อาหารแลกเปลี่ยน (Food exchange list) ตอน 5 หมวดเนื้อสัตว์
- โดย กาญจนา ฉิมเรือง
- 1 ธันวาคม 2561
- Tweet
4.หมวดเนื้อสัตว์ โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างกระดูก กล้ามเนื้อ น้ำย่อย ฮอร์โมน และประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของร่างกายและระบบภูมิต้านทาน โปรตีนคุณภาพมีส่วนช่วยในการทดแทนเซลล์ที่สูญเสียไปในแต่ละวัน ช่วยลดกลไกการแข็งตัวของเลือด รวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย หมวดเนื้อสัตว์แบ่งย่อยออกเป็น 4 ประเภท เนื่องมาจากความแตกต่างของไขมันในเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ 1 ส่วนจะมีน้ำหนักสุก 30 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ) หรือน้ำหนักดิบ 40 กรัม (3 ช้อนโต๊ะ) อาหารหมวดเนื้อสัตว์ 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม แบ่งตามปริมาณไขมัน พลังงานเฉลี่ย 35-100 กิโลแคลอรี แต่ละประเภทดังนี้
ปริมาณเนื้อสัตว์ หมวดเนื้อสัตว์ไขมันต่ำมาก 1 ส่วน โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 0-1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม พลังงาน 35 กิโลแคลอรี
เนื้อปลา ปู สันในไก่ | ¼ ถ้วยตวง, 2 ช้อนโต๊ะ, 30 กรัม |
กุ้ง | 4 ตัวขนาดกลาง, 10 ตัวขนาดเล็ก |
หอยแครง | 10-15 ตัว, 30 กรัม, 70 กรัมดิบ |
ปลาสำลี | ¼ ถ้วยตวง, 2 ช้อนโต๊ะ, 30 กรัม |
ปลากะพง | ¼ ถ้วยตวง, 2 ช้อนโต๊ะ, 30 กรัม |
ไข่ขาว | 2 ฟอง |
เลือดหมู | 6 ช้อนโต๊ะ, 90 กรัม |
ปริมาณเนื้อสัตว์ หมวดเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม พลังงาน 55 กิโลแคลอรี
อกไก่ เป็ดย่างไม่มีหนัง | ¼ ถ้วยตวง, 2 ช้อนโต๊ะ, 30 กรัม |
ลูกชิ้นไก่,หมู | 5 ลูก, 55 กรัม |
นมถั่วเหลืองไม่หวาน | 240 ซีซี (ข้าวแป้ง ½ ส่วน +เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน) |
นมถั่วเหลืองรสหวาน | 240 ซีซี (ข้าวแป้ง ½ ส่วน +เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน+น้ำตาล 2 ช้อนชา) |
ปริมาณเนื้อสัตว์ หมวดเนื้อสัตว์ไขมันปานกลาง 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม พลังงาน 75 กิโลแคลอรี
เนื้อหมู เป็ด ซี่โครงหมูไม่ติดมัน | ¼ ถ้วยตวง, 2 ช้อนโต๊ะ, 30 กรัม |
ไข่เป็ด ไข่ไก่ | 1 ฟอง,50 กรัม |
เต้าหู้อ่อน | 2/3 หลอด, 180 กรัม |
เต้าหู้แข็ง | ½ แผ่น, 60 กรัม |
ปริมาณอาหาร 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม ในหมวดเนื้อสัตว์ไขมันสูง ให้พลังงาน 100 กิโลแคลอรี
ปลาสวาย ไก่เนื้อ และหนังหมูสับ หมูแผ่น หมูยอ หมูติดมัน ซี่โครงหมูติดมัน หนังหมู กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน | ¼ ถ้วยตวง, 2 ช้อนโต๊ะ, 30 กรัม |
แหล่งข้อมูล:
- ชนิดา ปโชติการ.พลังงานในอาหาร.จากพื้นฐานโภชนาการสู่ฉลากหวาน มัน เค็ม.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ; 2555.
- รุจิรา สัมมะสูต. หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัทพรการพิมพ์; 2541.