เครียดซะจน... (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 21 กรกฎาคม 2562
- Tweet
สำหรับอาการของความเครียด แยกออกได้เป็น
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ (Emotional changes) เช่น วิตกกังวล กลัว โกรธ เศร้าหดหู่ หรือคับข้องใจ
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม (Behavioural changes) เช่น การแยกตัวออกจากสังคม (Withdrawn) ไม่กล้าตัดสินใจ (Indecisive) ไม่ปรับตัว (Inflexible) นอนไม่หลับ ขี้หงุดหงิด หลงลืม กินเก่งหรือกินไม่ลง ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย (Bodily changes) เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย หรือท้องผูก กรดไหลย้อน มีปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ อ่อนเพลียไม่มีแรง ฝ่ามือเย็นและมีเหงื่อชุ่ม เจ็บหน้าอก
ทั้งนี้ เราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการ
1. หาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ร่างกายและจิตใจเครียด สังเกตดูสัญญาณของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อตึง รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือ เป็นไมเกรน
2. สำรวจดูวิถีการใช้ชีวิต เราอาจต้องอาศัยการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ตัองทำ เพราะเราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างในเวลาเดียวกัน
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น เป็นสมาชิกชมรม เข้าคอร์ส หรือเป็นอาสาสมัคร เพื่อทำบางอย่างที่แตกต่าง อย่างการเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นสามารถเป็นผลดีต่ออารมณ์
4. กินอาหารที่มีประโยชน์ ให้สารอาหารที่ครบถ้วน รวมถึงวิตามิน เกลือแร่ และน้ำ
5. เลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ที่ดูเหมือนจะช่วยลดความตึงเครียด แต่จริงๆ แล้วอาจทำให้ปัญหาแย่ลงไปอีก
6. ออกกำลังกาย ให้ร่างกายได้หลั่งสารเอนโดฟีน เช่น เดิน 15-20 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
7. นอนให้หลับ พยายามลดสิ่งที่ขัดขวางการนอนหลับ เช่น ดื่มคาเฟอีน การดูหน้าจอก่อนนอน เขียนแผนรายการที่ต้องทำ
8. อย่ากดดันตัวเอง พยายามมองด้านบวกของตัวเอง
9. ยอมรับในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้
10. ทำงานอดิเรกหรืองานที่ตัวเองสนใจ
แหล่งข้อมูล:
- Stress. https://www.mentalhealth.org.uk/a-to-z/s/stress [2019, July 20].
- Stress and your health. https://medlineplus.gov/ency/article/003211.htm [2019, July 20].
- Stress. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/11874-stress [2019, July 20].
- Stress symptoms: Effects on your body and behavior. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-symptoms/art-20050987 [2019, July 20].