เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 57 – สภาวะด่าง (2)

เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 57 – สภาวะด่าง (2)

เซลล์หลอดเลือดแดง (Red blood) ของเรา มีประจุไฟฟ้า (Electrical charge) ของตนเองที่ทำให้มันสามารถเดินทาง (Travel) ผ่านร่างกายได้อย่างอิสระ ศูนย์กลางเซลล์หลอดเลือดแดงมีประจุไฟฟ้าบวก (Positive) ส่วนภายนอกของเซลล์หลอดเลือดแดงมีประจุไฟฟ้าลบ (Negative)

ประจุไฟฟ้าลบ 2 หน่วยที่อยู่ภายนอกของเซลล์หลอดเลือดแดงจะขับไล่ (Repel) ซึ่งกันและกัน ทำให้มันสามารถนำออกซิเจน (Oxygen) ไปยังส่วนที่เหลือของร่างกาย อันเป็นหน้าที่ของเซลล์หลอดเลือดแดงอยู่แล้ว และเพื่อให้มันสามารถเดินทางผ่านเส้นเลือดฝอย (Capillary) ที่นำไปสู่อวัยวะสำคัญในร่างกายของเรา

ประจุไฟฟ้าลบ ทำให้เซลล์ของเราอยู่ในสภาพที่แยกออกจากกัน เพื่อให้มันสามารถผ่านเส้นเลือดฝอยได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย

สาเหตุที่ซ่อนเร้น (Hidden) ของการเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งปวงอยู่ที่กรด (Acid)

เมื่อความสมดุลของ pH ในหลอดเลือดของเรา เริ่มเปลี่ยนไปในลักษณะที่หลุดไปจากความสมดุล ทำให้มีกรดมากขึ้น ระดับกรดเลือดทำตัวเหมือน (Literally) ปอกลอก (Strip) ประจุไฟฟ้าลบออกจากเซลล์หลอดเลือดของเรา ส่งผลให้เซลล์ยึดติด (Stick), ชน (Bump), และกระจุก (Clump) เข้าหากัน

สภาวะดังกล่าว ทำให้การไหลผ่านเส้นเลือดฝอยเป็นไปอย่างยากขึ้น ส่งผลให้เกิดสภาวะที่เราทั้งหลายคุ้นเคย นั่นคือการไหลเวียนของโลหิตติดขัด (Poor blood circulation) และเลือดจับตัวเป็นก้อน (Clot) อย่างน่ากลัว (Dread)

การไหลเวียนของโลหิตติดขัด หมายความว่า มีออกซิเจนน้อยลง ณ จุดที่เรารู้สึกอ่อนล้า (Fatigue) ตลอดเวลา ระดับพลังงานของเราก็จะตกลงต่ำมาก (Super low) และความน่าจะเป็น (Probability) ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะสูงมาก (Super high)

ไม่เพียงแต่การมีกรดมากเกินไป (Excessive) จะส่งผลให้เกิดการกระจุกตัวของเซลล์หลอดเลือด แต่มันยังทำให้เซลล์หลอดเลือดอ่อนแอลง จนเป็นสาเหตุของการตาย แล้วเกิดอะไรขึ้น เมื่อเซลล์หลอดเลือดตาย? คำตอบคือมันจะปลดปล่อย (Release) กรดเข้าไปในระบบร่างกายมากขึ้น

ณ อัตรานี้ เราจะเริ่มสะสม (Compound) กรดเข้าไปในกระแสโลหิต (Blood stream) เนื่องจากมีเซลล์หลอดเลือดมากขึ้นที่เริ่มตายอันเกิดจากการขาดออกซิเจน และระดับกรดที่เพิ่มขึ้นในเลือดของเรา

สภาพแวดล้อมในหลอดเลือดของเรา ทำให้เชื้อ (Germ) สามารถเติบโตได้ง่ายขึ้น จนทวีจำนวน (Multiply) ในร่างกายของเรา กล่าวคือ เรากำลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นขยะ (Trash) ในกระแสโลหิตของเราเอง!

แล้วร่างกายของเรามีปฏิกิริยา (Reaction) ต่อกรดอย่างไร?

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Alkalinity - https://en.wikipedia.org/wiki/Alkalinity [2022, November 29].
  3. Electric charge - https://en.wikipedia.org/wiki/Electric_charge [2022, November 29].