เนื้อตาย: เนื้อตายเหตุขาดเลือด (Infarction)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 4 กันยายน 2556
- Tweet
เนื้อตายเหตุขาดเลือด คือ การที่เนื้อเยื่อต่างๆที่มักเกิดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง (ไม่ใช่ทั้ง หมดของเนื้อเยื่อหรือของอวัยวะ) เกิดการตายจากการขาดเลือดหล่อเลี้ยง (การขาดออกซิเจน) เซลล์ของเนื้อเยื่อที่ตำแหน่งนั้นจึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จึงเกิดการตายเฉพาะส่วนที่ขาดเลือดนั้นๆ ส่งผลให้เกิดการทำงานผิดปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆเมื่อการขาดเลือดเกิดในวงกว้าง แต่ถ้าการขาดเลือดเกิดเพียงจุดเล็กๆโดยไม่ส่งผลกระทบถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆ ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติแต่อย่างไร
เนื้อตายเหตุขาดเลือด เกิดได้กับทุกเนื้อเยื่อ/อวัยวะ โดยอาจเกิดจาก
- พยาธิสภาพของหลอดเลือดแดง เช่น จากการตีบตัน (เช่น หลอดเลือดแดงแข็ง) หรือ อุดตัน (เช่น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด) หรือ มีการฉีกขาดของหลอดเลือด (เช่น จากอุ บัติเหตุ) ซึ่งเนื้อตายจากสาเหตุนี้ จะมีสีซีดจากขาดสีของเลือด เรียกว่า “เนื้อตายสีขาว (White infarction หรือ Anemic infarction)” เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ ภาวะเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด
- ความผิดปกติของหลอดเลือดดำ เช่น การเกิดลิ่มเลือด หรือ มีการกดเบียดทับหลอดเลือด ดังนั้นจึงส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะจึงขาดเลือด ซึ่งเนื้อตายสาเหตุนี้ จะก่อให้มีเลือดดำคั่งในบริเวณเนื้อเยื่อส่วนที่ขาดเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่ขาดเลือดมีสีแดง เรียกว่า “เนื้อตายสีแดง (Red infarction หรือ Hemorrhagic infarction)” เช่น ภาวะลำไส้เล็กบิดเกลียว (Volvulus) ภาวะการบิดของอัณฑะ (Testicular torsion) ภาวะ การบิดของเนื้องอกรังไข่ (Ovarian torsion) หรือ ภาวะเนื้อตายเหตุขาดเลือดของเนื้อเยื่อปอด
ทั้งนี้ การเกิดเนื้อตายเหตุขาดเลือด ถ้าเกิดขึ้นในบริเวณไม่มาก และสามารถให้การรัก ษาสาเหตุได้ทันเวลา เนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆสามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาปกติหรือใกล้ เคียงปกติได้ ซึ่งอาจใช้เวลา เป็นสัปดาห์ เป็นหลายเดือน หรือ เป็นปี ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรง ของสาเหตุ ของพยาธิสภาพของหลอดเลือดนั้นๆ ของพยาธิสภาพเดิมของเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆ อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย
บรรณานุกรม
- Infarction http://en.wikipedia.org/wiki/Infarction [2013,July26].