เพนิซิลลิน (Penicillin)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

เพนิซิลลิน (Penicillin, ย่อว่า พีซีเอ็น/PCN หรือ เพ็น/Pen) เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่มีโครงสร้างทางเคมีที่เรียกว่า เบต้า-แลคแตม (Beta-lactam antibiotics) วงการแพทย์นำยานี้มาใช้ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งยานี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897 (พ.ศ.2440) โดยแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Ernest Duchesne การสังเคราะห์ยาเพนิซิลลินได้จากต้นกำเนิดของเชื้อราที่มีชื่อว่า Penicillium

ยาเพนิซิลลินยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้อีกเช่น เพนิซิลลิน วี (Penicillin V) ซึ่งจะพบได้ในรูปแบบของยารับประทาน, ส่วนเพนิซิลลิน จี (Penicillin G), โปรเคนเพนิซิลลิน (Procaine penicillin) และ เบนซาทีน เพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) จะพบเห็นในรูปแบบยาฉีดเป็นส่วน มาก

ยาเพนิซิลลินถือเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มแรกที่ถูกนำมาใช้บำบัดรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococci และ Streptococci สำหรับเชื้อที่ตอบสนองต่อเพนิซิลลินได้ดีจะเป็นแบคทีเรียกลุ่ม แกรมบวก (Gram positive) ปัจจุบันยังมีการใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินอยู่ ถึงแม้จะมีเชื้อหลายตัวเกิดการดื้อยาด้วยผลของการใช้ยาที่ผิดวิธี แต่ก็ยังมีแบคทีเรียบางกลุ่มที่ตอบสนองกับยานี้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้ยาเพนิซิลลินเป็นกลุ่มยาจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับชุมชน คณะกรรมการอาหารและยาของไทยก็ได้บรรจุยาเพนิซิลลินลงในบัญชียาหลักแห่งชาติเช่นกัน

ก่อนการใช้ยานี้แพทย์จะเป็นผู้คัดกรองและเลือกใช้ชนิดของเพนิซิลลินที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไป

เพนิซิลลินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

เพนิซิลลิน

ขอจำแนกประโยชน์การใช้ยาเพนิซิลลินที่รักษาอาการโรคดังต่อไปนี้เช่น

ก. เพนิซิลลิน วี (Penicillin V):ใช้ในการรักษาโรคดังต่อไปนี้เช่น ทอนซิลอักเสบ, คออัก เสบ, โรค Antrax (โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis), โรคไลม์ (Lyme disease, โรคติดเชื้อจากกลุ่มแบคทีเรียในสกุล/Genus Borrelia ), โรคไข้รูมาติก, การติดเชื้อ Streptococci ในบริเวณผิวหนัง และเหงือกอักเสบ

ข.เพนิซิลลิน จี (Penicillin G): ใช้ในการรักษาโรคดังต่อไปนี้เช่น ผิวหนังอักเสบ เยื่อบุหัว ใจอักเสบติดเชื้อ โรคหนองใน โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคฝีในปอด โรคปอดบวม เนื้อเยื่อตายเน่า โรคคอตีบ โรคซิฟิลิส การติดเชื้อในกระแสเลือด/ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และกระดูกอัก เสบ

ค.โปรเคนเพนิซิลลิน (Procaine penicillin): ใช้ในการรักษาโรคดังต่อไปนี้เช่น โรคซิฟิ ลิส ผิวหนังอักเสบ โรคไฟลามทุ่ง โรค Anthrax และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

จ. เบนซาทีน เพนิซิลลิน (Benzathine penicillin): ใช้ในการรักษาโรคดังต่อไปนี้เช่น โรคไข้รูมาติก โรคซิฟิลิส

เพนิซิลลินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาเพนิซิลลินคือ ตัวยาจะยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยจะเข้าไปยับยั้งการสร้างสารเปบทิโดกลัยแคน (Peptidoglycan) ซึ่งเป็นตัวประกอบสำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย จากการก่อกวนนี้ทำให้การสร้างผนังเซลล์ในแบคทีเรียหยุดชะงัก ไม่สามารถเจริญ เติบโตหรือแพร่พันธุ์ได้และทำให้แบคทีเรียตายลงในที่สุด

เพนิซิลลินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเพนิซิลลินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้

  • ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 250 มิลลิกรัม/เม็ด เช่น เพนิซิลลิน วี
  • ยาแคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัม/แคปซูล เช่น เพนิซิลลิน วี
  • ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 4 แสนยูนิตสากล/แคปซูล เช่น เพนิซิลลิน วี
  • ยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทาน ขนาด 2 แสนยูนิตสากล/5 มิลลิลิตร เช่น เพนิซิลลิน วี
  • ยาฉีดชนิดผง ขนาดความแรง 0.5 ล้าน, 1ล้าน และ 5 ล้านยูนิตสากล/ขวด เช่น เพนิซิลลิน จี
  • ยาฉีด ขนาด 1.2 ล้านยูนิตสากล/2 มิลลิลิตร เช่น โปรเคน เพนิซิลลิน
  • ยาฉีด ขนาด 0.6 ล้านยูนิตสากล/มิลลิลิตร เช่น โปรเคน เพนิซิลลิน
  • ยาฉีด ขนาด 1.2 ล้านยูนิตสากล/ขวด เช่น เบนซาทีน เพนิซิลลิน

เพนิซิลลินมีขนาดรับประทานหรือการบริหารยาอย่างไร?

ขนาดรับประทานหรือการบริหารยา/การใช้ยาเพนิซิลลินจะขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยร่วมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการและมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นจึงแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคและดุลพินิจของแพทย์ จึงไม่กล่าวถึงในบทความนี้

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเพนิซิลลิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หาย ใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเพนิซิลลินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

เพนิซิลลินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาเพนิซิลลินสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) โดยรวมได้ดังนี้เช่น อาจพบอาการหายใจลำบาก มีไข้ ปวดตามข้อ เป็นลม ผื่นคันตามผิวหนัง ปวดและเป็นตะ คริวที่ท้อง ภาวะชัก ปัสสาวะน้อยลง ท้องเสียหรือถ่ายเหลว ภาวะซึมเศร้า คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน จิต/ประสาทหลอน ปวดศีรษะ คันบริเวณอวัยวะเพศ แผลในปากในลิ้น กรณียาฉีดจะพบอาการปวดบริเวณเนื้อเยื่อที่ได้รับการฉีดยา

มีข้อควรระวังการใช้เพนิซิลลินอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาเพนิซิลลินดังนี้เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลินหรือผู้ที่แพ้ยาในตระกูลเบต้า-แลคแตม (Beta lactam) เช่น เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) ดังนั้นก่อนการใช้ยานี้จึงควรทราบประวัติใช้ยาต่างๆโดยละ เอียดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง
  • หากพบอาการเหล่านี้หลังใช้ยาเพนิซิลลินให้หยุดการใช้ยานี้ทันที แล้วรีบพบแพทย์/ไปโรง พยาบาลทันทีเช่น มีลมพิษ ผื่นคันขึ้นเต็มตัว หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก ปวดท้องมาก ท้องเสียอย่างมาก หรือคลื่นไส้ - อาเจียนอย่างรุนแรง
  • ระวังการใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ถึงแม้ว่าเพนิซิลลินจะจัดว่าปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ก็ต้องระวังในเรื่องผลข้างเคียงที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเช่น มีอาการท้องเสีย หรือผื่นคันขึ้นหลังการใช้
  • ยาเพนิซิลลินบางรูปแบบจะมีเกลือโซเดียมเป็นองค์ประกอบ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผู้ป่วยที่ร่าง กายมีภาวะเกลือโซเดียมในกระแสเลือดมากเกินไป
  • ยาเพนิซิลลินอาจรบกวนผลการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะของผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ผลการวิ เคราะห์โรคคลาดเคลื่อน ดังนั้นระหว่างมีการใช้ยาเพนิซิลลินควรนำเรื่องการใช้ยานี้มาประกอบในการพิจารณาการวิเคราะห์ผลการตรวจปัสสาวะจากห้องปฏิบัติการทุกครั้ง
  • ระวังการเกิดเชื้อราในช่องปากและที่อวัยวะเพศขณะที่ได้รับยากลุ่มเพนิซิลลิน
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเพนิซิลลินด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

เพนิซิลลินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาเพนิซิลลินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น

  • การใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินร่วมกับยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเช่น Erythromycin, Tetracy cline อาจทำให้ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียของเพนิซิลลินน้อยลง จึงควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินร่วมกับยา Methotrexate สามารถทำให้ระดับยา Methotrexate ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น จนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน หรือแพทย์ปรับขนาดการใช้ให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
  • การใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของ Ethinyl Estradiol อาจทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้อยลงไป ดังนั้นขณะใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ร่วมกันควรใช้วิธีอื่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยเช่น การใช้ถุงยางอนามัยชาย
  • การใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น Warfarin อาจก่อให้เกิดภาวะตกเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ การใช้ยาร่วมกันจะต้องคอยเฝ้าระวังและควบคุมกลไกการแข็งตัวของเลือดให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ

ควรเก็บรักษาเพนิซิลลินอย่างไร?

ควรเก็บรักษายาเพนิซิลลินดังนี้

  • สำหรับยาฉีด ควรเก็บที่อุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • หากเป็นชนิดรับประทาน สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 15 - 30 องศาเซลเซียสเช่น เพนิซิลลิน วี
  • อนึ่ง ห้ามเก็บยาทั้ง 2 ชนิดในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น ห้ามเก็บยาในห้องน้ำ และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

เพนิซิลลินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเพนิซิลลินที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Pen G (เพน จี)PP LAB
Pen V Atlantic (เพน วี แอทแลนติก)Atlantic
Pen V General Drugs House (เพน วี เจเนอรอล ดรักซ์ เฮาส์)General Drugs House
Pen V Utopian (เพน วี ยูโทเปียน)Utopian
Pen V-Oral Four (เพน วี-ออรอล โฟร์)Utopian
Pen V-Oral Two (เพน วี-ออรอล ทู)Utopian
Penicillin G Sodium General Drugs House (เพนิซิลลิน จี โซเดียม เจเนอรอล ดรักซ์ เฮาส์)General Drugs House
Penicillin G Sodium MH (เพนิซิลลิน จี โซเดียม เอ็มเฮช)M & H Manufacturing
Penicillin V Asian Union (เพนิซิลลิน วี เอเชียน ยูเนียน)Asian Union
Penveno (เพนวีโน)Milano
Phenoxymethyl Penicillin Asian Pharm (ฟีน็อกซีเมทิล เพนิซิลลิน เอเชียน ฟาร์ม)Asian Pharm
Retarpen 1.2 M Unit (รีทาร์เพน 1.2 ล้านยูนิต)Sandoz

บรรณานุกรม

1. http://en.wikipedia.org/wiki/Penicillin#Medical_uses[2014,Dec27]
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Benzylpenicillin [2014,Dec27]
3. http://en.wikipedia.org/wiki/Phenoxymethylpenicillin[2014,Dec27]
4. http://en.wikipedia.org/wiki/Procaine_benzylpenicillin [2014,Dec27]
5. http://en.wikipedia.org/wiki/Benzathine_benzylpenicillin [2014,Dec27]
6. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/search?keyword=penicillin[2014,Dec27]
7. http://www.drugs.com/sfx/penicillin-side-effects.html[2014,Dec27]
8. http://www.dermnetnz.org/treatments/penicillin.html [2014,Dec27]
9. http://www.healthcentral.com/medications/r/medications/penicillin-potassium-oral-8686/side-effects [2014,Dec27]
10. http://www.healthofchildren.com/P/Penicillins.html [2014,Dec27]
11. http://www.druglib.com/druginfo/permapen/warnings_precautions/ [2014,Dec27]
12. http://www.mims.com/USA/drug/info/Penicillin%20G%20Procaine/Penicillin%20G%20Procaine%
20Injection?type=full
[2014,Dec27]
13. http://www.mims.com/USA/drug/info/benzathine%20benzylpenicillin/ [2014,Dec27]
14. http://www.drugs.com/drug-interactions/folex-pfs-with-penicillin-1590-3015-1815-0.html [2014,Dec27]
15. http://www.drugs.com/drug-interactions/penicillin-index.html?filter=2&generic_only=#E [2014,Dec27]
16. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Retarpen%201.2%20M%20Unit/ [2014,Dec27]