อีวิงซาร์โคม่า (ตอนที่ 2)

อีวิงซาร์โคม่า-2

      

โรคมะเร็งอีวิงซาโคม่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

  • Localized Ewing’s sarcoma - มะเร็งยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ซึ่งจากงานวิจัยในปี พ.ศ.2547 พบว่า หลังการรักษามีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี (5-year survival rate) อยู่ที่ร้อยละ 89 และ อัตราการรอดชีวิต 8 ปี (8-year survival rate) อยู่ที่ร้อยละ 82
  • Metastatic Ewing’s sarcoma - มะเร็งได้กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย โดยเฉพาะที่ปอด กระดูก หรือไขกระดูก
  • Recurrent Ewing’s sarcoma - มะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือกลับมาเป็นอีกหลังการรักษาหายแล้ว ซึ่งส่วนที่กลับมาเป็นอีกมักได้แก่บริเวณปอด

โดยการแพร่กระจายของมะเร็งสามารถทำผ่าน 3 ช่องทาง คือ

  • เนื้อเยื่อ (Tissue)
  • ระบบน้ำเหลือง (Lymph system)
  • เลือด (Blood)

ทั้งนี้ งานวิจัยในปี พ.ศ.2553 พบว่า หลังการรักษา Metastatic Ewing’s sarcoma และ Recurrent Ewing’s sarcoma จะมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี (5-year survival rate) อยู่ที่ร้อยละ 70

โรคมะเร็งอีวิงซาโคม่า มักเกิดในเด็กและวัยรุ่น โดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวด บวม หรือกดเจ็บบริเวณที่เป็น
  • ปวดกระดูก
  • เพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำหนักตัวลด
  • เบื่ออาหาร
  • กระดูกหักโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • โลหิตจาง (Anemia)

มีการประมาณว่า ประชากรทุก 1 ล้านคน จะมีคนเป็นโรคมะเร็งอีวิงซาโคม่าอยู่ 1คน อย่างไรก็ดีสำหรับเด็กวัยรุ่นที่อายุ 10-19 ปี ตัวเลขดังกล่าวจะกล่าวจะกลายเป็นทุก 1 ล้านคน จะมีคนเป็นโรคมะเร็งอีวิงซาโคม่าอยู่ 10คน

แหล่งข้อมูล:

  1. Ewing sarcoma. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ewing-sarcoma/symptoms-causes/syc-20351071 [2020, August 7].
  2. What Is Ewing’s Sarcoma ? https://www.healthline.com/health/ewings-sarcoma [2020, August 7].
  3. Ewing Sarcoma Treatment (PDQ®)–Patient Versio. https://www.cancer.gov/types/bone/patient/ewing-treatment-pdq [2020, August 7].