อาหารแลกเปลี่ยน (Food exchange list) ตอน 7 หมวดไขมัน

อาหารแลกเปลี่ยน-7

      

เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ

      

อาหารแลกเปลี่ยน (Food exchange list)

ตอน 7 หมวดไขมัน

      

6.หมวดไขมัน ไขมันให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย คือช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกายช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย อาหารทุกชนิด ทุกหมวดหมู่มีประโยชน์กับร่างกายจึงต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกาย หากรับประทานมากเกินความจำเป็นของร่างกายส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้

      อาหารหมวดไขมัน 1 ส่วนให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี

 อาหาร
 ปริมาณ/ปริมาตร
 ชนิดไขมัน
 น้ำมันจากพืช ไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันไก่  1 ช้อนชา
 ไขมันอิ่มตัว
 เบคอน  1 ชิ้น
 กะทิ  1 ช้อนโต๊ะ
 เนยสด Butter  1 ช้อนชา
 เนยขาว Shortening  1 ช้อนชา
 ครีมนมสด  2 ช้อนโต๊ะ

      

 อาหาร
 ปริมาณ/ปริมาตร
 ชนิดไขมัน
 น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง  1 ช้อนชา
 ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว
 เนยถั่วลิสง  1 ช้อนชา
 ถั่วลิสง  10 เม็ด
 เม็ดมะม่วงหิมพานต์  6 เม็ด
 น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน  1 ช้อนชา
 ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง
 มายองเนส  1 ช้อนชา
 น้ำสลัด  1 ช้อนโต๊ะ
 เมล็ดดอกทานตะวัน  1 ช้อนโต๊ะ
 เมล็ดฟักทอง  1 ช้อนโต๊ะ

      

      การเลือกบริโภคน้ำมันหรือไขมันควรปฏิบัติดังนี้

      1. ควรเลือกใช้น้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวดีกว่าชนิดอิ่มตัว

      2. ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้พลังงานสูง ควรจำกัดการบริโภค

      3. ถั่วเปลือกแข็งหรือเมล็ดพืชมีใยอาหาร และโปรตีนสูง ขณะเดียวกันก็มีไขมันสูงด้วยจึงควรระวังในการบริโภค

      4. เนยเทียมชนิดนิ่ม มีปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าชนิดแข็งหรือชนิดแท่ง

      5. เบคอนและเนยถัวถ้ารับประทานในปริมาณเล็กน้อยนับเป็นส่วนของไขมัน หากรับประทานในปริมาณมากให้คิดเป็นส่วนของเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. ชนิดา ปโชติการ.พลังงานในอาหาร.จากพื้นฐานโภชนาการสู่ฉลากหวาน มัน เค็ม.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ; 2555.
  2. รุจิรา สัมมะสูต. หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัทพรการพิมพ์; 2541.
  3. อาหารไทย อาหารโลก. บทความสุขภาพ อาหารหลัก 5 หมู่มีอะไรบ้าง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: www.thaifoodworld.com ›บทความสุขภาพ.