เมนูอาหารเป็นพิษ (ตอนที่ 2)

เมนูอาหารเป็นพิษ-2

      

      เราสามารถติดเชื้อได้หากอาหาร

  • ไม่ได้รับการทำให้สุกอย่างทั่วถึง
  • เก็บรักษาไม่ถูกต้อง เช่น วางอาหารดิบและสุกไว้ด้วยกัน หรือไม่ได้แช่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้
  • วางไว้นานเกินไป
  • ได้รับการสัมผัสจากผู้มีเชื้อที่ไม่ได้ล้างมือหรือจากสัตว์ เช่น แมลงวันตอม
  • หมดอายุ

      ทั้งนี้ อาการอาจจะเกิดหลังการกินอาหารภายในชั่วโมงหรือหลังจากนั้นเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ และอาการป่วยอาจจะคงอยู่ต่อ ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงจนถึงหลายวันก็ได้ขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับ

      โดยกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่

  • ผู้สูงวัย – เพราะยิ่งมีอายุ ระบบภูมิคุ้มกันอาจตอบสนองได้ไม่ดี
  • หญิงตั้งครรภ์ – เพราะระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบการเผาผลาญและการไหลเวียน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการมีอาการอาหารเป็นพิษ
  • ทารกและเด็กเล็ก – เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง – เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคเอดส์ หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง

      ตัวอย่างเชื้อโรค

เชื้อโรค
ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ
ตัวอย่างอาหารและช่องทางที่ปนเปื้อน
Campylobacter 2-5 วัน เนื้อและสัตว์ปีก โดยการปนเปื้อนเกิดขึ้นได้หากมูลสัตว์สัมผัสกับผิวเนื้อ นอกจากนี้ยังมีนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และน้ำที่ติดเชื้อ
Clostridium botulinum 12-72 ชั่วโมง อาหารกระป๋องที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ปลารมควันหรือปลาหมักเกลือ มันฝรั่งที่ย่างด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยด์ และอาหารอื่นๆ ที่วางไว้ที่อุณหภูมิอุ่นเป็นเวลานานเกินไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Food poisoning. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/food-poisoning/symptoms-causes/syc-20356230 [2019, March 25].
  2. Food poisoning. https://www.nhs.uk/conditions/food-poisoning/ [2019, March 25].
  3. 10 ways to prevent food poisoning. https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/10-ways-to-prevent-food-poisoning/ [2019, March 25].