เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 47 – บำรุงร่างกาย (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 กันยายน 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – บำรุงร่างกาย (2)
เมื่อกรด (Acid) กับด่าง (Alkaline) มาบรรจบ (Contact) มันจะทำให้ทั้งสองเป็นกลาง และหน่วงเนี่ยว (Retard) การย่อยอาหาร (Digestion)
เมื่อบริโภคแป้งและโปรตีนพร้อมกัน กระบวนการ (Process) ย่อยอาหารที่ลดคุณภาพลง (Compromise) สถานการณ์เช่นนี้นำไปสู่อาหารไม่ย่อย (Indigestion), ท้องอืด (Bloating), มีแก๊ส (Gas), และการดูดซึม (Absorption) ที่ไร้ประสิทธิภาพของสารทรงคุณค่าโภชนาการ (Nutrient)
ต่อไปนี้เป็นหลักการ (Principle) สำคัญที่จะช่วยการย่อยอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient)
- บริโภคผลไม้เมื่อท้องว่าง เนื่องจากผลไม้ไม่ถูกย่อยในท้อง มันจะผ่าน [หลอดอาหาร] ไปอย่างรวดเร็ว และถูกย่อยในลำไส้เล็ก (Intestine) ถ้าบริโภคหลังอาหาร มันจะถูกหมักหมม จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน (Stomach upset) และเป็นสาเหตุให้การย่อยอาหารไม่ได้ประสิทธิผล (Effective) นั่นเป็นเหตุผลที่บางคนบ่นว่า “ไม่ถูกชะตากับผลไม้”!
- บริโภคช้าๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด น้ำลายประกอบด้วยเอนไซม์ (Enzyme = โปรตีนที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีของร่างกาย) ซึ่งจะผสม (Mix) กับอาหารของเรา อันเป็นขั้นตอนสำคัญอันดับแรกในการย่อยอาหาร เพื่อนำไปสู่สุขภาพสมบูรณ์ (Optimum health)!
- อย่าบริโภคอาหารขณะที่มีความเครียด (Stress) เพราะมันจะขัดขวาง (Inhibit) การย่อยอาหาร และก่อให้เกิดการหมักหมม (Fermentation) แล้วยังเพิ่มโอกาสการบริโภคมากเกินไป การบริโภคอาหารอย่าง น่ารื่นรมย์อย่างช้าๆ ในกรอบของจิตที่ผ่อนคลาย (Relaxed frame of mind) ร่างกายจะสนองตอบด้วยดี
- อย่าบริโภคอาหารหากไม่หิว
- บริโภคอาหารแต่พออิ่ม กระเพาะของเราได้รับการจัด (Equip) ให้ย่อยอาหารในแต่ละมื้อที่มีปริมาณเท่ากับสองมือประสานรองรับ
- บริโภคอาหารอินทรีย์ (Organic foods) เมื่อเป็นไปได้ แม้จะมีราคาสูงกว่าเล็กน้อยในซุปเปอร์มาร์เก็ต (Super-market) แต่ผลประโยชน์ที่ได้รับเกินกว่า (Out-weigh) ต้นทุนทางการเงิน (Financial cost)
- เมื่อเราดื่มน้ำผลไม้สด ควรให้อยู่ในปาก 2 – 3 นาทีก่อนดื่มลงคอ เพื่อช่วยให้แตกสลายโดยเอนไซม์ในน้ำลาย (Salivary) อันเป็นขั้นตอนสำคัญ (Crucial) ที่นำไปสู่การย่อยอาหารที่สมบูรณ์
- ผสมสลัดผัก ด้วยโปรตีน, คารโบไฮเดรต, หรือไขมัน
- หลีกเลี่ยงน้ำสมสายชู (Vinegar) มันประกอบด้วยกรดอินทรีย์ (Acetic acid) ซึ่งมีผลเสื่อมสลาย (Deteriorating effect) ต่อตับ (Liver) เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ (Alcohol)
หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Protein - https://en.wikipedia.org/wiki/Protein [2022, September 20].
- Carbohydrate - https://en.wikipedia.org/wiki/Carbohydrate [2022, September 20].