อีโคไลจู้ดๆ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

อีโคไลจู้ดๆ-3

      

      ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ (ต่อ)

• อาหารบางชนิด – โดยอาหารที่ปรุงไม่สุก นมที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อ หรือเนยที่ทำจากนมดิบ มีความเสี่ยงที่มากขึ้น

• มีระดับความเป็นกรดในท้องลดลง – เช่น การกินยาลดกรดอย่าง ยา Esomeprazole ยา Pantoprazole ยา Lansoprazole และ ยา Omeprazole จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น

      ปัจจุบัน นักวิจัยกำลังศึกษาหาทางผลิตวัคซีนหรือยาที่สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้ออยู่ ดังนั้น ทางป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ

• การป้องกันด้วยการระวังอาหารน้ำที่มีความเสี่ยง เช่น

• กินเนื้อที่ปรุงสุก

• ดื่มนมพาสเจอร์ไรส์

• ล้างของสดให้สะอาด

• การป้องกันการติดเชื้อระหว่างกัน

• ล้างอุปกรณ์ภาชนะ ถ้วย จาน ชาม เขียง มีด ฯลฯ ให้สะอาด

• แยกเก็บอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ตลอดจนแยกระหว่างเขียงเนื้อ เขียงผลไม้

• ล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหารหรือกินอาหาร และหลังการเข้าห้องน้ำ หรือหลังการสัมผัสกับสัตว์

• หลีกเลี่ยงการกลืนน้ำในสระหรือแหล่งน้ำอื่นๆ ขณะว่ายน้ำ

      ทั้งนี้ แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจอุจจาระ หรือเพาะเชื้อ

      ส่วนการรักษานั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรง มีเพียงการบรรเทาอาการหรือการป้องกันอาการแทรกซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่

• การนอนพัก

• การให้สารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและอาการอ่อนเพลีย

      นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ท้องเสีย เพราะยานี้จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถขจัดของเสียออกไปได้ และไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น

      ส่วนเทคนิคในการป้องกันตนเองจากภาวะขาดน้ำและลดอาการที่เป็น ได้แก่

• ดื่มน้ำให้มาก

• กินอาหารอ่อนๆ เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น

• หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดก่อน เช่น ผลิตภัณฑ์นม อาหารมัน อาหารที่มีไฟเบอร์สูง หรืออาหารปรุงรสจัด

      

แหล่งข้อมูล:

  1. E. coli. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/e-coli/symptoms-causes/syc-20372058 [2019, April 4].
  2. What is E. Coli? https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/what-is-e-coli#1 [2019, April 4].