เจาะสบายไร้กังวล (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

เจาะสบายไร้กังวล-4

      

ระหว่างการเจาะเลือด

  • หันหน้าไปทางอื่น ไม่ต้องมองเข็มฉีดยา
  • หายใจให้ลึกๆ โดยให้ความสนใจอยู่ที่ลมหายใจเพื่อคลายความกังวลและผ่อนคลายร่างกาย
  • อาจใส่หูฟังเพลงขณะเจาะเพื่อหันเหความวิตกกังวล

ทั้งนี้ การเจาะเลือดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย ดังนี้

  • เลือดออก (Bleeding)
  • จ้ำเขียว (Bruising)
  • เวียนศีรษะ (โดยเฉพาะเวลาหลังการบริจาคเลือด)
  • เป็นผื่นคัน
  • ผิวแพ้เทปหรือพลาสเตอร์ปิดแผล
  • ปวด

อนึ่ง รอยช้ำหรือจ้ำเขียว (Bruising) เกิดจากการที่หลอดเลือดถูกทำลายชั่วคราวอันเนื่องมาจากการทิ่มเข็มเข้าใต้ผิวหนัง บางรายอาจมีอาการจ้ำเขียวได้ง่ายกว่าคนอื่น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก

  • มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินและตับถูกทำลาย
  • ใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet agents) ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด (Anticoagulants) ยาเอ็นเสด (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs = NSAIDS) เช่น ยา Ibuprofen
  • ขาดวิตามินซี
  • ขาดวิตามินเค
  • มีภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุดหรือโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) และ โรคเลือดออกง่ายหรือโรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand’s disease)

หลังการเจาะเลือด

  • ปิดพลาสเตอร์ไว้ 4-6 ชั่วโมงหลังการเจาะ ยกเว้นกรณีที่ระคายเคือง
  • กินอาหารหรือของว่างที่เพิ่มพลัง เช่น แซนวิส ถั่ว
  • กินอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว เพื่อชดเชยธาตุเหล็กในการสร้างเลือดใหม่
  • กรณีที่มีอาการปวด ฟกช้ำ ที่บริเวณเจาะ ให้ทำการประคบเย็น

แหล่งข้อมูล:

  1. How Is Blood Drawn? What to Expect. https://www.healthline.com/health/how-blood-is-drawn[2020, September 7].
  2. How To Draw Blood Like A Pro: Step-By-Step Guide. https://nurse.org/articles/how-nurses-professionally-draw-blood/ [2020, September 7].
  3. Bruising after a blood draw: What to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/327464#why-might-bruising-occur-after-a-blood-draw [2020, September 7].