อาหารในโรคไขมันพอกตับ (Diet for fatty liver disease)
- โดย พีระพรรณ โพธิ์ทอง
- 13 มกราคม 2557
- Tweet
- บทนำ
- ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีภาวะไขมันพอกตับ?
- ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อมีไขมันพอกตับ?
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายได้อย่างไร?
- สรุป
- บรรณานุกรม
บทนำ
ภาวะไขมันพอกตับ คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันอยู่ในตับ ซึ่งไขมันส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และอาจมีเพียงแค่ไขมันคั่งอยู่ในเซลล์ตับ หรือมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย ถ้าการอักเสบของตับต่อเนื่องเป็นระยะยาว เนื้อตับก็อาจกลายเป็นพัง ผืดหรือโรคตับแข็งได้ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ไขมันพอกตับ)
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีภาวะไขมันพอกตับ?
การดูแลตนเองเมื่อมีไขมันพอกตับ ทำได้โดย
- ควบคุมอาหาร โดยจำกัดการกินอาหารโดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
- เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ 18.5 - 22.9 กิโล กรัม/ตารางเมตร)
- ลดน้ำหนักลง ถ้ามีน้ำหนักตัวเกิน ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ได้ และลดอยู่ในระดับที่ปลอด ภัย คือ ลดน้ำหนักสัปดาห์ละไม่เกิน 0.5-1 กิโลกรัม การลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้ เกิดตับอักเสบอย่างรุนแรงได้
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูง
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง
- เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยาต่างๆเฉพาะแต่ที่จำเป็น และควรเป็นยาที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันพอกตับให้ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
ทั้งนี้ ในบทความนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะในเรื่อง การดูแลในเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับเท่านั้น
ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อมีไขมันพอกตับ?
เป้าหมายในการคุมอาหารในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับคือ ลดการสะสมของไขมัน และการอักเสบภายในตับ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหรือโรคตับแข็งในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มการนำไขมันที่สะสมอยู่ในตับออกมาใช้ให้ได้ ซึ่งทำได้โดยการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากไตรกลีเซอไรด์เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับ จึงต้องพยายามจำกัดอาหารที่จะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ให้ได้
ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายได้มาจาก
- จากอาหาร
- การกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล แป้ง ขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม รวมทั้งผลไม้ น้ำผลไม้มากเกินไป
- กินไขมันทั้งจากพืชและจากสัตว์ในปริมาณมากเกินไป
ไขมันจากพืช เช่น ไขมันทรานส์ (Trans fatty acid) กะทิ มีไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง น้ำมันพืช ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวสูง (Polyunsaturated fatty acid) จะไม่เป็นของแข็งแม้อยู่ในตู้เย็น -ไขมันจากสัตว์ เช่น เนย นม เนื้อ หมู ไก่ ที่รับประทานเข้าไปโดยตรง จะเป็นไขมันอิ่มตัว(Saturated fatty acid ) ซึ่งจะแข็งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น และยังทำให้มีการเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเลือดได้ช้ากว่าปกติด้วย จึงมักเป็นผลให้มีไขมันในเลือดสูง
- ได้จากการที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เองในร่างกาย
โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงหลังการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆได้แล้ว คนทั่ว ไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50 -150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง พบว่ายังมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง นอกจากจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับแล้ว จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ/หัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ เช่นเดียวกับการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ระ ดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมากๆ อาจทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ และในผู้หญิง ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูง อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย
ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายได้อย่างไร?
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ เกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน และ/หรือได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป
การลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย/ในเลือด ทำได้โดย
1. ลดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล ข้าว-แป้ง ผลไม้ น้ำผลไม้ เพราะอาหารในกลุ่มนี้หากเหลือใช้ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ ทั้งนี้ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ต้องระวังในการกิน ดูได้จากตารางที่ 1
หมวดอาหาร (Food Groups) | ปริมาณ/ส่วน Amount / serving | คาร์โบไฮ เดรต (กรัม) | โปรตีน (กรัม) | ไขมัน (กรัม) | พลังงาน (แคลอรี) |
หมวดน้ำนม
นมไขมันธรรมดา (whole milk) นมพร่องไขมัน (low fat milk) นมขาดมันเนย (skim milk) |
240 มล. 240 มล. 240 มล. |
12 12 12 |
8 8 8 |
8 5 0-3 |
150 120 90 |
หมวดผัก
ประเภท ก ให้พลังงานน้อยมาก รับประทานได้ตามต้องการ ประเภท ข |
50-70 กรัม 50-70 กรัม |
- 5 |
- 2 |
- - |
- 25 |
หมวดผลไม้ | ตามตารางหมวดที่ 3: ผลไม้ | 15 | 60 | ||
หมวดข้าว แป้ง ขนมปัง ธัญพืช | ตามหมวดที่ 4 | 15-18 | 2-3 | 0-1 | 80 |
หมวดเนื้อสัตว์
ประเภท ก (ไม่มีมันเลยเช่นเนื้อปลา) ประเภท ข (ไขมันน้อย) ประเภท ค (ไขมันปานกลาง) ประเภท ง (ไขมันสูง) |
30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม |
- - - - |
7 7 7 7 |
0-1 3 5 8 |
35 55 75 100 |
หมวดไขมัน | 1 ช้อนชา | - | - | 5 | 45 |
*อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยน
-ข้อมูลจาก ”กินอย่างไรเมื่อไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง” วันทนีย์ เกรียงสินยศ.ผศ.ดร. หมอชาวบ้านเล่มที่ 315 กรกฏาคม 2548
อนึ่ง จะเห็นว่า อาหารหมวดที่มีคาร์โบไฮเดรตใกล้เคียงกันคือ หมวดน้ำนม ผลไม้ ข้าว แป้ง ขนมปัง ธัญพืช ดังนั้น จะลดไตรกลีเซอไรด์ จึงต้องลดการกินอาหารกลุ่มต่างๆดังกล่าว ซึ่งต้องพิจารณาเป็น ในแต่ละมื้ออาหาร และในแต่ละวันด้วย (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor. com บทความเรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยน)
ตัวอย่าง อาหารที่กินในแต่ละมื้อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารกลุ่มต่างๆ ดังนี้
มื้อ | รายการอาหาร / ปริมาณ | คาร์โบไฮเดรต (กรัม) | โปรตีน(กรัม) | ไขมัน (กรัม) | พลังงาน (แคลอรี) |
เช้า | ขนมปัง 2 แผ่น | 30 | 6 | 2 | 160 |
ทาแยม3 ช้อนชา | 15 | - | - | 60 | |
ทาเนย ครึ่งก้อนเล็ก | - | - | 5 | 45 | |
ไข่ดาว 2 ฟอง | - | 14 | 10 | 75 | |
ทอดในน้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ | - | - | 15 | 135 | |
น้ำส้มสด 1 แก้ว (ใช้ส้ม 3 ผลคั้น) | 45 | - | - | 180 | |
นมสด 1 กล่อง (ไขมันธรรมดา) | 12 | 8 | 8 | 150 | |
รวม | 102 | 28 | 40 | 805 |
อนึ่ง ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนกินอาหารเพื่อให้ลดคาร์โบไฮเดรตและไขมันลง เช่น
มื้อ | รายการอาหาร / ปริมาณ | คาร์โบไฮเดรต (กรัม) | โปรตีน(กรัม) | ไขมัน (กรัม) | พลังงาน (แคลอรี) |
เช้า | ขนมปัง 1 แผ่น | 15 | 3 | 1 | 80 |
งดทาแยม | - | - | - | - | |
งดทาเนย | - | - | - | - | |
ไข่ 2 ฟองต้ม หรือ ทำไข่ดาวน้ำ | - | 14 | 10 | 75 | |
ส้ม 1 ผล | 15 | - | - | 60 | |
นมสด 1 กล่อง (พร่องไขมัน) | 12 | 8 | 3 | 90 | |
รวม | 42 | 25 | 14 | 305 |
2. งดกินอาหารกลุ่มไขมันสูง เช่น อาหารทอดทั้งหลาย หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น อาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ อาหารแปรรูปที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ หมูตั้ง เป็นต้น
3. เลือกกินไขมันดี มีการศึกษาพบว่า กรดไขมันโอเมกา 3 ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ จึงควรเลือกกินไขมันโอเมกา 3 ไขมันโอเมกา 3 พบมากในปลาทุกชนิด นอกจาก นั้นยังมีในน้ำมันพืชถั่วต่างๆ เป็นต้น
ตารางที่ 2 แสดงปริมาณกรดไขมันในปลาชนิดต่าง ๆ
ชนิดของปลา | ปริมาณ | น้ำหนัก (กรัม) | คอเลสเตอรอล(มิลลิกรัม) | ไขมัน รวม(กรัม) | กรดไขมัน SFA (มิลลิกรัม) | กรดไขมัน MUFA (มิลลิกรัม) | กรดไขมัน PUFA (มิลลิกรัม) | กรดไขมัน EPA (มิลลิกรัม) | กรดไขมัน DHA (มิลลิกรัม) |
ปลาช่อน,เนื้อ | - | 100 | 44 | 4.33 | 1324 | 859 | 1608 | 160 | 710 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 7 | 0.65 | 199 | 129 | 241 | 24 | 106 | |
ปลาช่อน,เนื้อ | - | 100 | 59 | 0.55 | 169 | 100 | 206 | 10 | 51 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 9 | 0.08 | 25 | 15 | 31 | 2 | 8 | |
ปลาดุกด้าน,เนื้อ | - | 100 | 94 | 2.98 | 1019 | 1234 | 604 | 16 | 126 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 13 | 0.42 | 143 | 173 | 84 | 2 | 18 | |
ปลาดุกอุย | - | 100 | 69 | 4.75 | 1740 | 1879 | 923 | 41 | 145 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 10 | 0.66 | 244 | 263 | 129 | 6 | 20 | |
ปลาตะเพียน,เนื้อ | - | 100 | 63 | 3.45 | 1268 | 1013 | 951 | 43 | 128 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 9 | 0.48 | 178 | 142 | 133 | 6 | 18 | |
ปลาม้า | - | 100 | 63 | 3.12 | 1272 | 957 | 597 | 79 | 114 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 9 | 0.47 | 191 | 144 | 90 | 12 | 17 | |
ปลาทับทิม,เนื้อ | - | 100 | 51 | 2.51 | 859 | 903 | 579 | 26 | 134 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 8 | 0.38 | 129 | 135 | 87 | 4 | 20 | |
ปลาคัง, | - | 100 | 67 | 2.2 | 755 | 851 | 422 | 22 | 70 |
เนื้อ | 1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 10 | 0.33 | 113 | 128 | 63 | 3 | 10 |
ปลานิล,เนื้อ | - | 100 | 42 | 0.92 | 286 | 266 | 253 | 12 | 38 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 6 | 0.14 | 43 | 40 | 38 | 2 | 6 | |
ปลาเก๋า,เนื้อ | - | 100 | 38 | 0.34 | 102 | 62 | 133 | 15 | 66 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 5 | 0.05 | 14 | 9 | 19 | 2 | 9 | |
ปลาอินทรีย์ | - | 100 | 53 | 4.05 | 1615 | 864 | 1079 | 153 | 603 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 8 | 0.61 | 242 | 130 | 162 | 23 | 90 | |
ปลาสวาย | - | 100 | 74 | 13.96 | 4254 | 5256 | 3285 | 310 | 1286 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 11 | 2.09 | 638 | 788 | 493 | 46 | 193 | |
ปลากะพงแดง | - | 100 | 57 | 1.61 | 563 | 378 | 553 | 103 | 271 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 8 | 0.24 | 84 | 57 | 83 | 15 | 41 | |
ปลากะพงขาว | - | 100 | 69 | 1.48 | 564 | 400 | 446 | 63 | 238 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 10 | 0.22 | 85 | 60 | 67 | 9 | 36 | |
ปลาจาระเม็ดขาว | - | 100 | 56 | 2.58 | 1174 | 585 | 539 | 71 | 265 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 8 | 0.36 | 164 | 82 | 75 | 10 | 37 | |
ปลาจาระเม็ดดำ | - | 100 | 53 | 3.6 | 1088 | 402 | 1561 | 134 | 906 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 7 | 0.5 | 152 | 56 | 218 | 19 | 127 | |
ปลาซาบะ,เนื้อ | - | 100 | 60 | 16.2 | 2966 | 8306 | 3819 | 866 | 1682 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 9 | 2.43 | 445 | 1246 | 573 | 130 | 252 | |
ปลาทู | - | 100 | 76 | 5.2 | 1695 | 953 | 1978 | 636 | 778 |
1 ช้อนโต๊ะ | 14 | 11 | 0.73 | 237 | 133 | 277 | 89 | 109 | |
ปลาทูน่า | - | 100 | 51 | 0.84 | 345 | 149 | 261 | 26 | 183 |
1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 8 | 0.13 | 52 | 22 | 39 | 4 | 27 | |
ปลาแซลมอน, | - | 100 | 55 | 6.4 | 960 | 2120 | 2500 | 349 | 1215 |
ธรรมชาติ | 1 ช้อนโต๊ะ | 15 | 8 | 0.96 | 144 | 320 | 375 | 52 | 182 |
- SFA (Saturated fatty acid) = กรดไขมันอิ่มตัว จะมีผลเพิ่มคอเลสเตอรอลรวม เพิ่มคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL/Low density lipoprotein )
- MUFA (Monounsaturated fatty acid) = กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (มีไขมันไม่อิ่ม ตัวตำแหน่งเดียว) เป็นไขมันดีมาก ช่วยลดคอเลสเตอรอลรวม ลดคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) และอาจเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL/High density lipoprotein)
- PUFA (Polysaturated fatty acid) = กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) เป็นไขมันดี ช่วยลดคอเลสเตอรอลรวม ลดคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) และอาจลดคอเลสเตอรอลดี (HDL)ด้วย
- EPA (Eicosapentaenoic acid) =กรดไขมันอิ่มตัวหลายตำแหน่ง ช่วยหลอดเลือดขยาย ตัว ช่วยให้เลือดไม่เกาะกันเป็นก้อน ลดการเกิดลิ่มเลือด และทำให้เลือดไม่แข็งตัวง่าย จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- DHA (Docosahexaenoic acid) = เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ช่วยบำรุงสมองและสายตา ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
แหล่งที่มา ; “คอเลสเตอรอลและกรดไขมันในอาหารไทย” กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2547.
อนึ่ง จากตารางควรเลือกกินปลาที่มีไขมันโอเมกา 3 (EPA + DHA) และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงด้วยซึ่งได้แก่ปลาสวาย ปลาทู ปลาซาบะ แต่ก็อาจได้รับไขมันอิ่มตัวสูงด้วยจึงควรกินโดยมีเส้นใยอาหารด้วยในมื้อนั้นๆ ซึ่งจะช่วยจับไขมันที่มากเกินไปให้ แนะนำให้กินปลาอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรเลี่ยงการทอดปลา เนื่องจากไขมันโอเมกา 3 ที่ดีจะละ ลายไปกับน้ำมันที่ใช้ทอด ควรใช้วิธีการปรุงโดยการต้ม ย่าง นึ่ง อบแทน
ตารางที่ 3 แสดงปริมาณกรดไขมันในน้ำมันพืช
ไขมัน | กรดไขมันอิ่มตัว (SFA) ร้อยละ | กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) ร้อยละ | กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ร้อยละ |
น้ำมันคาโนลา | 6 | 58 | 36 |
น้ำมันดอกคำฝอย | 10 | 15 | 75 |
น้ำมันดอกทานตะวัน | 12 | 21 | 67 |
น้ำมันข้าวโพด | 13 | 20 | 62 |
น้ำมันมะกอก | 14 | 77 | 9 |
น้ำมันถั่วเหลือง | 16 | 24 | 60 |
น้ำมันถั่วลิสง | 17 | 37 | 40 |
น้ำมันรำข้าว | 18 | 45 | 37 |
น้ำมันเมล็ดฝ้าย | 28 | 22 | 27 |
น้ำมันปาล์ม | 50 | 39 | 10 |
น้ำมันปาล์มเคอเนล (Kernel oil) | 86 | 12 | 2 |
น้ำมันมะพร้าว | 92 | 6 | 2 |
น้ำมันไก่ | 27 | 48 | 20 |
น้ำมันหมู | 40 | 47 | 12 |
น้ำมันเนื้อ | 52 | 44 | 5 |
เนย | 60 | 30 | 5 |
แนะนำ | 28.6 | 42.8 | 28.6 |
ที่มา; “น้ำมันรำข้าว ทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย” นัยนา บุญทวียุวัฒน์.เรวดี จงสุวัฒน์. กรุงเทพ ; โอเดียนสโตร์, 2545
อนึ่ง จากตาราง เพื่อให้ร่างกายได้รับไขมันที่ดี ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น น้ำมันคาโนลา (Canola oil) น้ำมันรำข้าว แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นไขมันดี ก็ต้องจำกัดปริมาณที่ใช้ด้วย จะใช้ปริมาณมากไม่ได้
ตารางที่ 4 แสดงคุณค่าอาหารของถั่วชนิดต่างๆ ในปริมาณ 28 กรัม
ชนิดของถั่ว | ปริมาณ เม็ด | พลังงาน(แคลอรี) | โปรตีน(กรัม) | ไขมันทั้งหมด (กรัม) | ไขมันอิ่มตัว(ไขมันไม่ดี) (กรัม) | ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (ไขมันดีมาก) (กรัม) | ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (ไขมันดี)(กรัม) |
อัลมอนด์(Almond) | 20-24 | 160 | 6 | 14 | 1 | 9 | 3 |
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ | 16-18 | 160 | 4 | 13 | 3 | 8 | 2 |
เฮเซลนัท(Hezelnut) | 18-20 | 180 | 4 | 17 | 1.5 | 13 | 2 |
แมคคาดาเมีย | 41983 | 200 | 2 | 22 | 3 | 17 | 0.5 |
ถั่วลิสง | 28 | 170 | 7 | 14 | 2 | 7 | 4 |
พิสตาชิโอ(Pistachio) | 45-47 | 160 | 6 | 13 | 1.5 | 7 | 4 |
วอลนัท (Walnut) | 14 | 190 | 4 | 18 | 1.5 | 2.5 | 13 |
ที่มา; “กินดีได้สุขภาพดี” กฤษฏี โพธิทัต. กันยายน 2554
อนึ่ง ถั่วมีไขมันที่ดี การกินถั่ววันละ 30 กรัมคู่กับอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ จะสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าหรือถึง 2 เท่า (เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารสไตล์เดียวกันแต่ไม่มีถั่ว) และมีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดลดลง
ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้กินปลาทะเลที่มีไขมันโอเมกา 3 สูง ปรุงด้วยวิธีการนึ่ง 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ เลือกใช้ไขมันดีที่จะช่วยลดไขมันตัวร้ายได้ กินถั่วในปริมาณที่จำ กัด จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ต้องลดการกินไขมันโดยรวม โดย เฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่ได้จากสัตว์บกลงด้วย มิฉะนั้น การกินอาหารที่มีไขมันโอเมกา 3 ไป ก็ไม่ทันกับไขมันที่รับเพิ่มขึ้นในร่างกาย
4. เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารสูง อาหารกากใยหรือ ใยอาหาร (Fiber) มีชนิดละลายน้ำได้ และชนิดไม่ละลายน้ำ มีมากในธัญพืช ผักและผลไม้ เส้นใย/ใยอาหารจะช่วยจับไขมัน และขับออกจากร่างกายก่อนที่จะดูดซึมเข้าไปในร่างกาย พบเส้นใยสูงในธัญพืชแบบไม่ขัดสี (Whole grain ) เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวสาลีแบบโฮลวีท (Whole wheat) ผัก และผลไม้ ควรเลือกกินอาหารที่มีเส้นใยสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับเส้นใย 25-35 กรัมต่อวัน
5. เลิกดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์มีคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นวัตถุดิบให้นำมาเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้
6. ควบคุมน้ำหนัก ผู้มีน้ำหนักตัวเกิน ต้องลดน้ำหนักลงให้ได้ โดยการลดปริมาณอาหารที่กินโดยเฉพาะอย่างยิ่งมื้อเย็น ลดข้าว-แป้ง งดไขมัน ที่สำคัญควรมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไม่ให้เหลือใช้ และเป็นการช่วยสลายไขมันออกจากตับได้ดี ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไป เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วโดยการงดอาหาร อาจก่อให้เกิดตับอักเสบอย่างรุน แรงได้ การลดน้ำหนักนั้นควรลดลงมาอย่างน้อย 15% จากน้ำหนักเริ่มต้น หรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (รู้ได้จากค่าดัชนีมวลกาย)
อนึ่ง ร่างกายจะสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น ถ้าได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป (ภา วะน้ำหนักตัวเกิน หรือโรคอ้วน) ดังนั้น การรู้จักเลือกกินจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการควบ คุมระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กล่าวคือ ในแต่ละวัน ควรกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า เพราะพลังงานที่ได้จากอา หารจะถูกนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆตลอดวัน ในปัจจุบันคนทั่วไปมีความเร่งรีบจึงมักงดอา หารเช้า อย่างไรก็ตามควรคำนึงไว้เสมอว่า ต้องจำกัดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ร่วมด้วยกับการออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน เพื่อให้ไม่มีพลังงานเหลือที่จะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้
สำหรับคนที่ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงจากโรค ควรควบคุมหรือรักษาโรคนั้นๆควบคู่กันไปด้วย เช่น ไตรกลีเซอไรด์สูงจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการพยายามคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติควบคู่กันไปด้วย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การงดสูบบุหรี่ และลดการดื่มเบียร์ เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการป้องกันไม่ ให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
สรุป
อาหารสำหรับโรคไขมันพอกตับ คืออาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โดยต้องเคร่งครัดในการจำกัด อาหารไขมันทุกประเภทที่รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ และอาหารแป้งและน้ำตาล
บรรณานุกรม
- กองโภชนาการ กรมอนามัย สาธารณสุข “คลอเรสเตอรอลและกรดไขมันในอาหารไทย” พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2547
- กฤษฎี โพธิทัต “กินดี ได้สุขภาพดี” บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด กันยายน 2554.
- นัยนา บุญทวียุวัฒน์และเรวดี จงสุวัฒน์ “ น้ำมันรำข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย” กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2545
- มูลนิธิโรคตับ ; http://www.thailiverfoundation.org/th. [2013,Dec18].
- ประไพศรี ศิริจักรวาล. “ คนที่มีไขมันในเลือดสูงแล้วควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร” สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ธีระ พิรัชวิสุทธิ์.รศ.นพ. “ ไขมันสะสมคั่งในตับ ” หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
- ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. “อาหารต้านวัยต้านโรค” สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ กรุงเทพฯ 2552.
- สันต์ ใจยอดศิลป์.นพ. “ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride). ” Health.Co.Th Journal 2010:2:7-7.
- สมบัติ ตรีประเสริฐสุข,รศ.“ ภาวะไขมันเกาะตับ“ สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก http://www.chulalongkornhospital.go.th [2013,Dec18].
- วันทนีย์ เกรียงสินยศ.“ กินอย่างไร เมื่อไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ” นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 315 กรกฏาคม 2005.