เรื่องของผิวคนแก่ (ตอนที่ 10)

เรื่องของผิวคนแก่-10

      

โรคมะเร็งผิวหนังชนิด Squamous Cell Carcinoma (Squamous cell cancer = SCC) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบมากชนิดหนึ่งเกิดที่เซลล์สความัส (Squamous cells) ซึ่งอยู่ระหว่างผิวหนังชั้นกลางและผิวหนังชั้นนอกที่สามารถพบได้ในทุกส่วนของร่างกาย

โรคมะเร็งผิวหนังชนิด Squamous Cell Carcinoma เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ DNA ที่ผิวหนังซึ่งควบคุมไม่ได้ มักเกิดในบริเวณที่ถูกรังสียูวีเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นจากแสงแดด การอาบแดด หรือแสงโคมไฟ โดยปกติโรคมะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะไม่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่การปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ตามสถิติของ Skin Cancer Foundation ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า โรคมะเร็งผิวหนังชนิดนี้มีอัตราการเกิดเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งผิวหนัง ซึ่งในแต่ละปีมีชาวอเมริกันประมาณ 700,000 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้

อาการที่ปรากฏมักเกิดในบริเวณที่ถูกแสง เช่น หนังศีรษะ หลังมือ หู หรือ ริมฝีปาก หรืออาจเกิดในบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ในปาก ใต้ฝ่าเท้า อวัยวะสืบพันธุ์ โดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • เป็นปุ่มแดงหรือหูด
  • เป็นแผลสะเก็ด
  • มีแผลเกิดในที่ใหม่หรือเกิดบริเวณที่เดิม
  • ริมฝีปากแตกเป็นสะเก็ด
  • เป็นปื้นแดงเจ็บในปาก
  • เป็นปื้นแดงหรือหูดเจ็บที่ทวารหนักหรือที่อวัยวะเพศ

สำหรับปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ได้แก่

  • เป็นคนผิวขาว (Fair skin)
  • ถูกแสงยูวีหรือแสงแดดมากเกิน
  • นอนอาบแดด
  • มีประวัติการผิวไหม้จากแดด
  • มีประวัติเป็นโรคก่อนมะเร็งผิวหนัง เช่น Actinic Keratosis หรือ Bowen's disease

แหล่งข้อมูล:

  1. Squamous cell carcinoma of the skin. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/squamous-cell-carcinoma/symptoms-causes/syc-20352480 [2020, March 7].
  2. Squamous Cell Cancer. https://www.healthline.com/health/squamous-cell-skin-cancer [2020, March 7].