เมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 6 กันยายน 2562
- Tweet
- บทนำ
- ยาเมโทรนิดาโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาเมโทรนิดาโซลออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาเมโทรนิดาโซลมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาเมโทรนิดาโซลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งจ่ายยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาเมโทรนิดาโซลควรทำอย่างไร?
- ยาเมโทรนิดาโซลมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
- ยาเมโทรนิดาโซลมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
- มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยาเมโทรนิดาโซล?
- ควรเก็บรักษายาเมโทรนิดาโซลอย่างไร?
- ยาเมโทรนิดาโซลมีชื่ออื่นๆอีกไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- โรคพยาธิช่องคลอด
- โรคฝีตับ (Liver abscess)
- โรคเจียอาร์ไดอาซิส (Giardiasis)
- โรคติดเชื้อปรสิต (Parasitic infection)
บทนำ
ยาเมโทรนิดาโซล (Methonidazole) จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียโดย เฉพาะกับชนิดที่การเจริญเติบโตไม่ต้องพึ่งพาออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) และเชื้อพวกสัตว์เซลล์เดียว (Protozoa) เป็นยาที่ถือกำเนิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) และมีการใช้ในวงการแพทย์มากกว่า 50 ปี
ยาเมโทรนิดาโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาเมโทรนิดาโซล มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคที่มีสาเหตุ เช่น
- เชื้อ Trichomonas ที่ก่อโรคโดยเฉพาะในอวัยวะเพศ เช่น โรคพยาธิช่องคลอด
- การอักเสบและการติดเชื้อกลุ่มอะมีบาที่มีการติดเชื้อในตับ (อ่านเพิ่มเติมในบทความ โรคฝีตับ)
- ใช้ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย กลุ่ม Anaerobic หลังจากการผ่าตัดช่องท้อง หรือผ่า ตัดอวัยวะในระบบสืบพันธุ์
- รักษาลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Clostridium Difficile และเชื้อสัตว์เซลล์เดียวชนิด Giardia Lamblia / โรคเจียอาร์ไดอาซิส(Giardiasis)
- รักษาการอักเสบและการติดเชื้อในช่องปากและฟัน โดยใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะชนิด Amoxicillin
- ใช้ป้องกันการติดเชื้อในแผลผ่าตัดลำไส้ใหญ่ หรือการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ
- เป็นส่วนผสมในยาทา เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังอันเนื่องมาจากเชื้อรา (Fungat ing Wounds) หรือในโรคผิวหนังที่เรียกว่า โรค Rosacea
- มีการใช้เมโทรนิดาโซลในวงการสัตวแพทย์ เพื่อรักษาการติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียวชนิด Giardia ในสุนัข และในแมว รวมไปถึงการติดเชื้อทางเดินลำไส้ในสัตว์ต่างๆอีกด้วย
ยาเมโทรนิดาโซลออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาเมโทรนิดาโซลออกฤทธิ์ โดยจะซึมเข้าผนังเซลล์ของแบคทีเรีย Anaerobic bacteria และผนังเซลล์ของสัตว์เซลล์เดียวโปรโตซัว จากนั้นยาจะเข้าไปรบกวนการสร้างและการสัง เคราะห์สารทางพันธุกรรม (DNA) ของเชื้อดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้
ยาเมโทรนิดาโซลมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาเมโทรนิดาโซล มีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- ยาเม็ดขนาด 200 มิลลิกรัม และ 400 มิลลิกรัม
- ยาน้ำแขวนตะกอนขนาด 200 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร
- ยาฉีดขนาด 500 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
- ยาทาขนาดความเข้มข้น 1 %
ยาเมโทรนิดาโซลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดรับประทานของยาเมโทรนิดาโซล เช่น
- สำหรับการติดเชื้อ Trichomonas Vaginalis ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น โรคพยาธิช่องคลอด ขนาดรับประทานสูงสุดคือ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน (สำหรับผู้ใหญ่)
- สำหรับการติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียวชนิดอะมีบาในลำไส้เล็ก (Intestinal Amoebiasis)
- ผู้ใหญ่ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง -ในเด็กอายุ 7-10 ปี รับประทานสูงสุดไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง
- ในเด็กอายุ 3-7 ปี รับประทานสูงสุดไม่เกิน 800 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง
- ในเด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานสูงสุดไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง
- สำหรับการติดเชื้ออะมีบาที่ตับ ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง (ในผู้ใหญ่)
อนึ่ง:
- การรับประทานยานี้ควรรับประทาน พร้อม หรือ หลังอาหาร เพื่อลดการระคายเคืองของกระเพาะและลำไส้
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งจ่ายยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาเมโทรนิดาโซล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด รวมทั้งอาการแพ้ยา เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหน้าอก/ หายใจติดขัด /หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆอะไรบ้าง รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเมโทรนิดาโซล อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ /มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายชนิดอาจผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนม และเข้าสู่ทารกจนก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาเมโทรนิดาโซลควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาเมโทรนิดาโซล สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ แต่หากลืมรับ ประทานยาใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
ยาเมโทรนิดาโซลมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
ยาเมโทรนิดาโซลนี้ อาจส่งผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/ อาการข้างเคียง) เช่น
- การรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น มีการหายใจผิดปกติ
- การรับประทานร่วมกับยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด อาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย หรือภาวะเลือดหยุดไหลช้า ยาต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดดังกล่าว เช่น ยา Warfarin
- การรับประทานร่วมกับยาที่ใช้ป้องกันหรือรักษาอาการชัก (เช่น ในโรคลมชัก) อาจทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกาย หรือขบวนการทางเคมีที่ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของยาเมโทรนิดาโซล และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ รวมไปถึงระดับยาในกระแสเลือดที่ลดลง ยาที่ใช้รักษาอาการชักดังกล่าว เช่น Phenobarb
- การรับประทานร่วมกับยาบางกลุ่ม อาจทำให้ระดับยาดังกล่าวมีปริมาณในกระแสเลือด สูงมากขึ้น ยากลุ่มดังกล่าว เช่น
- ยารักษาทางจิตเวชบางชนิด เช่น ยา Lithium
- ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น Cyclosporin
- ยาเคมีบำบัดบางชนิด เช่น 5 FU และ Busulfan เป็นต้น
ยาเมโทรนิดาโซลมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
ยาเมโทรนิดาโซล สามารถมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นๆได้ เช่น
- การรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น มีการหายใจผิดปกติ
- การรับประทานร่วมกับยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด อาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย หรือภาวะเลือดหยุดไหลช้า ยาต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดดังกล่าว เช่น ยา Warfarin
- การรับประทานร่วมกับยาที่ใช้ป้องกันหรือรักษาอาการชัก (เช่น ในโรคลมชัก) อาจทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกาย หรือขบวนการทางเคมีที่ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของยาเมโทรนิดาโซล และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ รวมไปถึงระดับยาในกระแสเลือดที่ลดลง ยาที่ใช้รักษาอาการชักดังกล่าว เช่น Phenobarb
- การรับประทานร่วมกับยาบางกลุ่ม อาจทำให้ระดับยาดังกล่าวมีปริมาณในกระแสเลือดสูงมากขึ้น ยากลุ่มดังกล่าว เช่น
- ยารักษาทางจิตเวชบางชนิด เช่น ยา Lithium
- ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น Cyclosporin
- ยาเคมีบำบัดบางชนิด เช่น Fluorouracil และ Busulfan เป็นต้น
มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยาเมโทรนิดาโซล?
ข้อควรระวังเมื่อใช้ยาเมโทรนิดาโซล เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาเมโทรนิดาโซล (เช่น ขึ้นผื่น หรือ มีปัญหาทางการหายใจ เช่น แน่นหน้าอก)
- หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเมโทรนิดาโซลมากกว่า 10 วัน ควรต้องตรวจและควบคุมความผิดปกติของระบบเลือด/ระบบโลหิตวิทยา เช่น ตรวจซีบีซี
- ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสมอง รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบประ สาทส่วนปลาย ระบบประสาทส่วนกลาง และ ผู้ที่มีโรคตับ
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร หรือต้องขับขี่ยวดยานพาหนะด้วย เพราะยาอาจทำให้มีอาการ ง่วงนอน หรือวิงเวียนศีรษะ
- ระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ถึงแม้ยาเมโทรนิดาโซล ไม่ก่อให้เกิดความพิการของตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง แต่ยานี้มีผลต่อระบบเลือด ต่อตับ และต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจส่งผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อทารกได้เช่นเดียวกัน
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
- และควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด รวมทั้งเมื่อจะซื้อยาใช้เอง ควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ
ควรเก็บรักษายาเมโทรนิดาโซลอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาเมโทรนิดาโซลทุกรูปแบบของผลิตภัณฑ์ เช่น
- เก็บยานี้ภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส(Celsius)
- เก็บยานี้ตามภายใต้ข้อกำหนดของบริษัทยา (อ่านในฉลากยา/เอกสารกำกับยา)
- เก็บยาให้พ้นแสง/แสงแดด
- ไม่เก็บยาในที่มีความชื้น เช่น ในห้องน้ำ
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเสมอ
ยาเมโทรนิดาโซลมีชื่ออื่นๆอีกไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
ชื่อทางการค้าและบริษัทผู้ผลิต ยาเมโทรนิดาโซล เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Flagyl/Flagyl400/Flagyl-S(ฟลาจิล/ฟลาจิล400/ฟลาจิล-เอส) | sanofi-aventis |
Kana-P (กานา-พี) | PP Lab |
Medazole Picco (เมดาโชล พิคโค) | Picco Pharma |
Metrazole (เมทราโซล) | General Drugs House |
Metrogyl (เมโทรจิล) | J.B. Chemicals |
Metrogyl Gel (เมโทรจิล เจล) | Unique |
Metrolex (เมโทรเลก) | Siam Bheasach |
Metronidazole Fresenius Kabi (เมโทรนิดาโซล ฟรีซีเนียส คาบี) | Fresenius |
KabiMetronidazole GPO (เมโทรนิดาโซล จีพีโอ) | GPO |
Robaz (โรบาส) | Galderma |