ฮอโมซีสเตอีน (Homocystoine)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฮอโมซีสเตอีน

ฮอโมซีสเตอีน หรือ โฮโมซีสเตอีน(Homocystoine)เป็นสารที่ได้จาก Methionine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นชนิดหนึ่งของร่างกาย ฮอโมซีสเตอีนสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น Methionine ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างหลอดเลือดใหม่(Angiogenesis)ที่รวมถึงคงความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด และฮอโมซีสเตอีนยังเปลี่ยนไปเป็นกรดอะมิโนอีกตัวที่ชื่อ Cysteine (สารช่วยสร้าง Collagen) ที่ร่างกายสร้างได้จาก Methionine เช่นกัน

ทางคลินิก เมื่อมีฮอโมซีสเตอีนสูงในเลือด(Hyperhomocysteinemia) จะช่วยบ่งชี้ได้ว่า อาจจากมีโรคของหลอดเลือดแดง เช่น โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้น ภาวะฮอโมซีสเตอีนสูงในเลือด อาจส่งเสริมให้ มีลิ่มเลือดเกิดได้ง่ายในหลอดเลือด และยังพบได้ในโรคทางจิตเวช(เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า) อาจเสริมให้เกิดภาวะมีโปรตีนในปัสสาวะที่จะนำไปสู่ โรคไต และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต และยังพบฮอโมซีสเตอีนสูงในเลือดในโรคซีดจากการขาดวิตามินบี9 (โฟเลต/กรดโฟลิก)

อนึ่ง การตรวจหาค่าฮอโมซีสเตอีนในเลือด หรือในปัสสาวะ ไม่ใช่การตรวจมาตรฐาน/การตรวจสุขภาพทั่วไป จะตรวจได้เฉพาะบางโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และเป็นการตรวจที่สั่งตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคที่ซับซ้อน

อนึ่ง:

  • ค่าปกติของ ฮอโมซีสเตอีนในเลือด ขึ้นกับ อายุ และเพศ คือ
    • อายุ 0-30 ปี: ทั้งผู้ชายและผู้หญิง คือ 4.6-8.1 µmol/L(ไมโครโมล/ลิตร)
    • อายุ มากกว่า30-59ปี: ผู้ชาย คือ 6.3-11.2 µmol/L; ผู้หญิงคือ 4-5-7.9 µmol/L
    • อายุมากกว่า 59 ปี: ทั้งผู้ชายและผู้หญิง คือ 5.8-11.9 µmol/L
  • ค่าปกติของฮอโมซีสเตอีนในปัสสาวะ ตรวจจากการเก็บปัสสาวะ24 ชั่วโมง คือ 0-9 µmol/g creatinine (ไมโครโมล/กรัม ครีอะตีนีน)
  • เมไธโอนีน(Methionine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่ร่างกายใช้ในกระบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์ต่างในร่างกาย การสร้างสารโปรตีนต่างๆ และรวมถึงในการสร้างหลอดเลือดใหม่ ร่างกายได้รับเมไธโอนีนจากอาหาร ซึ่งอาหารที่มีเมไธโอนีนสูง เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ เต้าหู้ ถั่วเหลือง ถั่วที่มีสีเขียว กระเทียม บรอคโคลิ หน่อไม้ฝรั่ง

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Homocysteine [2018,June16]
  2. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=167&ContentID=homocysteine [2018,June16]
  3. https://emedicine.medscape.com/article/2085682-overview#showall [2018,June16]
  4. https://www.livestrong.com/article/443362-natural-sources-of-methionine/ [2018,June16]
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Methionine [2018,June16]