เชื้อเอชไพโลไรกับมะเร็งกระเพาะอาหาร (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เชื้อเอชไพโลไรกับมะเร็งกระเพาะอาหาร-3

      

สำหรับการวินิจฉัยถึงการติดเชื้อสามารถทำได้ด้วยการ

  • ทดสอบการหายใจ (Breath test / urea breath test) – ด้วยการหายใจใส่ถุง หลังจากนั้นจึงให้กินยาที่มีส่วนประกอบของคาร์บอน หากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นคาร์บอนจะแตกตัวในกระเพาะ ร่างกายจะดูดซึมคาร์บอนและขับออกทางลมหายใจ ซึ่งจะให้ทำการหายใจใส่ถุงอีกครั้งและนำไปตรวจด้วยเครื่องเพื่อหาคาร์บอน

อย่างไรก็ดี ยาลดกรดในกลุ่ม Proton pump inhibitors (PPIs) ยา Bismuth subsalicylate (Pepto-Bismol) และ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) สามารถทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น จึงควรงดยาดังกล่าวล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ก่อนการทดสอบ

  • ตรวจอุจจาระ (Stool test) - เพื่อดูสิ่งแปลกปลอม (Antigens) ที่สัมพันธ์กับเชื้อเอชไพโลไรในอุจจาระ และเนื่องจากการทดสอบการหายใจอาจมีผลกระทบต่อการตรวจอุจจาระ แพทย์อาจให้ทำการทดสอบห่างกัน 2 สัปดาห์
  • การส่องกล้อง (Scope test / endoscopy) – เป็นการส่องกล้องเพื่อนำเอาชิ้นเนื้อตัวอย่างไปตรวจ (biopsy)
  • ตรวจเลือด (Blood test) – เพื่อหาเชื้อ

สำหรับการรักษามักเป็นการให้ยาปฏิชีวนะพร้อมกัน 2 ตัว เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พร้อมยาลดกรด (Acid-suppressing drug) เพื่อช่วยรักษาเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น

  • ยากลุ่ม Proton pump inhibitors (PPIs) เพื่อหยุดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยา Omeprazole ยา Esomeprazole ยา Lansoprazole และ ยา Pantoprazole
  • ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับฮีสตามีนชนิด Histamine (H-2) blockers ซึ่งช่วยหยุดการสร้างกรด เช่น ยา Cimetidine
  • ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth subsalicylate) เป็นยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อที่ทำให้เกิดภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร

อย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังการกินยา แพทย์อาจให้ทำการทดสอบอีกครั้งเพื่อดูว่ายังมีเชื้อเหลืออยู่อีกหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องเริ่มรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ต่อไป

ส่วนการป้องกันการติดเชื้อทำได้ด้วยการ

  • ใช้ช้อนกลางในการกินอาหาร
  • ล้างมือให้สะอาด
  • กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
  • ดื่มน้ำจากแหล่งที่ปลอดภัย

แหล่งข้อมูล:

  1. Helicobacter pylori (H. pylori) infection. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/h-pylori/symptoms-causes/syc-20356171 [2020, January 13].
  2. Helicobacter Pylori (H. Pylori) Tests. https://medlineplus.gov/lab-tests/helicobacter-pylori-h-pylori-tests / [2020, January 13].
  3. .
  4. H. pylori Infection. https://www.healthline.com/health/helicobacter-pylori#treatment [2020, January 13].
  5. Helicobacter pylori. https://kidshealth.org/en/parents/h-pylori.html [2020, January 13].