อ้วนลงพุง (ตอนที่ 2 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 15 สิงหาคม 2563
- Tweet
ในการวินิจฉัยว่ามีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม นั้น The National Institutes of Health ของสหรัฐอเมริกาได้ตั้งเกณฑ์ว่าจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 3 ข้อ ขึ้นไป ซึ่งได้แก่
- การมีเอวใหญ่ – ในผู้หญิงตั้งแต่ 35 นิ้ว (89 ซม.) และในผู้ชายตั้งแต่ 40 นิ้ว (102 ซม.)
- มีระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูง – 150 mg/dL หรือ 1.7 mmol/L
- คลอเรสเตอรอลตัวดี (HDL cholesterol) - มีระดับต่ำกว่า 50 mg/dL (1.3 mmol/L) ในผู้หญิง หรือ ต่ำกว่า 40 mg/dL (1.04 mmol/L) ในผู้ชาย
- ความดันโลหิตสูง - 130/85 mm Hg ขึ้นไป
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Elevated fasting blood sugar) - 100 mg/dL (5.6 mmol/L) ขึ้นไป
สำหรับการรักษาทำได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การกินอาหาร การออกกำลังกาย ซึ่งหากยังไม่พอ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับคลอเรสเตอรอล และ ระดับน้ำตาลในเลือด
ทั้งนี้ การป้องกันการเกิดภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ทำได้โดย
- กินผักผลไม้และธัญพืช
- จำกัดการกินไขมันอิ่มตัวและเกลือ
- รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี
- ไม่สูบบุหรี่
ส่วนการดูแลตัวเองทำได้ด้วยการ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน
- ลดน้ำหนัก โดยการลดน้ำหนักตัวได้ 7-10% จะสามารถลดภาวะดื้อต่ออินซูลินและระดับความดันโลหิต และลดโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานได้
- กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักผลไม้ ธัญพืชที่มีใยสูง โปรตีนแบบลีน (Lean protein)
- จำกัดเครื่องดื่มที่หวาน มีแอลกอฮอล์
- งดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
- ไม่สูบบุหรี่
- ลดความเครียด
แหล่งข้อมูล:
- Metabolic syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/metabolic-syndrome/symptoms-causes/syc-20351916 [2020, August 13].
- About Metabolic Syndrome. https://www.heart.org/en/health-topics/metabolic-syndrome/about-metabolic-syndrome [2020, August 13].
- Metabolic Syndrome. https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/metabolic-syndrome [2020, August 13].