สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน การรักษาตาแห้งด้วยวิธีใหม่
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
- 19 กันยายน 2562
- Tweet
มาจาก Advances in dry eye disease treatment ใน current opinion in ophthalmology 2019, 30(3) มีการศึกษาและรายงานว่า ชาวอเมริกัน 16.4 ล้านคน (6.8% ของผู้ใหญ่) วินิจฉัยว่าเป็นโรคตาแห้ง และคาดว่ามีอีก 6 ล้าน (2.5%) มีอาการตาแห้ง (แม้ไม่ได้รับการวินิจฉัย) รวมเป็น 9.3% ของผู้ใหญ่ที่มีภาวะตาแห้ง หญิงมากกว่าชาย จำนวนมากขึ้นตามอายุ คือ 11.3% ในคนอายุ 50 ปี, เป็น 22.8% ในคนอายุ 75 ปี, นั่นคือจำนวนมากขึ้นตามอายุ คาดว่าคนเรามีอายุยืนขึ้น จึงน่าจะมีอุบัติการณ์ของตาแห้งมากขึ้น ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต มีสายตาที่ไม่ดี ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น
มีพื้นฐานการแก้ไขภาวะตาแห้งที่ทำกัน เริ่มจากน้ำตาเทียม ประคบอุ่น ดูแลสุขลักษณะบริเวณเปลือกตาด้วยแชมพูเด็ก ซึ่งผู้ป่วยทำเองได้อยู่แล้ว สำหรับยาที่ช่วยเพิ่มเติม ได้แก่
1. Cyclosporine A 0.05 เป็น antimetabolite ซึ่งผ่านการรับรองของ FDA ตั้งแต่ปี 2003 ด้วยฤทธิ์ยาที่ลดกระบวนการ IL-2- mediated-T cell activation มีคนจำนวนมากใช้แล้วได้ผลดี แต่ยังเป็นที่ถกเถียงถึงความเหมาะสม การใช้ยานานแค่ไหน อีกทั้งมีผลข้างเคียงอันได้แก่ แสบตา (พบได้ 17%) ตาแดง น้ำตาไหล ปวดตา ตามัวลง ร่วมกับราคายาที่ค่อนข้างแพง
2. Lifitegreast 5% (Xiidra) เป็นยาถัดไปที่ผ่าน FDA ให้ใช้ในภาวะตาแห้งได้ในปี 2016 พบว่าอาการตาแห้งดีขึ้นหลังการใช้ 14 วัน (ขณะที่ cyclosporine ต้องใช้เวลา 3 เดือน) อย่างไรก็ตาม คงมีผลข้างเคียงคล้าย cyclosporine A
3. ผลิตผลจากเลือด ที่ใช้กันมาสักพัก คือ autologous และ allogenic serum เร็ว ๆ นี้หันมาใช้ plasma ที่มี platelet และ plasma ที่มี growth factor ซึ่งกลุ่มนี้มี platelets มากกว่า serum 3-5 เท่า อีกทั้งมีจำนวน growth factor มาก ซึ่งอาจทำให้มีฤทธิ์อยู่ได้นานกว่า serum
4. การปฏิบัติการที่ช่วยรักษา ที่ทำกันคือ อบ นวด และกดต่อม meibomian ในปัจจุบันมีการรายงานเพิ่มเติม ได้แก่
4.1 Intense pulsed light (IPL) ด้วยแสงที่เห็นด้วยตา และแสง infrared เมื่อเนื้อเยื่อซับรังสี/แสงจะเกิดความร้อน (destructive heat) โดยที่ IPL ปกติ ใช้รักษาโรคผิวหนังชนิด rosacea ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณผิวหนังที่ฉายแสง การนำมาใช้ในภาวะตาแห้ง เชื่อว่าไปลด inflammatory mediator ลด bacterial growth มีการทำลายหลอดเลือดที่เปลือกตา ในขณะเดียวกันละลาย meibum มีรายงานมาเรื่อย ๆ ที่ใช้ IPL ในการรักษาตาแห้ง แต่ยังเป็นการใช้ที่ยังไม่ถูกกฎหมาย ยังไม่ผ่าน อย. อย่างไรก็ตาม IPL มีข้อจำกัด คือต้องใช้ในผู้ป่วยที่มี skin pigment เล็กน้อย และไม่ควรใช้ในบริเวณเปลือกตาบน เพราะม่านตาอาจได้รับแสงไปด้วย
4.2 Vectored thermal pulsation (Lipiflow) เป็นเครื่องมือนวดให้ meibum ออกด้วยความร้อนเป็น vector therapy therapy โดยให้ความร้อนไปที่ palpebral conjunctiva ร่วมกับมีการเพิ่มแรงดันจากข้างนอก มีการทดลองใช้อยู่ที่ว่าได้ผลดีในภาวะ MGD แต่มีข้อจำกัดที่เครื่องมือที่ใช้แบบทิ้ง (disposable) การรักษาแต่ละครั้งจึงมีค่าใช้จ่ายสูง
4.3 Meibomian gland probing ใช้เครื่องมือขนาด 2 มม แยงผ่านรูเปิดของต่อมนี้ หลาย ๆ ท่านพบได้ผลดีอยู่บ้าง มีลักษณะเครื่องมือต่าง ๆ กันหลายแบบ คงต้องรอผลการรักษาในจำนวนที่มากพอ
5. เครื่องมือ Tear care ilid device
5.1 Intranasal tear neurostimulator เป็นเครื่องมือผ่าน FDA แล้วใช้กระแสไฟเล็กน้อยกระตุ้น mucosal nerve โดยไฟฟ้ากระตุ้น ophthalmic และ maxillary branch ของ trigeminal nerve ทำให้มีการหลั่งน้ำตามากขึ้น มีรายงานการใช้ว่า ได้ผลมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อเสียคือ รู้สึกไม่สบายในจมูก แสบ เจ็บ เลือดกำเดาออก ใช้ไม่ได้ในผู้ป่วยที่ใส่ metallic electronic defibrillator บริเวณศีรษะและคอ เช่น ใส่ pace maker, defibrillator ผู้มีประวัติแพ้ hydrogel หรือมีเลือดกำเดาออกบ่อย ๆ อีกทั้งเครื่องมีราคาแพง
5.2 scleral lens ที่ใช้กันอยู่เพื่อป้องกัน corneal ectasia (ผู้ป่วยโรค keratoconus) ตัวเลนส์วางบน sclera ทำให้มีน้ำบริเวณผิว cornea ยังมีการใช้น้อยในการรักษาภาวะตาแห้ง
5.3 amniotic membrane ซึ่งแต่เดิมนิยมใช้รักษา ocular surface, limbal stem cell deficiency ตลอดจนภาวะผิวปกติของกระจกตาต่างๆ นอกจากจะ promote healing ยังลดการอักเสบ อาจจะทำในรูป cryopreserve -80 c° หรือ sterilized dehydrated ชื่อ Ambiodisk
6. อื่น ๆ เช่น
6.1 Lacritin เป็น glycol protein ซึ่งเพิ่ม basal tear ได้
6.2 Lubricin เป็น mucin-like glycoprotein ซึ่งเชื่อว่าสามารถลด friction ของกระจกตากับเยื่อบุตา เปลือกตา ป้องกันการหลุดลอกของ epithelium
6.3 Thymosin B4 ซึ่งช่วย epithelial healing
6.4 น้ำยาหยอดตาจาก amniotic membrane ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ภาวะตาแห้งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีปัญหามากขึ้น คงต้องมีการคิดค้นวิธีรักษากันอีกต่อไป