เมาแอ๋แม้ไม่ดื่ม (ตอนที่ 8 และตอนจบ)

เมาแอ๋แม้ไม่ดื่ม-8

      

      - การตรวจรังสีวินิจฉัยด้วยการ

  • อัลตราซาวด์ช่องท้อง (มักใช้เป็นการตรวจอย่างแรกเมื่อสงสัยว่าเป็นโรคตับ)
  • การทำซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไอ
  • การวัดความยืดหยุ่นตับด้วยเครื่อง Transient elastography
  • การสร้างภาพโดยใช้การสั่นสะเทือนของคลื่นแม่เหล็ก (Magnetic resonance elastography - MRE) เพื่อดูความนุ่มแข็งของเนื้อเยื่อ

      - การตรวจเนื้อเยื่อตับ (liver biopsy) ด้วยการเจาะชิ้นเนื้อตับผ่านทางหน้าท้องไปตรวจ

      สำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงในการเกิด NAFLD ซึ่งได้แก่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีภาวะอ้วนลงพุง ควรมีการอัลตราซาวด์ตับทุก 3 ปี

      ในส่วนของการรักษา อย่างแรกที่ทำคือ การให้ลดน้ำหนักพร้อมกับการกินอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกาย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะให้ลดน้ำหนักลงให้ได้ร้อยละ 10 ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งที่เกิดจาก NASH อาจใช้การปลูกถ่ายตับ (Liver transplantation)

      สำหรับการดูแลตัวเองอาจทำได้ด้วยการ

  • ลดน้ำหนัก - ควรรักษาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ให้อยู่ที่ 18.5 - 24.9 โดยการลดน้ำหนักให้ได้ร้อยละ 10 จะช่วยลดไขมันออกจากตับได้
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรืออย่างน้อยวันละ 30 นาที เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน เพราะการออกกำลังกายทุกชนิดจะช่วยให้ NAFLD ดีขึ้น แม้น้ำหนักตัวจะไม่ได้ลดลงก็ตาม
  • ควบคุมเบาหวาน
  • ลดคลอเรสเตอรอล
  • หลีกเลี่ยงการทำร้ายตับ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อตับ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Nonalcoholic fatty liver disease.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nonalcoholic-fatty-liver-disease/symptoms-causes/syc-20354557[2019, October 26].
  2. Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD). https://www.nhs.uk/conditions/non-alcoholic-fatty-liver-disease/ [2019, October 26].