เลือดข้นคนจาง (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เลือดข้นคนจาง-3

      

กรณีที่ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน ซึ่งได้แก่

  • ม้ามโต
  • มีการแข็งตัวของเลือด
  • อาการปวดเค้นในอก (Angina)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcers)
  • โรคหัวใจ
  • โรคเกาต์
  • โรคเลือดผิดปกติ เช่น โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis) หรือ โรคลูคีเมีย (Leukemia)

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์สามารถใช้การทดสอบได้หลายวิธี เช่น

  • การตรวจเลือด เช่น การวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count) เพื่อดูเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
  • การเจาะไขกระดูก (Bone marrow biopsy)
  • การตรวจยีน (Genetic tests) เพื่อดูการกลายพันธุ์

ส่วนการรักษาขึ้นกับสาเหตุที่เป็น เช่น ผู้ที่มีเป็นเลือดข้นทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาโรคดังกล่าวจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สูงได้ นอกจากนี้อาจรักษาด้วยการลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดลง เช่น

  • การเจาะเลือดออก (Phlebotomy) หรือการถ่ายเลือดเพื่อให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงอยู่ในระดับที่ปกติ
  • การใช้ยากดไขกระดูก (Myelosuppressive) เพื่อควบคุมจำนวนเซลล์เม็ดเลือด เช่น ยา Hydroxyurea
  • การใช้ยาเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK2 inhibitors เช่น ยา Ruxolitinib
  • การใช้ยา Aspirin และ ยา Antihistamines เพื่อลดการแข็งตัวของเลือดและลดอาการคัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Polycythemia.https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/cancer/polycythemia.html [2020, November 13].
  2. Polycythemia: Everything you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/polycythemia#causes [2020, November 13].
  3. Polycythemia (high red blood cell count) definition and facts. https://www.medicinenet.com/polycythemia_high_red_blood_cell_count/article.htm [2020, November 13].