เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ตอนที่ 4)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 3 มิถุนายน 2562
- Tweet
อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เป็นไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ และคอแข็ง ส่วนอาการอื่น ได้แก่
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- งุนงง สับสน (Confusion)
- ตาสู้แสงไม่ได้ (Photophobia)
ส่วนทารกอาจไม่มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง แต่สังเกตได้จากอาการหงุดหงิด อาเจียน ไม่กินอาหาร กระหม่อมปูด (Bulging fontanelle) โดยอาการมักเกิดในวันที่ 3-7 หลังการติดเชื้อ จนมีอาการรุนแรง เช่น ชัก หมดสติ
ในการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดหรือน้ำไขสันหลังไปทดสอบหาเชื้อในห้องแล้ป และทำการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดให้เร็วที่สุด
สำหรับการป้องกันเชื้อแบคทีเรียนั้น มีวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบดังนี้
- Haemophilus influenzae type b (Hib) vaccine
- Pneumococcal conjugate vaccine (PCV13)
- Pneumococcal polysaccharide vaccine (PPSV23)
- Meningococcal conjugate vaccine
ทั้งนี้ แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Neisseria meningitidis และ Hib โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ ได้แก่
- เด็กทารก
- ผู้สูงวัย
- ผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ
- ผู้ที่ไม่มีม้ามหรือม้ามผิดปกติ (Functional asplenia)
ในขณะเดียวกัน เราอาจป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วยการ
- ไม่สูบและหลีกเลี่ยงบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
แหล่งข้อมูล:
- Meningitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/meningitis/symptoms-causes/syc-20350508 [2019, Jun 2].
- Meningitis. https://www.cdc.gov/meningitis/index.html [2019, Jun 2].
- Meningitis. https://www.medicinenet.com/meningitis/article.htm#what_are_the_types_of_meningitis [2019, Jun 2].