สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน 2020
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
- 30 เมษายน 2563
- Tweet
ปีนี้เป็นปี ค.ศ. 2020 เป็นตัวเลขที่ดูสวยและเป็นปี
1. อธิกสุรทิน (leap year) เป็นปีที่มี 366 วัน (ปีอื่นมี 365 วัน) ปีอธิกสุรทินมี 1 ครั้งใน 4 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับวันทางดาราศาสตร์ จึงทำให้เดือนกุมภาพันธ์มีเพิ่มขึ้นมาแล้วจาก 28 เป็น 29 วัน ในทุก 4 ปี ทางดาราศาสตร์พบว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 16 วินาที จึงต้องเพิ่มทุก 4 ปี ไปอีก 1 วัน และในทุกปีที่ 100 ความเป็นปีอธิกสรุทิน ทำให้มากเกินไป ทุกปีที่ 100 เดือนกุมภาพันธ์ จะมี 28 วัน
2. เป็นปีที่ 20 ของสหัสวรรษที่สาม (3rd millenium) หรือเป็นปีที่ 20 ตั้งแต่เริ่มสามสหัสวรรรษนั่นเอง (สหัสวรรณ ) หมายถึงรอบพันปี ระหว่างเราอยู่ในสหัสวรรษที่สาม
3. เป็นปีที่ 20 ของ ศตวรรษที่ 21(21th century) (ศตวรรษเท่ากับ 100 ปี)
4. สำหรับหมอตา ปีนี้เป็นปีที่ International agency for the prevention of blindness (IAPB) ได้ตั้ง slogan ไว้ว่าทุกคนในโลกพึงมีสายตา 20 20 (เป็นค่าสายตาที่ปกติ) ได้ในปี ค.ศ. 2020 ดังคำกล่าวที่ว่า The sight to Sight vision 2020 ซึ่งตั้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 มีเป้าหมายลดคนตาบอดลงอย่างน้อย 25% โดยมุ่งไปถึงขจัด ป้องกันและโรคตาที่รักษาได้ เนื่องจากผลจากการศึกษาจำนวนและภาวะคนตาบอดทั้งโลก เมื่อปี 2561 พบว่า 90% เป็นคนที่ยากจน รายได้น้อย และ 80% ของคนมีภาวะตาพิการเกิดจากโรคที่หลีกเลี่ยง ป้องกันและรักษาได้ อีกทั้งมีการศึกษาพบว่า การพยายามให้คนมีสายตาดี หลีกจากภาวะตาบอดนั้น มีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าที่สุดในการดูแลสุขภาพเมื่อเทียบกับอย่างอื่น (most cost -effective interventions in health care)
ขอนำตัวเลขจากการสำรวจคนตาบอดในประเทศไทยครั้งล่าสุด ปี 2540 พบคนตาบอด 0.59% (369,013 คน) ในจำนวนนี้ พบว่าเกิดจากต้อกระจก 56.61%, ต้อหิน 10.4%, จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ 3.88%, ตาดำเป็นฝ้าขาว 1.23%, สายตาผิดปกติโดยไม่ได้แก้ไข 14.16%, หากจะอิงจำนวนคนตาบอดบ้านเราที่มี 0.59%, จากการสำรวจภาวะตาบอดครั้งหลังสุด ต้องการให้ลดลง 25% จึงควรให้มีคนตาบอดน้อยกว่า 0.44% ถึงจะบรรลุเป้าหมายที่ IAPB ตั้งไว้