เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ตอนที่ 6)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 5 มิถุนายน 2562
- Tweet
ส่วนเชื้อรา Candida มักติดเชื้อจากการอยู่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล
โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเฮชไอวีหรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด และผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งมีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอจึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
สำหรับการรักษานั้นส่วนใหญ่เป็นการให้ยาต้านไวรัสซึ่งให้ทางหลอดเลือด (Intravenous = IV) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรขึ้นกับชนิดของเชื้อราและความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทาน โดยผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็ง มักจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่า
ในส่วนของการป้องกันที่ทำได้ก็คือ การหลีกเลี่ยงดินหรือสภาพแวดล้อมที่มีเชื้อรา เช่น บริเวณที่มีขี้นก หลีกเลี่ยงกิจกรรมขุดดิน
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อปรสิต (Parasitic meningitis) ชนิดที่เรียกว่า อีโอซิโนฟิลิก (Eosinophilic meningitis / eosinophilic meningoencephalitis / EM) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่ตรวจพบเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (Eosinophils) ในน้ำไขสันหลังอย่างน้อยร้อยละ 10 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบได้น้อยกว่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
โดยสาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการติดเชื้อพยาธิ
ซึ่งการติดเชื้อมักเกิดจากการกินอาหารอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่มีการปนเปื้อนตัวอ่อนของพยาธิในบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกันไป เช่น
นอกจากจะมีอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบทั่วไปแล้ว โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อปรสิตยังทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต และอาจมีผลกระทบต่อตาด้วย
แหล่งข้อมูล:
- Meningitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/meningitis/symptoms-causes/syc-20350508 [2019, Jun 4].
- Meningitis. https://www.cdc.gov/meningitis/index.html [2019, Jun 4].
- Meningitis. https://www.medicinenet.com/meningitis/article.htm#what_are_the_types_of_meningitis [2019, Jun 4].