อาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 2 เมษายน 2558
- Tweet
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ยา (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคซึมเศร้า Serotonin and norepinephrine reuptake inhibitor: SNRI
- เอสเอสอาร์ไอSelective serotonin reuptake inhibitors: SSRI
- เอมเอโอไอ MAOI
- กรดไทรคลอโรอะซีติคTCA
- ยาคาร์บามาซีปีนcarbamazepine
เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่สร้างได้จากหลายอวัยวะ เช่น สมอง ระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่หลายอย่างเช่น เกี่ยวข้องกับการควบคุมความ รู้สึก อารมณ์ ความจำ ความหิว อาการเจ็บปวด การเคลื่อนไหวของอวัยวะในระบบทางเดินอา หาร และการเต้นของหัวใจ
เมื่อร่างกายมีเซโรโทนินมากกว่าปกติ จะก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า “กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome)” ที่พบเป็นผลข้างเคียงจาก
- ยาบางชนิดหรือบางกลุ่ม เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin and norepinephrine reuptake inhibitor: SNRI, และกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors: SSRI, ยา MAOI, TCA, Carbamazepine, Ritonavir, Dextromethorphan
- สารเสพติดบางชนิด เช่น โคเคน Amphetamine
- สมุนไพรบางชนิด เช่น St. John's wort, Ginseng
อาการของกลุ่มอาการเซโรโทนินเช่น กระสับกระส่าย สับสน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ท้องเสีย ตัวสั่น ตาพร่า ม่านตาขยาย กล้ามเนื้อหดเกร็ง เมื่อมีอาการมากอาจชัก ไข้สูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโคม่า ซึ่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้โดยเฉพาะหลังกินยาต้องรีบนำผู้ ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
แนวทางการรักษากลุ่มอาการเซโรโทนิน จะเป็นการรักษาตามอาการไม่มีการรักษาเฉพาะเช่น การเฝ้าระวังควบคุมสัญญาณชีพเพื่อให้เป็นปกติ กินยาต่างๆตามอาการเช่น ยาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาคลายกล้ามเนื้อ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากท้องเสีย
บรรณานุกรม