เมซาลาซีน (Mesalazine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 7 กรกฎาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- เมซาลาซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- เมซาลาซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- เมซาลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- เมซาลาซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- เมซาลาซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้เมซาลาซีนอย่างไร?
- เมซาลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาเมซาลาซีนอย่างไร?
- เมซาลาซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ลำไส้อักเสบ (Enterocolitis)
- ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคไอบีดี (Inflammatory bowel disease: IBD)
- ซัลฟา (Sulfa drugs) ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)
- โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis)
- โรคโครห์น (Crohn’s disease)
บทนำ
ยาเมซาลาซีน (Mesalazine) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Mesalamine หรือ 5-aminosalicylic acid จัดเป็นยาที่วงการแพทย์นำมาใช้รักษาอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังเช่น การเกิดแผลอักเสบเรื้อรังของลำไส้ใหญ่/ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง และ Crohn’s disease ทั้งระดับเริ่มแรกจนถึงระดับ กลาง การออกฤทธิ์ของยาจะเกิดที่ผนังลำไส้ โดยมีการสร้างสมดุลของสารเคมีต่างๆซึ่งช่วยสนับ สนุนให้ส่วนที่มีการอักเสบของลำไส้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้ที่พบเห็นตามสถานพยาบาลจะเป็นยาชนิดรับประทานและ ยาเหน็บทางทวารหนัก/ยาเหน็บทวาร โดยการดูดซึมยานี้จากการรับประทานอยู่ที่ประมาณ 20 - 30% หากเป็นยาเหน็บทวารหนักตัวยาจะถูกดูดซึมได้ในช่วงประมาณ 10 - 35% และตัวยาเมซาลาซีนจะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีที่ผนังลำไส้เล็ก โดยยาที่ดูดซึมเข้ากระแสเลือดบาง ส่วนจะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีนประมาณ 40 - 80% ก่อนที่จะถูกส่งไปเผาผลาญที่ตับ ยาเมซาลาซีนยังซึมผ่านเข้าน้ำนมมารดาและผ่านเข้ารกได้เล็กน้อย จึงต้องระวังการใช้ยากับสตรีกลุ่มดัง กล่าว โดยทั่วไปร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 5 - 7 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยาปริมาณ 50% ออกจากกระแสเลือดก่อนที่จะผ่านทิ้งไปกับปัสสาวะและอุจจาระ
คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้บรรจุให้ยาเมซาลาซีนอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ สำหรับยาชนิดเม็ดแบบรับประทานจะถูกใช้เป็นยาทางเลือกกรณีที่ผู้ ป่วยแพ้กลุ่มยาซัลฟาตัวอื่นๆ และจัดให้ยาเมซาลาซีนอยู่ในหมวดยาอันตราย
ผู้ป่วยที่สามารถใช้ยานี้ได้ต้องไม่อยู่ในขอบข่ายที่ต้องเฝ้าระวังเช่น มีภาวะตั้งครรภ์หรืออยู่ ในช่วงเลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมมารดา ไม่เคยแพ้ยาชนิดนี้มาก่อน และร่างกายควรมีการทำงานของตับ - ไตเป็นปกติ ซึ่งการใช้ยานี้ที่ปลอดภัยควรต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น และห้ามผู้ป่วยซื้อยามาใช้เอง
เมซาลาซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาเมซาลาซีนมีสรรพคุณคือ ใช้รักษาภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
เมซาลาซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเมซาลาซีนคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อส่วนที่มีการอักเสบของลำไส้ โดยจะยับยั้งการสังเคราะห์และการหลั่งสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเช่น Leukotriene ในระบบทางเดินอาหารจึงส่งผลให้มีฤทธิ์ของการรักษาเกิดขึ้น
เมซาลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาเมซาลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้เช่น
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 250, 400 และ 500 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาผงชนิดรับประทาน ขนาด 1 และ 2 กรัม/ซอง
- ยาน้ำเพื่อสวนทวาร ขนาดความเข้มข้น 1 กรัม/100 มิลลิลิตร
- ยาเหน็บทวารหนัก ขนาด 1 กรัม/แท่ง (เม็ด)
- ยาเหน็บทวารหนัก ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/แท่ง
เมซาลาซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดการใช้ยาเมซาลาซีนรวมถึงจะเลือกใช้ยาประเภทใดเช่น รับประทาน สวนทวารหนัก หรือ เหน็บทวารหนัก จะขึ้นกับตำแหน่งของลำไส้ที่เกิดอาการและดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาเป็นกรณีๆไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเฉพาะการใช้ยานี้เป็นยารับประทานดังนี้เช่น
ก.สำหรับความดันโลหิตสูงและอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด:
- ผู้ใหญ่: ปกติสามารถรับประทานได้ถึง 4 กรัม/วัน โดยแบ่งการรับประทานเป็น 2 - 3 ครั้ง ขนาดรับประทานเริ่มต้นอยู่ที่ 1.5 กรัม/วัน และแบ่งการรับประทานเป็น 2 - 3ครั้งเช่นกัน
- เด็กที่อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป: รับประทาน 20 - 30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี: ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่แนะนำแน่ชัดในการใช้และในขนาดยานี้ในเด็กกลุ่มนี้ การใช้ยานี้ในเด็กกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
*อนึ่ง สามารถรับประทานยานี้ก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้ ห้ามเคี้ยวยาขณะรับประทาน และควรดื่มน้ำตามให้พอเพียง/ให้มากๆ
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเมซาลาซีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเมซาลาซีนอาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
เมซาลาซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาเมซาลาซีนสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องอืด อ่อนแรง มีไข้ มีผื่นคันตามผิวหนัง เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดตามข้อ วิงเวียน ปวดหลัง ท้องผูก กรวยไตอักเสบ และถ้าตรวจเลือดจะพบค่าเอนไซม์การทำงานของตับมีปริมาณเพิ่มขึ้น
มีข้อควรระวังการใช้เมซาลาซีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาเมซาลาซีนดังนี้เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาเมซาลาซีน ยาซาลิไซเลต ยาซัลฟาซาลาซีน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคไตหรือโรคตับระยะรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร และผู้สูงอายุ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยด้วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- หยุดการใช้ยานี้ทันทีหากเริ่มมีอาการแพ้ยาเกิดขึ้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเมซาลาซีนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
เมซาลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาเมซาลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเมซาลาซีนร่วมกับยา Digoxin ด้วยทำให้การดูดซึมของ Digoxin ลด น้อยลงจนอาจกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษา
- การใช้ยาเมซาลาซีนร่วมกับยา Amikacin, Adefovir, Aspirin, Ibuprofen, Salsalate, Tenofovir อาจทำให้เกิดภาวะไตทำงานผิดปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวแพทย์อาจปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาเมซาลาซีนร่วมกับยา Warfarin อาจทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของ Warfarin ด้อยลงไปและสามารถเกิดภาวะเลือดจับตัวข้นขึ้น สังเกตได้จากมีอาการเจ็บหน้าอก อึดอัดหายใจ ไม่ออก/หายใจลำบาก หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- การใช้ยาเมซาลาซีนร่วมกับยา Mercaptopurine (ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย) จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากยา Mercaptopurine มากยิ่งขึ้นเช่น เกิดภาวะคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะเลือดออกง่าย มีไข้ หนาวสั่น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าวแพทย์อาจปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลๆไป
ควรเก็บรักษาเมซาลาซีนอย่างไร?
ควรเก็บยาเมซาลาซีนภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่ แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
เมซาลาซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาเมซาลาซีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Mesacol (เมซาคอล) | Sun Pharma |
Pentasa (เพนทาซา) | Ferring |
Salofalk (ซาโลฟลัก) | Falk |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Mesalazine [2015,June6]
2. http://www.patient.co.uk/medicine/mesalazine [2015,June6]
3. http://www.mims.com/USA/drug/info/mesalazine/mesalazine?type=full&mtype=generic#Dosage [2015,June6]
4. http://www.mhra.gov.uk/home/groups/spcpil/documents/spcpil/con1384754966518.pdf [2015,June6]
5. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/22#item-8365 [2015,June6]
6. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=mesalazine [2015,June6]
7. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Salofalk/?type=brief [2015,June6]
8. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Pentasa/?type=brief [2015,June6]
9. http://www.drugs.com/drug-interactions/mesalamine-index.html?filter=3&generic_only= [2015,June6]