แคลซิโทนิน (Calcitonin)
- โดย ภก.ศิวัสว์ ผุลลาภิวัฒน์
- 12 มิถุนายน 2558
- Tweet
- บทนำ
- ยาแคลซิโทนินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาแคลซิโทนินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาแคลโทนินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาแคลซิโทนินขนาดและมีวิธีใช้ยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมบริหารยาควรทำอย่างไร?
- ยาแคลซิโทนินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลซิโทนินอย่างไร?
- ยาแคลซิโทนินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาแคลซิโทนินอย่างไร?
- ยาแคลซิโทนินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- มะเร็ง (Cancer)
- เนื้องอก (Tumor)
- โรคกระดูก (Bone disease)
- กระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
- วัยหมดประจำเดือน (Menopause)
- โรคพาเจ็ต (Paget’s disease)
- รักษาผู้ป่วยทีมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเรื้อรังเช่น ในโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายเข้ากระ ดูกหรือโรคมะเร็งบางชนิดเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด
- ยาน้ำพ่นจมูก ขนาด 50, 100 และ 200 ยูนิตต่อขนาดพ่นหนึ่งครั้ง
- ยาฉีด ขนาด 50 และ 100 ยูนิตต่อ 1 มิลลิลิตร
- นำยาออกจากตู้เย็น พักให้หายเย็น การใช้ยานี้ครั้งแรกของแต่ละบรรจุภัณฑ์ ให้เปิดฝาครอบออก ตั้งขวดแนวตรง ทำการพ่นเปล่าสู่อากาศ โดยกดที่หัวปั๊มจนกว่าจะมีละอองยาออกมาหรือจนกว่าจะมีแถบสีเขียวขึ้น เพื่อแสดงว่ายาพร้อมเริ่มการใช้งาน
- เป่าลมออกทางจมูกเบาๆ ก่อนการพ่นยา
- ตั้งศีรษะตรง ปิดจมูกข้างหนึ่งไว้ และสอดปลายขวดพ่นเข้าไปในรูจมูกอีกข้างหนึ่ง และพ่นยาโดยตั้งขวดยาแนวตรง
- โดยปรกติขนาดในการพ่นคือหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวัน ให้เปลี่ยนสลับรูจมูกที่ใช้ในการพ่นในแต่ละวัน
- ขวดผลิตภัณฑ์ของบางบริษัทจะมีแถบแสดงถึงจำนวนครั้งที่เหลือใช้ในการพ่น
- เด็ก: ขนาดยานี้ในเด็กในแต่ละอาการยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจน ดังนั้นการใช้ยานี้ในเด็ก จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษา แพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- ประวัติการแพ้ยาทุกชนิดโดยเฉพาะประวัติการแพ้ยาแคลซิโทนิน ประวัติการแพ้ปลาโดย เฉพาะปลาแซลมอน
- โรคประจำตัวต่างๆรวมถึงยาที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ซื้อทานเองรวมถึงวิตามิน เกลือแร่ ผลิตถัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร
- การตั้งครรภ์ สตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- กรณียาพ่นจมูก: ควรแจ้งว่ามีภาวะของโรคที่จมูกเช่น จมูกได้รับบาดเจ็บหรือกำลังมีการอักเสบ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่แพ้ยานี้หรือแพ้ส่วนประกอบของยานี้
- การใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้รักษาก่อนการใช้ยานี้
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
- American Pharmacists Association, Calcitonin, Drug Information Handbook with International Trade Names. 23;2014:317-318.
- Drugs for postmenopausal osteoporosis (2011). Treatment Guidelines From The Medical Letter, 9(111): 67–74.
- คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1113/2557 เรื่อง แก้ไขทะเบียนตำหรับยาที่มีแคลซิโทนิน (Calcitonin) เป็นส่วนประกอบ
- FDA Panel says to stop marketing salmon calcitonin for osteoporosis.
- http://www.medscape.com/viewarticle/780323[2015,May16]
- MIACALCIC (salcatonin) Drug Information Leaflet. Novatis. October 18, 2013.
- Boron WF, Boulpaep EL (2004). Endocrine system chapter". Medical Physiology: A Cellular And Molecular Approach. Elsevier/Saunders.
- http://wwwapp1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp[2015,May16]
- U.S. Food and Drug Administration. Questions and Answers: Changes to the Indicated Population for Miacalcin (calcitonin-salmon). http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/PostmarketDrugSafetyInformationforPatientsandProviders/ucm388641.htm [2015,May16]
- Calcimar® Solution. Product Monograph. sanofi-aventis Canada Inc. April 15, 2014.
บทนำ
ยาแคลซิโทนิน (Calcitonin) เป็นฮอร์โมนของร่างกายที่สังเคราะห์ขึ้นจากต่อมไทรอยด์เพื่อควบคุมสมดุลแคลเซียมในเลือดให้เป็นปรกติ โดยการลดระดับแคลเซียมในกระแสเลือดเมื่อระดับแคลเซียมในเลือดสูง โดยการกระตุ้นให้เกิดการสะสมแคลเซียมในกระดูก ซึ่งทำงานตรงข้ามกับพาราไทรอยด์ฮอร์โมน อันเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับแคลเซียมกระแสเลือดเพิ่มขึ้นเมื่อระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง
ฮอร์โมนแคลซิโทนินมีบทบาทในสัตว์หลากหลายชนิด ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ด้วยคุณสมบัติของการรักษาสมดุลแคลเซียมของแคลซิโทนินอันเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มระดับแคลเซียมในกระดูก ทำให้มีการนำแคลซิโทนินมาใช้ในทางการ แพทย์และทางเภสัชกรรม เพื่อบรรเทาอาการปวดจากกระดูกหัก หรือผู้ป่วยที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง หรือผู้ป่วยโรคพาเจ็ต (Paget’s Disease) ซึ่งเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีกระดูกลักษณะคล้ายฟองน้ำคือ มีความอ่อนนุ่มกว่าปรกติและเกิดการโก่งได้ง่าย ในอดีตมีการใช้ยานี้ในโรคกระดูกพรุนในสตรีหลังหมดระดู (ประจำเดือน) (Postmenopausal Osteoporosis) หรือโรคกระดูกพรุน หากทว่ามีหลักฐานทางวิชาการเป็นประจักษ์ว่า การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจทำให้ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งหรือการเกิดเนื้องอกในภาพรวม (ไม่มีการระบุชนิดโรค) เพิ่มขึ้น ข้อบ่งใช้เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนจึงได้รับการเพิกถอนในประเทศไทยตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2557
แคลซิโทนินในทางเภสัชกรรมปัจจุบันส่วนใหญ่สกัดได้จากปลาแซลมอน จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แซลคาโทนิน (Salcatonin) ซึ่งมีฤทธิ์สูงกว่าแคลซิโทนินที่ผลิตได้จากมนุษย์
ปัจจุบันยาแคลซิโทนินจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย สามารถซื้อได้จากร้านยาภายใต้คำแนะ นำของเภสัชกรหรือจากแพทย์ อย่างไรก็ดี ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนใช้ยานี้ในการรักษา และใช้ยานี้ตามคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
ยาแคลซิโทนินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาแคลซิโทนินมีข้อบ่งใช้ในการรักษา/สรรพคุณใช้รักษา
อนึ่ง: ในอดีตยังเคยมีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรีหลังหมดระดู (ประจำเดือน) ด้วย แต่เนื่องจากเป็นการใช้ระยะยาว และอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงในภาพรวมของการเกิดมะเร็งและเนื้องอก จึงถูกเพิกถอนไปจากข้อบ่งใช้
ยาแคลซิโทนินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
บทบาทหรือกลไกการออกฤทธิ์โดยตรงของแคลซิโทนินคือ การลดระดับแคลเซียมในกระแสเลือด และเพิ่มการสะสมของแคลเซียมและฟอตเฟท (Phosphate) ในกระดูก โดยการลดการดูดซึมของแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ยับยั้งการทำงานของเซลล์ออสทิโอคลาสต์ (Osteo clast cell) ซึ่งเป็นเซลล์กระดูกที่ทำหน้าที่สลายกระดูกและเกลือแร่ที่อยู่ในกระดูก กระตุ้นการทำงานของเซลล์ออสทิโอบลาส (Osteoblast cell) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์กระดูกและยับยั้งการทำงานของเซลล์หน่วยไต (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ไต) เพื่อไม่ให้เกิดการดูดกลับของแคลเซียมส่งผลให้เกิดการกำจัดแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
ยาแคลโทนินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาแคลซิโทนินมีรูปแบบทางเภสัชกรรม/รูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้เช่น
ยาแคลซิโทนินขนาดและมีวิธีใช้ยาอย่างไร?
ยาแคลซิโทนินมีขนาดและวิธีใช้ยาสำหรับผู้ใหญ่ดังต่อไปนี้เช่น
ก. ผู้ป่วยโรคพาเจ็ต: ใช้ในรูปแบบยาฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 50 - 100 ยูนิต ทุกๆ 1 - 2 วัน ระยะเวลาการใช้ยาทั่วไปน้อยกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ ทำการรักษา ซึ่งอาจพิจารณาระยะเวลาการใช้ยาน้อยกว่าหรือมากกว่า 3 เดือน
ข. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia): ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือฉีดเข้ากล้าม เนื้อ ขนาดยา 4 ยูนิตต่อน้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโลกรัม ซึ่งแพทย์อาจเพิ่มระดับยาหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ค. ผู้ป่วยภาวะโรคกระดูกพรุนหลังหมดระดู: ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 100 ยูนิตวันเว้นวัน หรือพ่นจมูก 200 ยูนิตต่อวัน (ทั้งนี้ ข้อบ่งใช้นี้ถูกเพิกถอนจากทะเบียนตำรับใน ประเทศไทยแล้ว การใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ตรวจรักษาในการใช้ยาในระยะที่เหมาะสม)
อนึ่ง: สำหรับยานี้ในรูปแบบยาพ่นจมูก แต่ละบริษัทอาจมีความแตกต่างในวิธีการใช้เล็ก น้อย ควรใช้ยานี้ภายใต้คำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรเรื่องวิธีการ ใช้ยาก่อนการใช้ยา ซึ่งโดยทั่วไปเช่น
***หมายเหตุ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาแคลซิโทนิน ควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
***อนึ่ง: การใช้ยานี้ทั้งในรูปแบบยาพ่นและยาฉีด แพทย์อาจสั่งจ่ายร่วมกับยาแคลเซียมเช่น Calcium carbonate เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะได้รับแคลเซียมเพียงพอ
หากลืมบริหารยาควรทำอย่างไร?
หากลืมบริหารยา/ใช้ยาแคลซิโทนินสามารถบริหารยาทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้เวลาสำ หรับการบริหารยาครั้งถัดไป ให้ข้ามไป โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าในครั้งถัดไป
ยาแคลซิโทนินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาแคลซิโทนินอาจก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) บางประการ โดย หากใช้ยานี้และมีอาการปวดศีรษะ มีน้ำมูกไหล หรือคัดจมูก โดยอาการเหล่านี้เกิดอย่างต่อเนื่อง และไม่ทุเลาลง ควรปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาล
หากมีอาการแพ้ยาอาทิ เกิดผื่นคันขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก/หายใจลำบาก เกิดการบวมของริมฝีปาก ใบหน้า ลิ้น หรือเปลือกตา/หนังตา ให้หยุดใช้ยาและรีบพบแพทย์/ไปโรง พยาบาลโดยทันที
มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลซิโทนินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลซิโทนินดังนี้เช่น
***** อนึ่ง :
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวม ยาแคลซิโทนินด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวม ทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาแคลซิโทนินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ปฏิกิริยาระหว่างยาแคลซิโทนินกับยาอื่นนั้นยังไม่มีหลักฐานอันเป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ดี พบว่ายาแคลซิโทนินมีส่วนทำให้ระดับยาลิเทียม (Lithium) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) มีระดับที่ลดลงซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยาลิเทียม
รวมถึงระหว่างใช้ยานี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
ควรเก็บรักษายาแคลซิโทนินอย่างไร?
ยาแคลซิโทนินทั้งรูปแบบยาฉีดและยาน้ำพ่นจมูก ควรเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิระหว่าง 2 - 8 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
สำหรับยาน้ำพ่นจมูกควรวางในลักษณะตั้งตรง หันปลายภาชนะขึ้น และภายหลังการเปิดใช้ครั้งแรกสามารถเก็บยาที่อุณหภูมิ 15 - 30 องศาเซลเซียสได้นาน 35 วัน
อนึ่ง ยาทุกชนิดควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด ไม่เก็บยาในที่ชื้น เก็บยาให้พ้นแสงแดด และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาแคลซิโทนินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาแคลซิโทนินมียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทที่ผลิตหรือจัดจำหน่ายในประเทศไทยดังต่อ ไปนี้
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
ไมอะแคลสิก (Miacalcic) | บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด |
แคลโตนิน (Caltonin) | บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด |
มายแคลซิน (Mycalcin) / มายแคลซิโทนิน (Mycalcitonin) | บริษัท โรงงานเภสัชกรม เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด |
แคลโค (Calco) | บริษัท เอส.พี.บี. ฟาร์มา จำกัด |
แคลซีเท็น (Calci-10) | บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกร์ จำกัด (มหาชน) |
แซลโมซิน (Salmocin) | บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นช์ จำกัด (มหาชน) |
ออโธเนส (Othonase) | บริษัท แคสฟ้า ฟาร์มาซูติคอล (ประเทศไทย) จำกัด |
คาโดติน (cadotin) | บริษัท ยูเนียนเมดดิคอล (ประเทศไทย) จำกัด |