เยื่อหุ้มหัวใจ ถุงหุ้มหัวใจ (Pericardium)

เยื่อหุ้มหัวใจ หรือถุงหุ้มหัวใจ คือ เนื้อเยื่อบางๆชั้นนอกสุดของหัวใจ ที่ห่อหุ้มอยู่โดยรอบนอกหัวใจ จึงทำให้มีลักษณะเป็นถุง จึงเรียกอีกชื่อว่า ถุงหุ้มหัวใจ

เยื่อหุ้มหัวใจ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ระหว่างชั้นทั้ง 2 จะมีช่องว่างที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Potential space) ภายในช่องว่างจะมีของเหลวประมาณ 15-50 มิลลิลิตร ที่มีหน้าที่หล่อลื่น ไม่ให้เกิดการเสียดสี ระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 2 ชั้นของเยื่อหุ้มหัวใจ และช่วยลดแรงกระ แทกของหัวใจจากอวัยวะข้างเคียง และจากการบีบตัวของหัวใจ ทั้งนี้ของเหลวนี้ประกอบด้วย น้ำ โปรตีน เม็ดเลือดขาว และสารเคมีที่เรียกว่า Lactic dehydrogenase (LDH)

เยื่อหุ้มหัวใจ มีหน้าที่

  • ห่อหุ้มป้องกันหัวใจไม่ให้เสียดสีกระแทกกับอวัยวะอื่นๆที่อยู่ติดกับหัวใจ เช่น ปอด และหลอดเลือด
  • ช่วยคงรูปร่างของหัวใจ
  • ช่วยไม่ให้หัวใจเต้นจนเคลื่อนที่มากเกินไป
  • และช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจยืดขยายตัวมากเกินไป

โรคที่พบได้ของเยื่อหุ้มหัวใจ คือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ทั้งสาเหตุจากติดเชื้อ หรือสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากติดเชื้อ และภาวะมีน้ำในถุงหุ้มหัวใจมากผิดปกติ (Pericardial effusion)

บรรณานุกรม

  1. Pericardium http://en.wikipedia.org/wiki/Pericardium [2013,Dec27].
  2. Pericardial fluid http://en.wikipedia.org/wiki/Pericardial_fluid [2013,Dec27].