เท้าเหม็นช่วยได้ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เท้าเหม็นช่วยได้-3

      

      นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ชอบทำเล็บหรือทำสปาก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน

      แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ด้วยการขูดผิวหนังบริเวณโดยรอบ (Skin scraping) เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อปรสิต นอกจากนี้ยังมีการตรวจด้วยแสงอัลตราไวโอเลต (Wood Lamp Examination) หรือบางครั้งอาจมีการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ (Skin biopsy)

      สำหรับการรักษา ส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะชนิดใช้ภายนอก (Topical antibiotic) หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Antiseptic) ซึ่งยาที่นิยมใช้กัน ได้แก่

  • Erythromycin
  • Clindamycin
  • Mupirocin
  • Fusidic acid
  • Benzoyl peroxide

      ทั้งยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่ปิดรัด และบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อด้วย

      เนื่องจากแบคทีเรียเหล่านี้จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพชื้น ดังนั้นการดูแลเท้าให้แห้งสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันโรคเท้าเหม็น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • พยายามสวมรองเท้าบูทให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • สวมรองเท้าหัวเปิด
  • สวมถุงเท้าที่ทำจากส่วนประกอบที่ไม่อับชื้น เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าวูล
  • ล้างเท้าให้บ่อยด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อวันละ 2 ครั้ง
  • อย่าใส่รองเท้าซ้ำกัน 2 วัน ให้เปลี่ยนรองเท้าเพื่อผึ่งให้แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าร่วมกับผู้อื่น

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Pitted Keratolysis. https://www.healthline.com/health/pitted-keratolysis [2019, September 17].
  2. Pitted keratolysis. https://www.dermnetnz.org/topics/pitted-keratolysis/ [2019, September 17].
  3. Pitted keratolysis https://en.wikipedia.org/wiki/Pitted_keratolysis [2019, September 17].
  4. .