สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน การออกกําลังกายของผู้ป่วยต้อหิน
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
- 23 พฤษภาคม 2562
- Tweet
เป็นที่ทราบกันดีว่า การออกกําลังกายสม่ำเสมอ นํามาซึ่งสุขภาพร่างกายที่ดี ก็น่าจะนํามาที่ สุขภาพดีของดวงตา มีการศึกษาพบว่า การออกกําลังกายแบบ aerobic ทําให้ความดันตาลดลง แต่การออกกําลังแบบ isometric เช่น การยกน้ำหนัก หรือเล่นโยคะ ที่ศีรษะต่ำ ทําให้ความดันตาสูง จาก การเพิ่มความดันบริเวณทรวงอก ซึ่งแม้จะความดันตาขึ้นชั่วคราว แต่อาจมีผลเสียในผู้ป่วยที่เป็นต้อหินที่มีการสูญเสียสายตาไปมากแล้ว
มีการศึกษาอันหนึ่ง ในอาสาสมัครชาย พบว่า ในผู้ที่มีการออกกําลังน้อยและมาก จะมีอุบัติการของโรคต้อหินมากกว่าออกกําลังปานกลาง การออกกําลังจนเหนื่อยล้า จะมีการสะสมของอนุมูลอิสระ ซึ่งทําลายและก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ การคั่งของอนุมูลอิสระ เป็นเหตุให้ต้อหินเลวลง
อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาระยะยาว พบว่าการออกกําลังปานกลางด้วยเวลา 150 นาที/สัปดาห์ พบเป็นต้อหินน้อยกว่าคนไม่ออกกําลังกาย
ในสัตวทดลองพบว่า ผลของการออกกําลังต่อ neuroprotective ตลอดจนสุขภาพจิต พบว่ามีการปรับระดับของ neurotrophic factor ในสมองของสัตว์ เป็นเหตุให้มีการเพิ่มของ mitochondrial function จึงลด retinal oxidative stress ปกป้อง ganglion cell ได้ระดับหนึ่ง
โดยสรุป การออกกําลังทั้ง aerobic และ anaerobic มีผลลดคามดันตา แต่การยกน้ำหนัก มีผู้ศึกษาพบว่า การยกน้ำหนักแบบซ้ำ ๆ และมีการกลั้นหายใจ ทําให้ความดันตาสูงขึ้นมากกว่าการยกน้ำหนักและหายใจเข้าออกตามปกติ (มีการเพิ่มของความดันตา 4.3 และ 2.2 มม ปรอท) โดยพบว่า ถ้ามีการ กลั้นหายใจ มีความดันขึ้นถึง 90% ของผู้ยกน้ำหนัก หากยกโดยหายใจตามปกติ พบ 62% ของผู้ยกน้ำหนัก
การทํา Valsalva โดยหายใจออกอย่างแรงในขณะปิด glottis การไออย่างแรงอาเจียนรุนแรง ยกของหนัก asthma ออกแรงเป่าเครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย แซกโซโฟน
นักร้องโอเปร่า ทั้งหมดทําให้มีการเพิ่มของ intrathoracic pressure ส่งไปยัง jugular vein, orbital, vortex vein เกิด vascular engorge เพิ่ม choroidal vessel pressure มีผลทําให้ความดันตาเพิ่ม จึงควร ระมัดระวังในผู้ป่วยที่เป็นต้อหินขั้นรุนแรง
การออกกําลังแบบเล่นโยคะ โดยเฉพาะท่าโยคะที่เรียกกันวา head stand position เป็น ท่าตาง ๆ ที่ศีรษะต่ำกว่าหัวใจ มีการศึกษาจาก Mt Sinai health system กล่าวถึงท่าโยคะที่เป็น head stand position อันได้แก่ท่า
-Downward-facing dog (adho mukha svanasana)
- Standing forward bend (uttanasana)
- Plow (halasana)
- Leg up the wall (viparita karani)
โดยการวัดความดันตาก่อน ทันทีที่ถึงท่านั้น และคงไว้นาน 2 นาที ทั้งในคนปกติและที่มีต้อหิน พบว่าความดันตาขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม แม้กลับสู่สภาพเดิมแล้ว 10 นาที ยังพบว่ามีความดันตาสูงกว่าเริ่มต้นอยู่ จึงควรงดท่า head stand ในผู้ป่วยต้อหิน แต่ด้วยเหตุที่การ ฝึกโยคะ สามารถปรับท่าต่าง ๆเป็นรายบุคคล ไม่ควรอยู่ในท่า head stand นานเกิน 30 วินาที และควรพิจารณางดท่า downward-facing dog และ stand forward bend