เจมไฟโบรซิล (Gemfibrozil)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 29 ธันวาคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาเจมไฟโบรซิลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาเจมไฟโบรซิลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาเจมไฟโบรซิลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาเจมไฟโบรซิลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาเจมไฟโบรซิลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาเจมไฟโบรซิลอย่างไร?
- ยาเจมไฟโบรซิลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาเจมไฟโบรซิลอย่างไร?
- ยาเจมไฟโบรซิลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน (Obesity and overweight)
- ยาลดไขมัน (Lipid-lowering drugs)
- กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)
- โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart disease หรือ Cardiovascular disease)
ทั่วไป
ยาเจมไฟโบรซิล (Gemfibrozil) ถูกนำมาใช้รักษาโรคไขมันในเลือดสูง มีความสามารถลดไขมันในเลือดชนิดต่างๆที่เป็นไขมันไม่ดี เช่น Triglyceride, Very low density lipopro tein (VLDL), Low density lipoprotein/LDL), และเพิ่มไขมันชนิดดี High density lipopro tein (HDL)
จากการศึกษาด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic: ความเป็นไปของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย)ของยาตัวนี้พบว่า เมื่อยาเจมไฟโบรซิลเข้าสู่กระแสเลือด 95%ของยาจะจับกับโปร ตีนในเลือด และถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างเคมีที่ตับ ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมงในการกำจัดยาออกจากกระแสเลือด 50% โดยผ่านไปกับน้ำปัสสาวะ
ยาเจมไฟโบรซิล ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และสามารถพบเห็นการใช้ยาตัวนี้ภายในสถานพยาบาลทั่วไป ก่อนการสั่งจ่ายยา ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือดก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้วิเคราะห์และปรับขนาดรับประทานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อคน ไข้
ยาเจมไฟโบรซิลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาเจมไฟโบรซิลมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- รักษาภาวะ/โรคไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidacmias)
- ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยมีน้ำหนักตัวเกิน/โรคอ้วน และมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ
ยาเจมไฟโบรซิลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาเจมไฟโบรซิลมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการไลโปไลซิส (Lipolysis: ขบวนการสลายไขมันที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง) และยับยั้งการสะสมไขมันในตับ นอกจากนี้ ยังยับยั้งการหลั่งไขมัน VLDL จากตับอีกด้วย ด้วยกลไกที่กล่าวมาทำให้ยานี้ ลดปริมาณไขมันในเลือดได้
ยาเจมไฟโบรซิลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาเจมไฟโบรซิลมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- รูปแบบยาเม็ด ขนาดความแรง 450, 600, และ 900 มิลลิกรัม/เม็ด
- รูปแบบยาแคปซูล ขนาดความแรง 300 มิลลิกรัม/แคปซูล
ยาเจมไฟโบรซิลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาเจมไฟโบรซิลมีขนาดรับประทาน เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ เช้า - เย็น ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 1.5 กรัม/วัน
- เด็ก (นิยามคำว่าเด็ก): การใช้ยานี้ในเด็ก มีข้อจำกัดการใช้มาก การใช้ยานี้ในเด็กจึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เป็นรายๆไป
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเจมไฟโบรซิล ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาเจมไฟโบรซิล อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆและ/หรือกับอาหารเสริมที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาเจมไฟโบรซิล สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาเจมไฟโบรซิลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาเจมไฟโบรซิลสามารถก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- รู้สึกไม่สบายในกระเพาะอาหาร
- ปวดท้อง
- วิงเวียน
- ง่วงนอน
- ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
- ความ รู้สึกทางเพศลดลง
- มีกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- *นอกจากนี้ ยังสามารถพบอาการข้างเคียงในระดับที่รุนแรง ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงฯเช่นนี้ ควรต้องรีบไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยทันที อาการข้างเคียงที่รุนแรงดังกล่าว เช่น
- ปวดเสียดที่กระเพาะอาหาร
- ตัวเหลืองตาเหลือง
- การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- ปวดแสบขณะถ่ายปัสสาวะ
- อาการกล้ามเนื้อลายสลาย เช่น ปวดกล้ามเนื้อพร้อมมีอาการตึงของกล้ามเนื้อ มีไข้ ปัสสาวะมีสีคล้ำ ใจสั่นหรือ หัวใจเต้นระรัว มีจุดแดงขึ้นตามร่างกาย
มีข้อควรระวังการใช้ยาเจมไฟโบรซิลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาเจมไฟโบรซิล เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ทำงานผิดปกติขั้นรุนแรง
- การใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ต้องคอยควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้ต่ำกว่า เกณฑ์ปกติ อีกทั้งต้องคอยตรวจสอบการทำงานของตับว่าผิดปกติหรือไม่ ตามคำแนะนำของแพทย์
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระหว่างการใช้ยาเจมไฟโบรซิล ควรต้องตรวจสอบระบบเลือดตามคำแนะนำของแพทย์ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ภาวะโลหิตจาง
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเจมไฟโบรซิลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพร ต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาเจมไฟโบรซิลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาเจมไฟโบรซิลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาเจมไฟโบรซิล ร่วมกับยาลดไขมันบางตัว เช่นยา Simvastatin สามารถก่อให้ เกิดพยาธิสภาพทางกล้ามเนื้อหรือเกิดสภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย จึงห้ามใช้ยาทั้งคู่ร่วมกัน
- การใช้ยาเจมไฟโบรซิล ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา Warfarin สามารถก่อให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ แพทย์จะเป็นผู้ปรับลดขนาดของยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- การใช้ยาเจมไฟโบรซิลร่วมกับยารักษาโรคเกาต์ เช่นยา Colchicine อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อไปจนถึงขั้นกล้ามเนื้อลายสลาย การใช้ยาทั้ง 2 ตัวนี้ร่วมกันจึงควรต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากเกิดอาการผิดปกติอย่างไร ต้องรีบปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
- การใช้ยาเจมไฟโบรซิล ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานชนิด 2 เช่นยา Repaglinide สามารถก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง จึงห้ามใช้ยาทั้งคู่ร่วมกัน
ควรเก็บรักษายาเจมไฟโบรซิลอย่างไร?
ควรเก็บยาเจมไฟโบรซิล เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 20 - 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยาให้พ้นแสง/ แสงแดด และความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาเจมไฟโบรซิลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาเจมไฟโบรซิล มียาชื่อการค้า และบรืษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Bisil (บิซิล) | Sriprasit Pharma |
Delipid (เดลิปิด) | T.Man Pharma |
Dropid (ดรอปิด) | Medicine Products |
Fibropid 300 (ไฟโบรปิด 300) | V S Pharma |
G.F.B.-600 (จี.เอฟ.บี.-600) | Umeda |
Gembropac (เจมโบรแพค) | Inpac Pharma |
Gemfibril (เจมไฟบริล) | Siam Bheasach |
Gemox (เจม็อกซ์) | R.X. |
Gozid (โกซิด) | General Drugs House |
Hidil (ไฮดิล) | Berlin Pharm |
Lespid (เลสปิด) | Charoon Bhesaj |
Lipicap (ลิปิแคป) | Vesco Pharma |
Lipison (ลิปิซัน) | Unison |
Lipolo (ลิโปโล) | MacroPhar |
Locholes (โลโคลส์) | T.O. Chemicals |
Lodil (โลดิล) | Pharmahof |
Lopicare (โลปิแคร์) | Siam Medicare |
Lopid/Lopid OD (โลปิด/โลปิด โอดี) | Pfizer |
Lopol (โลปอล) | Suphong Bhaesaj |
Manobrozil (มาโนโบรซิล) | March Pharma |
Milpid (มิลปิด) | Millimed |
Norpid (นอร์ปิด) | Greater Pharma |
Poli-Fibrozil (โพลี-ไฟโบรซิล) | Polipharm |
Polyxit (โพลีซิท) | Pharmasant Lab |
Ronox (โรน็อกซ์) | Charoen Bhaesaj Lab |
Tolip (โทลิพ) | Utopian |
U-Pid (ยู-ปิด) | Patar Lab |
บรรณานุกรม
1 http://en.wikipedia.org/wiki/Gemfibrozil [2020,Dec26]
2 http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=gemfibrozil&page=0 [2020,Dec26]
3 http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fthailand%2fdrug%2finfo%2fgemfibrozil%3fmtype%3dgeneric [2020,Dec26]
4 http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fThailand%2fdrug%2finfo%2flopid-lopid%2520od%2f%3ftype%3dbrief [2020,Dec26]
5 http://www.rxlist.com/lopid-drug/patient-images-side-effects.htm [2020,Dec26]