เอ็มดีเอส (ตอนที่ 3)

เอ็มดีเอส-3

      

      สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคเอ็มดีเอสนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่จากการศีกษาพบว่า มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยง โดยปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมากขึ้น ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น – ไม่ค่อยพบโรคเอ็มดีเอสในผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี แต่ส่วนใหญ่พบในผู้ที่อายุ 70-80 ปี
  • เพศ – มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดมาก่อน โดยขึ้นอยู่ชนิดและปริมาณของยาที่ใช้ ซึ่งจะถือเป็นโรคเอ็มดีเอสทุติยภูมิ (Secondary MDS) ทั้งนี้ ยาที่สามารถก่อให้เกิดโรคเอ็มดีเอส เช่น
  • Mechlorethamine
  • Procarbazine
  • Chlorambucil
  • Cyclophosphamide
  • Ifosfamide
  • Etoposide
  • Teniposide
  • Doxorubicin
  • มีโรคทางพันธุกรรม (Genetic syndromes) อื่นที่มักพัฒนาเป็นโรคเอ็มเอสดีได้ เช่น
  • Fanconi anemia
  • Shwachman-Diamond syndrome
  • Diamond Blackfan anemia
  • Familial platelet disorder with a propensity to myeloid malignancy
  • Severe congenital neutropenia
  • Dyskeratosis congenita
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคเอ็มเอสดี (Familial MDS)
  • สูบบุหรี่
  • สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีในปริมาณที่มาก เช่น รอดจากบริเวณที่ทิ้งระเบิดปรมาณู (Atomic bomb blast) หรือมีอุบัติเหตุเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) ระเบิด
  • สัมผัสกับสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเบนซีน (Benzene)
  • สัมผัสกับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท

      ทั้งนี้ โรคเอ็มดีเอสสามารถทำให้เกิดอาการหรือโรคแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • ภาวะโลหิตจาง (Anemia) เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง
  • ติดเชื้อบ่อย (Recurrent infections) เพราะจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • เลือดไหลไม่หยุด เนื่องจากขาดเกล็ดเลือด
  • มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) สูง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Myelodysplastic syndromes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/myelodysplastic-syndrome/symptoms-causes/syc-20366977 [2019, March 19].
  2. What Are Myelodysplastic Syndromes?. https://www.cancer.org/cancer/myelodysplastic-syndrome/about/what-is-mds.html [2019, March 19].