เรื่องของผิวคนแก่ (ตอนที่ 6)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 2 มีนาคม 2563
- Tweet
ไฝแดง (Cherry Angioma / Red moles / senile angiomas / Campbell de Morgan spots) มักพบในผู้ที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป โดยมีงานวิจัยหนึ่งที่ระบุว่า ร้อยละ 75 ของผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี มักมีไฝแดงเนื่องจากมีหลอดเลือดแดงอยู่ข้างในจึงทำให้เห็นเป็นสีแดง
ไฝแดงมีขนาดตั้งแต่จุดเล็กจนถึงขนาดเส้นศูนย์กลางประมาณ ¼ นิ้ว บางเม็ดมีลักษณะแนบกับผิว ในขณะที่บางเม็ดมีลักษณะนูนเล็กน้อย มักเกิดตามลำตัว แขน ขา และไหล่
โดยทั่วไปไฝแดงจะไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่อยู่ในบริเวณที่ถูกกระทบหรือชน ซึ่งสามารถทำให้เลือดออกได้ง่าย หรือกรณีที่มีเลือดออกหรือมีขนาดรูปร่างสีที่เปลี่ยนไป ที่อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งผิวหนังซึ่งควรรีบไปพบแพทย์
บางครั้งไฝแดงอาจดูคล้ายกับ
- Angiokeratoma
- Spider telangiectasis
- Pyogenic granuloma
- Nodular basal cell carcinoma
- Amelanotic melanoma
ไม่มีใครทราบถึงสาเหตุของการเกิดไฝแดงอย่างแน่ชัดว่า อาจเกิดจากปัจจัย
- พันธุกรรม
- การตั้งครรภ์
- การสัมผัสกับสารเคมี เช่น สารโบรไมด์ (Bromides)
- สภาพอากาศ
การเอาไฝแดงออกมีหลายวิธี เช่น
o การใช้ไฟฟ้าจี้ (Electrocauterization)
o การจี้ด้วยความเย็น (Cryosurgery) โดยใช้ไนโตรเจนเหลว
o การยิงด้วยแสงเลเซอร์ (Laser surgery)
o การฝานผิวหรือการใช้มีดโกนผ่าเป็นชั้นบางๆ (Shave excision)
แหล่งข้อมูล:
- What are cherry angiomas? https://www.healthline.com/health/cherry-angioma [2020, February 29].
- Cherry angioma. https://dermnetnz.org/topics/cherry-angioma/ [2020, February 29].
- Should I worry about a cherry angioma? https://www.medicalnewstoday.com/articles/312594.php#should-i-worry [2020, February 29].