เครียดซะจน... (ตอนที่ 1)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 19 กรกฎาคม 2562
- Tweet
ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดมีหลายอย่าง เช่น รายได้ที่ไม่พอเพียง หนี้สิน ภัยพิบัติต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ความเจ็บป่วย เป็นต้น ความเครียดมีทั้งประโยชน์และโทษ หากมากเกินไปจะเกิดผลเสียต่อร่างกายและจิตใจได้
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกแบบประเมินความเครียด (ST5) มาให้ลองประเมินตนเองโดยให้คะแนน 0-3 ที่ตรงกับความรู้สึกดังนี้
- คะแนน 0 หมายถึง แทบไม่มี
- คะแนน 1 หมายถึง เป็นบางครั้ง
- คะแนน 2 หมายถึง บ่อยครั้ง
- คะแนน 3 หมายถึง เป็นประจำ
โดยมีคำถามสั้นๆ 5 ข้อ คือ
1. มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับหรือนอนมาก
2. มีสมาธิน้อยลง
3. หงุดหงิด/กระวนกระวาย/ว้าวุ่นใจ
4. รู้สึกเบื่อ เซ็ง
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
ทั้งนี้สามารถแปลผลได้โดยรวมคะแนนทั้งหมด กล่าวคือ
คะแนน 0-4 เครียดน้อย
คะแนน 5-7 เครียดปานกลาง
คะแนน 8-9 เครียดมาก
คะแนน 10-15 เครียดมากที่สุด
ความเครียด (Stress) เป็นปฏิกริยาที่ร่างกายสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราสามารถมีความเครียดได้จากสภาพแวดล้อม ร่างกาย และความคิด
แหล่งข้อมูล:
- แบบประเมินความเครียด (ST5). https://www.dmh.go.th/test/qtest5/ [2019, July 18].
- Stress. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/11874-stress [2019, July 18].