่จำ เป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
ควรเก็บรักษายาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อย่างไร?
กลุ่มยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ควรเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 20 - 25 องศาเซล เซียส (Celsius) เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Ambes (แอมเบส) | GPO |
Amcardia (แอมคาร์เดีย) | Unique |
Amlod (แอมลอด) | Unison |
Amlodac (แอมโลแดค) | Zydus Cadila |
Amlopine (แอมโลปีน) | Berlin Pharm |
Amvas (แอมวาส) | Millimed |
Deten (ดีเทน) | Siam Bheasach |
Lovas (โลวาส) | Millimed |
Narvin (นาร์วิน) | T.O. Chemicals |
Norvasc (นอร์วาส) | Pfizer |
Fedil SR (เฟดิล เอสอาร์) | Standard Chem & Pharm |
Felim (เฟลิม) | Sandoz |
Felodipin Stada 2.5/5/10 Retard (เฟโลดิปิน สตาดา 2.5/5/10 รีทาร์ด) | Stada |
Felodipine Sandoz (เฟโลดิปีน แซนดอซ) | Sandoz |
Felopine 5 (เฟโลปีน 5) | Berlin Pharm |
Feloten (เฟโลเทน) | Biolab |
Plendil (เพลนดิล) | AstraZeneca |
Topidil (ทอพิดิล) | T.O. Chemicals |
Lercadip (เลอร์คาดิพ) | Abbott |
Zanidip (ซานิดิพ) | Abbott |
Madiplot (แมดิพล็อท) | Takeda |
Adalat CR (แอดาแลท ซีอาร์) | Bayer HealthCare Pharma |
Adipine (แอดิปีน) | Patar Lab |
Calcigard Retard (แคลซิการ์ด รีทาร์ด) | Torrent |
Depin-E Retard (เดปิน-อี รีทาร์ด) | Zydus Cadila |
Nelapine/Nelapine SR (เนลาปีน/เนลาปีน เอสอาร์) | Berlin Pharm |
Nicardia (นิคาร์เดีย) | J.B. Chemicals |
Nicardia CD (นิคาร์เดีย ซีดี) | Unique |
Nicardia Retard (นิคาร์เดีย รีทาร์ด) | J.B. Chemicals |
Nifedi-Denk 20 Retard (ไนฟดิ-เดง 20 รีทาร์ด) | E Denk |
Nifedipin T20 Stada Retard (ไนฟดิปิน ที20 สตาดา รีทาร์ด) | Stada |
Nifelat (ไนฟแลท) | Remedica |
Nifelat Q (ไนฟแลท คิว) | Remedica |
Nimotop (นิโมท็อป) | Bayer HealthCare Pharma |
Baypress (เบเพรส) | Bayer HealthCare Pharma |
Ditrenil (ดิเทรนิล) | Siam Bheasach |
Miniten (มินิเทน) | Utopian |
Caveril (แคเวริล) | Remedica |
Isoptin (ไอซอฟติน) | Abbott |
Isoptin SR (ไอซอฟติน เอสอาร์) | Abbott |
Sopmil (ซอฟมิล) | T.O. Chemicals |
Vermine (เวอร์มายน์) | Pharmasant Lab |
Angizem (แอนไจเซม) | Sun Pharma |
Cardil CR (คาร์ดิล ซีอาร์) | Orion |
Cascor XL (แคสคอร์ เอ็กซ์แอล) | Ranbaxy |
Denazox (เดนาซอก) | Remedica |
Dilcardia (ดิลคาร์เดีย) | J.B. Chemicals |
Dilem (ดิเลม) | Douglas |
Dilizem (ดิลิเซม) | Berlin Pharm |
Diltec (ดิลเทค) | Utopian |
Dilzem (ดิลเซม) | Pharmasant Lab |
Ditizem (ดิทิเซม) | Siam Bheasach |
Herbesser 30/Herbesser 60 (เฮอร์เบสเซอร์ 30/เฮอร์เบสเซอร์ 60) | Mitsubishi Tanabe Pharma |
Herbesser 90 SR (เฮอร์เบสเซอร์ 90 เอสอาร์) | Mitsubishi Tanabe Pharma |
Herbesser Injection (เฮอร์เบสเซอร์ อินเจคชั่น) | Mitsubishi Tanabe Pharma |
Herbesser R100/Herbesser R200 (เฮอร์เบสเซอร์ อาร์100/เฮอร์เบสเซอร์ อาร์ 200) | Mitsubishi Tanabe Pharma |
Progor (โพรกอร์) | SMB Technology |
บรรณานุกรม
- http://en.wikipedia.org/wiki/Calcium_channel_blocker[2017,Sept23]
- http://www.bhsoc.org/pdfs/therapeutics/Calcium%20Channel%20Blockers%20(CCBs).pdf[2017,Sept23]
- http://www.medscape.com/viewarticle/421426_5[2017,Sept23]
- http://www.patient.co.uk/doctor/calcium-channel-blockers-pro[2017,Sept23]
- http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a692044.html#storage-conditions[2017,Sept23]
- http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=amlodipine[2017,Sept23]
Updated 2017,Sept23