เมื่อลูกน้อยท้องเสีย (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เมื่อลูกน้อยท้องเสีย-3

      

กรณีที่เด็กอาเจียน ให้หยุดอาหารและของเหลวอื่น แต่ให้ผงละลายเกลือแร่ต่อโดยป้อน

  • ปริมาณ 15 มล. (1 ช้อนโต๊ะ) ทุก 10-15 นาที จนกว่าจะหยุดอาเจียน
  • ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นจนเด็กสามารถกินได้ในปกติ
  • หากเด็กอาเจียนนานกว่า 4-6 ชั่วโมง ให้นำส่งโรงพยาบาล

หลัง 4-24 ชั่วโมง (ระยะฟื้นฟู)

  • ยังคงให้ผลละลายเกลือแร่ไปจนกว่าอาการท้องเสียจะน้อยลง
  • ถ้าเด็กไม่อาเจียน ให้เด็กกินอาหารตามปกติ
  • หากอาเจียนน้อยลง ควรให้เด็กค่อยๆ เริ่มกินนมหรือป้อนอาหารจนเป็นปกติ

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการดูแลเด็ก

  • อย่าให้เด็กกินน้ำหวานหรือน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ชา ซุปหรือน้ำข้าว เพราะสิ่งเหล่านี้จะให้ปริมาณน้ำ เกลือ และน้ำตาล ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เด็กท้องเสียมากขึ้นได้
  • ถ้าเด็กท้องเสียบ่อยๆ ให้เด็กดื่มผงละลายเกลือแร่และกินอาหารรสอ่อนที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน (Lean meats) ผักและผลไม้ อย่าให้ดื่มแต่น้ำอย่างเดียวเพราะน้ำเปล่าไม่มีสารอาหารที่พอเพียงสำหรับเด็ก ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับโซเดียมต่ำ

และควรนำเด็กไปพบแพทย์ในกรณีที่เด็กมีอาการต่อไปดังนี้

  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนมีอาการท้องเสีย
  • ปวดท้องมากขึ้นๆ
  • ถ่ายปนเลือดหรืออุจจาระสีดำ
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือน้ำดี
  • ไม่ยอมดื่มของเหลว
  • หลัง 4-6 ชั่วโมงผ่านไป ก็ยังคงอาเจียนและดื่มไม่ได้
  • ท้องเสียมากกว่า 3 วัน ขึ้นไป
  • เป็นไข้สูงกว่า 40.5 C หรือในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนเป็นไข้สูงกว่า 38 C (ห้ามให้ยาแก้ไข้)
  • ทารกไม่มีการปัสสาวะใน 6 ชั่วโมง หรือ เด็กไม่มีการปัสสาวะใน 12 ชั่วโมง
  • มีอาการของภาวะขาดน้ำ
  • หากเด็กอาเจียนเป็นน้ำดีสีเขียว ให้รีบพาส่งห้องฉุกเฉินทันที

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Dehydration and diarrhea in children: Prevention and treatment. https://www.caringforkids.cps.ca/handouts/dehydration_and_diarrhea [2019, Jun 14].
  2. Diarrhea in Children: Causes and Treatments. https://www.webmd.com/children/guide/diarrhea-treatment#1 [2019, Jun 14].
  3. Diarrhea. https://kidshealth.org/en/parents/diarrhea.html [2019, Jun 14].