อาหารและโภชนาการสำหรับทารกแรกเกิด ถึงอายุ 2 ปี (Nutrition for newborn and children under age of 2)

บทความที่เกี่ยวข้อง


อาหารและโภชนาการสำหรับทารกแรกเกิดถึงอายุ2ปี

บทนำ

เมื่อกล่าวถึงอาหารและโภชนาการสำหรับทารกแรกเกิด ถึงอายุ 2 ปี คุณแม่หลายๆท่านอาจเกิดคำถามว่าในช่วง 0-6 เดือน ให้นมแม่อย่างเดียวจะเพียงพอต่อความต้องการของทารกจริงหรือไม่ และหลังจาก 6 เดือนทารกควรได้รับอาหารเสริมอย่างไร เพื่อให้เพียงต่อความต้องการ ดังนั้นในบทความนี้ จะกล่าวรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารและพลังงานที่ทารกแต่ละช่วงอายุควรได้รับใน 1 วัน รวมทั้งนมแม่มีประโยชน์อย่างไร และ อาหารตามวัยที่ทารกควรได้รับใน 1วันมีอะไรบ้าง เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คุณแม่นำไปปรับใช้กับลูกได้

ปริมาณพลังงาน และสารอาหารที่ทารกแรกเกิด ถึง 2 ปีควรได้รับใน 1 วัน

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารตามวัยร่วมกับนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งในตารางที่ 1 จะแสดงปริมาณพลังงานที่ทารกแรกเกิด-อายุ 2 ปีควรได้รับใน 1 วัน และตารางที่ 2 แสดงปริมาณโปรตีน และสัดส่วนพลังงานจากไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ทารกแรกเกิด-อายุ 2 ปีควรได้รับใน 1 วัน ดังนี้

ตารางที่ 1: ปริมาณพลังงานที่ทารกแรกเกิด-อายุ 2 ปีควรได้รับใน 1 วัน

* นมแม่ปริมาณมาก (High breast milk intake)

ตารางที่ 2: ปริมาณโปรตีนและสัดส่วนพลังงานจากไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ทารกแรกเกิด-อายุ 2 ปีควรได้รับใน 1 วัน

* ความต้องการโปรตีนต่อวันของทารก คำนวณจากค่าความต้องการโปรตีนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. 2007

** คำนวณโดยใช้ปริมาณนมแม่ในประเทศที่กำลังพัฒนาจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก คือ อายุ 6-8 เดือน ได้รับ 674 กรัมต่อวัน อายุ 9-11 เดือน ได้รับ 616 กรัมต่อวัน และอายุ 12-23 เดือน ได้รับ 549 กรัมต่อวัน และปริมาณเฉลี่ยของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เท่ากับ 10.5+2.0, 39+4.0 และ 72.0+2.5 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ

ตารางที่ 3: ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่ทารกควรได้รับต่อวัน*

อาหารตามวัยสำหรับทารก (Complementary food)

อาหารตามวัยสำหรับทารก คือ อาหารอื่นๆที่ทารกได้รับนอกเหนือจากนมแม่ หรือจากนมผสม เพื่อช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย โดยเริ่มจากการให้ทารกกินอาหารเหลว(Liquid food), กึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semisolid food) และอาหารแบบผู้ใหญ่ตามลำดับ ซึ่งการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวเป็นการฝึกการเคี้ยวและการกลืนอาหารของทารก ซึ่งในตารางที่ 3 จะแสดงแนวทางการให้นมแม่และอาหารตามวัยสำหรับทารกแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี

ตารางที่ 4: แนวทางการให้นมแม่และอาหารตามวัยสำหรับทารกแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี

สรุป

จากบทความนี้ แสดงให้เห็นว่าทารกแรกเกิด ถึงอายุ 2 ปี มีความต้องการสารอาหารที่หลากหลาย และในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน พบว่าสารอาหารที่ได้รับจากนมแม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก แต่เมื่อทารกอายุ 7 เดือน ถึง 2 ปี สารอาหารที่ได้รับจากนมแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทารก ดังนั้นทารกจึงควรได้รับอาหารตามวัยควบคู่กับนมแม่เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ทารกแรกเกิดถึง 2 ปีมีภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดีต่อไป

บรรณานุกรม

  1. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ สำหรับทุกช่วงวัย www.inmu.mahidol.ac.th/th/freebook_01.pdf[2018,Feb3]
  2. คู่มืออาหารตามวัย สำหรับทารกและเด็กเล็ก www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf [2018,Feb3]