เฟอรัสฟูมาเรต (Ferrous fumarate)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง
  • ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
  • ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
  • โลหิตจาง เลือดจาง ซีด (Anemia)
  • โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia)
  • ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency)
  • เฟอรัส ซัลเฟต (Ferrous sulfate)
  • เฟอรัส กลูโคเนต (Ferrous gluconate)
  • เฟอโร - บี คัล (Ferro - B Cal)
  • บทนำ

    ยาเฟอรัสฟูมาเรต (Ferrous fumarate) เป็นแร่ธาตุที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก โดยปกติ มนุษย์สามารถได้รับธาตุเหล็กจากอาหารที่รับประทาน ธาตุเหล็กจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทางคลีนิกเฟอรัสฟูมาเรตจึงถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก อย่างไรก็ตาม ต้องระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะธาตุเหล็กในร่างกายเกิน หรือ ป่วยด้วยโรคเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยผิดปกติ หรือผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

    จากการศึกษาเรื่องการกระจายของตัวยาในร่างกายมนุษย์พบว่า การดูดซึมของเฟอรัสฟูมาเรตจากระบบทางเดินอาหารจะขึ้นกับปริมาณธาตุเหล็กในร่างกาย ถ้าร่างกายมีปริมาณธาตุเหล็กต่ำจะทำให้เกิดการดูดซึมยานี้ได้ดี จากนั้นตัวยาจะเข้าจับกับสารที่มีชื่อว่า Transferrin ก่อนที่จะถูกลำเลียงไปยังไขกระดูก และรวมตัวเป็นส่วนเดียวกันกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

    คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้บรรจุยานี้ลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีรูปแบบการใช้เป็นยารับประทานทั้งชนิดเม็ด แคปซูล และยาน้ำ โดยทั่วไปจะพบเห็นยาเฟอรัสฟูมาเรตมีขายตามร้านขายยาทั่วไป สถานพยาบาลต่างๆจะมียานี้สำรองคงคลังเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยเช่น เดียวกัน ส่วนขนาด - วิธีการรับประทานยาที่ปลอดภัยและได้ประสิทธิผลของการรักษาสูงสุดจะ ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

    มัลติวิตามินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

    เฟอรัสฟูมาเรต

    ยาเฟอรัสฟูมาเรตมีสรรพคุณใช้รักษาและป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กของร่างกาย

    เฟอรัสฟูมาเรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

    ยาเฟอรัสฟูมาเรตมีกลไกการออกฤทธิ์โดยตัวยาจะเข้ารวมตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่งผลให้การทำงานของเม็ดเลือดแดงเป็นไปอย่างปกติ และทำหน้าที่ลำเลียงออกซิ เจนไปเลี้ยงเซลล์ส่วนต่างๆของร่างกายได้

    เฟอรัสฟูมาเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

    ยาเฟอรัสฟูมาเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้เช่น

    • ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 200 มิลลิกรัม/เม็ด
    • ยาเม็ดที่ผสมร่วมกับยาอื่นเช่น
    • Ferrous fumarate 200 mg, Folic acid 0.5 mg, Pyridoxine Hydrochloride/Vitamin B6 5 mg
    • Calcium phosphate tribasic 250 mg, Ferrous fumarate 150 mg, Folic acid 0.5 mg, Vitamin A
    • ยาเม็ดและยาแคปซูลชนิดรับประทานประเภทวิตามินรวม

    เฟอรัสฟูมาเรตมีขนาดรับประทานอย่างไร?

    ยาเฟอรัสฟูมาเรตมีขนาดรับประทานดังนี้เช่น

    • ผู้ใหญ่: รับประทานได้ถึง 600 มิลลิกรัม/วัน ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

    อนึ่ง ควรรับประทานยาเมื่อท้องว่าง หากรู้สึกระคายเคืองกระเพาะอาหารหลังรับประทาน สามารถรับประทานยานี้พร้อมอาหารได้

    • เด็ก: การใช้ยานี้ในเด็กต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น เพราะขนาดยาจะขึ้นกับ สาเหตุ ความรุนแรงของอาการ และน้ำหนักตัวของเด็ก

    *****หมายเหตุ:

    • ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษา แพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

    หากลืมรับประทานยามัลติวิตามินสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

    เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

    เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเฟอรัสฟูมาเรต ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

    • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หาย ใจลำบาก
    • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาเฟอรัสฟูมา เรตอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆหรือกับอาหารเสริมที่รับประทานอยู่ก่อน
    • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

    หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

    หากลืมรับประทานยาเฟอรัสฟูมาเรตสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

    เฟอรัสฟูมาเรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

    ยาเฟอรัสฟูมาเรตสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ต่างๆดังนี้เช่น มีเลือด ออกปนมากับอุจจาระ/อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูกหรือไม่ก็ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน แสบร้อนกลาง อก เบื่ออาหาร ปัสสาวะมีสีคล้ำ ผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการแพ้ยา โดยมีอาการผื่นคันตามตัว หายใจไม่ออก/แน่นหน้าอก/หายใจลำบาก ปากบวม หน้าบวม เป็นต้น

    มีข้อควรระวังการใช้เฟอรัสฟูมาเรตอย่างไร?

    มีข้อควรระวังการใช้เฟอรัสฟูมาเรตดังนี้เช่น

    • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
    • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยโรคแผลในลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ ผู้ที่มีภาวะธาตุเหล็กในร่างกายเกิน ผู้ป่วยด้วยโรคโลหิตจางอันมีสาเหตุจากเม็ดเลือดแดงแตก
    • ห้ามปรับขนาดรับประทานด้วยตนเอง
    • ระวังการรับประทานยาอื่นซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบร่วมกับเฟอรัสฟูมาเรต
    • ระวังการแพ้สีที่เป็นส่วนผสมในสูตรตำรับยานี้
    • การใช้ยานี้ในเด็ก สตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
    • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
    • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
    • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

    ***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเฟอรัสฟูมาเรตด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

    เฟอรัสฟูมาเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

    เฟอรัสฟูมาเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

    • การใช้ยาเฟอรัสฟูมาเรตร่วมกับยา Calcium carbonate, Aluminium hydroxide, อาจทำให้ประสิทธิผลการรักษาของยาเฟอรัสฟูมาเรตลดลง หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันควรรับประ ทานยาห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
    • การรับประทานยาเฟอรัสฟูมาเรตร่วมกับยา Doxycycline, Tetracycline จะเกิดการรวมตัวของยาในระบบทางเดินอาหารและลดการดูดซึม จนทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของยาเฟอรัสฟูมา เรตลดลง หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันควรรับประทานยาห่างกัน 3 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาเฟอรัสฟูมาเรตร่วมกับยา Methyldopa ด้วยจะเกิดการรบกวนการดูดซึมของ Methyldopa จนส่งผลกระทบต่อการรักษาของยา Methldopa
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาเฟอรัสฟูมาเรตร่วมกับ Vitamin E ด้วยวิตามินอีจะรบกวนการดูดซึมเฟอรัสฟูมาเรตจนส่งผลต่อการรักษาของยาเฟอรัสฟูมาเรต

    ควรเก็บรักษาเฟอรัสฟูมาเรตอย่างไร?

    สามารถเก็บยาเฟอรัสฟูมาเรตภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้ เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

    เฟอรัสฟูมาเรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

    ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
    Boracap (โบราแคป) Sriprasit Dispensary
    Cebrin-Fe (เซบริน เฟอรัส) PP Lab
    Femarate (ฟีมาเรต) Central Poly Trading
    FBC Plus (เอฟบีซี พลัส) Ranbaxy
    Fercalmin (เฟอแคลมิน) Utopian
    Ferli-6 (เฟอริ-ซิก) Continental - Pharm
    F-Tab (เอฟ-แท็ป) Medicine Products
    Ferosix (เฟอโรซิก) Central Poly Trading
    Ferrocine (เฟอโรซีน) Medicine Products
    I-RON (ไอ-ออน) Patar Lab

    บรรณานุกรม

    1. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/search?keyword=ferrous [2015,May16]
    2. http://en.wikipedia.org/wiki/Iron%28II%29_fumarate[2015,May16]
    3. http://www.mims.com/usa/drug/info/ferrous%20fumarate/ferrous%20fumarate?type=full&mtype=generic[2015,May16]
    4. http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=ferrous+fumarate[2015,May16]
    5. http://www.drugs.com/sfx/ferrous-fumarate-side-effects.html[2015,May16]
    6. http://www.drugs.com/drug-interactions/ferrous-fumarate-index.html?filter=2 [2015,May16]