อาหารแลกเปลี่ยน (Food exchange list) ตอน 4 หมวดผลไม้

อาหารแลกเปลี่ยน-4

      

เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ

      

อาหารแลกเปลี่ยน (Food exchange list)

ตอน 4 หมวดผลไม้

      

3. หมวดผลไม้ อาหารในหมวดผลไม้ 1 ส่วน โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ผลไม้มีวิตามินและเกลือแร่เช่นเดียวกับหมวดผัก ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูงจะรับประทานได้น้อยกว่าผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ เทียบในปริมาณ 1 ส่วนตาม Food exchange list ดังนั้นการเลือกรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลายสีสัน มีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างมากเพราะผักผลไม้แต่ละสีจะมีไฟโตนิวเทรียนท์ต่างชนิดกัน เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากต้องกินผักผลไม้ให้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 400-500 กรัม

      ปริมาณอาหาร 1 ส่วน ในหมวดผลไม้

 อาหาร
 ปริมาณ/ปริมาตร
 กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่  1 ผลกลาง, 45 กรัม
 กล้วยหอม กล้วยหักมุก  1 ผลเล็ก, ½ ผลใหญ่, 50 กรัม
 ส้มเขียวหวาน  2 ผลกลาง, 150 กรัม
 ส้มโอ  2 กลีบใหญ่, 130 กรัม
 มะม่วงดิบ  ½ ผล, 100 กรัม
 มะม่วงสุก  ½ ผล, 80 กรัม
 องุ่น  20 ผลกลาง,100 กรัม
 ฝรั่ง  ½ ผลกลาง, 120 กรัม
 ชมพู่  4 ผลใหญ่, 250 กรัม
 ทุเรียน  1 เม็ดกลาง, 40 กรัม
 สับปะรด  8 ชิ้นคำ, ¾ ถ้วยตวง, 125 กรัม
 เงาะ  4 ผลใหญ่, 85 กรัม
 แอปเปิ้ล  1 ผลเล็ก
 แตงโม  2 ถ้วยตวง

      

ปริมาณโพแทสเซียมในผักชนิดต่างๆ
 กลุ่มสี
 ไฟโตนิวเทรียนท์
 ประโยชน์
 สีแดง  ไลโคปีน (Lycopene), กรดเอลลาจิก (Ellagic Acid)  ช่วยส่งเสริมสุขภาพต่อมลูกหมาก และสุขภาพของดีเอ็นเอ
 สีเหลือง/ส้ม  เบต้า-แคโรทีน (Beta-carotene), เอสเพอริดิน (Hesperidin)  ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รักษาระดับความชุ่มชื้นของผิวและช่วยเรื่องพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง
 สีเขียว  เอพิแกลโลแคททิซินไกลเคท (EGCG), ลูทีน (Lutein)และซีแซนทีน ((Zeaxanthin),ไอโซไธโอไซยาเนท (Isothiocyanate)  ช่วยส่งเสริมสุขภาพเซลล์ให้แข็งแรง สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง สุขภาพปอด และดูแลการทำงานของตับให้สมบูรณ์แข็งแรง
 สีม่วง/น้ำเงิน  แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) เรสเวอราทรอล (Resveratrol)  ช่วยเสริมสุขภาพด้านระบบความคิดและการรับรู้ ดูแลสุขภาพหัวใจ สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง และปกป้องสารต้านอนุมูลอิสระ
 สีขาว  อัลลิซิน (Allicin), เควอซิทิน (Quercetin)  ดูแลสุขภาพกระดูก ระบบไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกติ สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. ชนิดา ปโชติการ.พลังงานในอาหาร.จากพื้นฐานโภชนาการสู่ฉลากหวาน มัน เค็ม.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ; 2555.
  2. บริษัท แอมเวย์.วันนี้คุณกินไฟโตนิวเทรียนท์หรือยัง. [แผ่นพับ]. กรุงเทพฯ: บริษัท แอมเวย์ ประเทศไทย จำกัด.
  3. รุจิรา สัมมะสูต. หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัทพรการพิมพ์; 2541.