เสริมเมลาโทนินดีจริงหรือ ? (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 3 กันยายน 2563
- Tweet
การใช้เมลาโทนินที่แตกต่างกันไป (ต่อ)
- อาจช่วยในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีบำบัด แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ว่ามีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งที่ทำอยู่หรือไม่
- งานวิจัยในปี 2556 พบว่าเมลาโทนินอาจข่วยชะลออาการของผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
- งานวิจัยในปี 2557 ระบุว่า เมลาโทนินอาจข่วยลดอาการเสียงดังในหู (Tinnitus)
- อาจช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากรังสีบำบัด เพราะเมลาโทนินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนเพื่อให้มั่นใจว่า เมลาโทนินไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการรักษาโรคมะเร็ง
ส่วนผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมลาโทนิน ได้แก่ ผู้ที่
- ใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาลดความดันโลหิต
- เป็นโรคเบาหวาน
- มีอาการชักผิดปกติ
- เคยมีอาการแพ้เมลาโทนิน
- ใช้ยากดภูมิหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ
- มีเลือดออกผิดปกติ เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
- สมองเสื่อม (Dementia)
- หดหู่ซึมเศร้า
- กินยาอื่นที่ทำให้ง่วงซึม เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ยาโคเดอีน (Codeine) แอลกอฮอล์ (Alcohol) หรือ บาร์บิทุเรต (Barbiturates)
- ใช้ยาคุมกำเนิด (เพราะยาคุมกำเนิดอาจทำให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินมากขึ้น ดังนั้นการกินอาหารเสริมเมลาโทนินด้วย อาจทำให้มีระดับเมลาโทนินในร่างกายที่สูงเกิน ซึ่งอาจมีอันตรายได้)
สำหรับปริมาณในการใช้เมลาโทนินจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปอยู่ที่ 1-5 มิลลิกรัม (อาจใช้ได้ตั้งแต่ 0.5-10 มิลลิกรัม) ซึ่งบางกรณี การใช้ในปริมาณที่น้อยจะได้ผลมากกว่าการใช้ในปริมาณที่มาก ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติร่างกายจะผลิตเมลาโทนินได้ประมาณ 0.3 มิลลิกรัม
แหล่งข้อมูล:
- All you need to know about melatonin. https://www.medicalnewstoday.com/articles/232138 [2020, September 2].
- Melatonin: What You Need To Know. https://www.nccih.nih.gov/health/melatonin-what-you-need-to-know [2020, September 2].
- Melatonin Overdose. https://www.healthline.com/health/melatonin-overdose#recommended-doses [2020, September 2].