เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 8 – ทฤษฎีเชื้อก่อโรค (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 ธันวาคม 2564
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 8 – ทฤษฎีเชื้อก่อโรค (4)
รูดอลฟ์ เวร์โคว์ (Rudolf Virchow) เป็นแพทย์, นักมานุษยวิทยา (Anthropologist), นักพยาธิวิทยา (Pathologist), ผู้เชี่ยวชาญยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historian), นักชีววิทยา (Biologist), นักการเมือง, บรรณาธิการ (Editor), และนักเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific) ที่มีผลงานมากมาย (Prolific) กล่าวคือมากกว่า 2,000 ชิ้น
เขาอธิบายวงจรชีวิตของพยาธิตัวกลม (Roundworm) ที่ทรงอิทธิพลต่อการตรวจเนื้อสัตว์ (Meat inspection) เขายังเป็นคนแรกที่พัฒนาวิธีอย่างเป็นระบบ (Systematic) ของการชันสูตรศพ (Autopsy) และนำเสนอการวิเคราะห์เส้นผมในการสืบสวนเชิงนิติเวชศาสตร์ (Forensic investigation)
นอกจาก เป็น “บิดาแห่งพยาธิสมัยใหม่” (Father of modern pathology) เขายังได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ค้นพบการแพทย์สังคม” (Founder of social medicine) เขาเป็นผู้วางรากฐานให้ระบบสาธารณสุขในประเทศเยอรมัน โดยกล่าวว่า “การแพทย์เป็นสังคมศาสตร์” (Medicine is a social science)
เขาไม่เชื่อในทฤษฎีเชื้อก่อโรคของ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Luis Pasteur) แต่เห็นด้วยกับ เคล้าด์ เบอร์นาร์ด (Claude Bernard) ว่า โรคเกิดจากกิจกรรมผิดปรกติภายในเซลล์ มิได้เกิดจากเชื้อ (Pagthogen) ภายนอก และเชื่อว่า ทฤษฎีเชื้อก่อโรค (Theory of germ) เป็นอุปสรรค (Hindrance) ต่อการป้องกันและรักษาโรค
เราอาจ พูดอย่างแดกดัน (Ironically) และอย่างน่าเศร้า (Tragically) ว่า หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้กลับคำ (Recant) ณ เวลาใกล้ตาย (Death-bed) พร้อมสารภาพ (Confess) ความเชื่อของเขาว่า “[เคล้าด์] เบอร์นาดร์ดพูดถูก จุลชีพ (Microbe) ไม่ใช่สาเหตุ แต่สภาพแวดล้อมหรืออาณาบริเวณ (Terrain) ต่างหากที่เป็นสาเหตุ”
ข้อความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในบันทึกพื้นฐานที่ไม่จริง (False foundation) ของแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern medicine) แต่โชคไม่ดี (Unfortunately) เลยที่การยอมรับ (Admission) ครั้งนั้น ไม่ได้รับความสนใจ (Deaf ears) และการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ (ซึ่งควรจะเกิดขึ้น) นี้ ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
ผู้ให้กำเนิด (Creator) ทฤษฎีเชื้อก่อโรค ได้เปลี่ยนความเชื่อถือในที่สุด (Ultimate belief) ว่า สุขภาพของร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการหลีกเลี่ยงโรค
ยาที่อ้างว่า สามารถทำลาย สิ่งมีชีวิต (Organism) “ที่ก่อโรค” ได้ แท้จริงก็คือ การใช้ยารักษาอาการ มากกว่าแก้ปัญหารากเหง้า
เหตุผลหนึ่งที่ผู้คนต่อต้าน (Resist) การเข้าใจผิด (Fallacy) ในทฤษฎีเชื้อก่อโรค ก็คือ มันไม่ง่ายกว่าหรือที่จะอ้างว่า เชื้อเป็นตัวก่อโรค แทนที่เราจะต้องรับผิดชอบต่อการรักษาสุขภาพของตนเอง แม้สาเหตุที่แท้จริงคือการล่วงละเมิด (Transgression) กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ (Laws of health) ของเราเอง แต่เรากลับไปกล่าวโทษ เชื้อที่รุกรานร่างกายของเรา
ทฤษฎีเชื้อก่อโรค โยกย้าย (Shift) “แอก” ความรับผิดชอบส่วนตัว (อย่างได้ประสิทธิผล) ต่อสุขภาพและสุขสมบูรณ์ (Well-being) ไปยังบ่า (Shoulder) ของวิชาชีพการแพทย์ (Medical profession) ซึ่งควรจะ (Supposedly) รู้วิธีฆ่าเชื้อผู้รุกราน (Offending)
มันยังหมายความต่อไปว่า ใครก็ตามที่ป่วย เป็นเหยื่อ (Victim) ของโรค กล่าวคือ เราถูกจุลชีพชนิดเลวโจมตีเอา (Attack) และสุขภาพของเราหลุด (Slip) ไปจากการควบคุมของเราเอง
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Germ theory of disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Germ_theory_of_disease [2021, November 23].
- Rudolf Virchow - https://en.wikipedia.org/wiki/Rudolf_Virchow [2021, November 23].