อะริพิพราโซล (Aripiprazole)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 5 พฤษภาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- อะริพิพราโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- อะริพิพราโซลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- อะริพิพราโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- อะริพิพราโซลมีขนาดรับประทานยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- อะริพิพราโซลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้อะริพิพราโซลอย่างไร?
- อะริพิพราโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาอะริพิพราโซลอย่างไร?
- อะริพิพราโซลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยา(Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคจิต(Psychosis)
- โรคออทิสติก (Autistic spectrum disorder)
- โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ MDD)
- ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า(Stress, Depression and Depressive disorder)
บทนำ
ยาอะริพิพราโซล (Aripiprazole) เป็นยาที่นำมารักษาโรคจิตอย่างเช่น จิตเภท (Schizophre nia) อารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) รวมไปถึงอาการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆอย่างไม่เป็นจัง หวะ (Tic disorder) โรคซึมเศร้า และโรคออทิสติก (Autism) อีกด้วย ขนาดการใช้ยานี้ของแต่ละอาการโรคจะมีความแตกต่างกันออกไป รูปแบบของยาแผนปัจจุบันของยาอะริพิพราโซลที่อาจพบ เห็นได้จะเป็นยาชนิดรับประทานแบบยาเม็ด ยาน้ำ และยาฉีด
ความสามารถของการดูดซึมยาอะริพิพราโซลจากระบบทางเดินอาหารมีประมาณ 87% ซึ่ง เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือด ตัวยาจะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีนถึงประมาณ 99% และร่างกายต้องใช้เวลามากกว่า 75 ชั่วโมงเพื่อกำจัดปริมาณยา 50% ออกจากกระแสเลือดโดยผ่านทิ้งไปกับอุจจาระและปัสสาวะ
ผลข้างเคียงที่เด่นๆของยาอะริพิพราโซลจะเป็นเรื่องปวดศีรษะ กระวนกระวาย/กระสับกระ ส่าย เป็นต้น
คณะกรรมการอาหารและยาได้จัดให้สูตรตำรับของยาอะริพิพราโซลที่ขึ้นทะเบียนในประ เทศไทยเป็นยาประเภทยาควบคุมพิเศษ การใช้ยาจึงต้องมีใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น โดยเราจะสามารถพบเห็นการใช้ยานี้ได้ทั้งสถานพยาบาลของรัฐและของเอกชน
อะริพิพราโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาอะริพิพราโซลมีสรรพคุณดังนี้เช่น
- รักษาอาการโรคจิตเภท (Schizophrenia)
- รักษาอาการโรคอารมณ์สองขั้ว/ไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
- รักษาโรคซึมเศร้า (Depressant)
- รักษาโรคออทิซึม (Autism)
อะริพิพราโซลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาอะริพิพราโซลคือ ตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับ (Receptor) ของสารสื่อประสาท 3 ชนิดที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์/จิตใจ (D2: Dopamine2, 5-HT1A: 5-Hydroxytryp tamine1A, 5-HT2A: 5-Hydroxytryptamine2A) และแสดงฤทธิ์เป็นลักษณะดังนี้
- ฤทธิ์ในลักษณะเป็นการกระตุ้นคือ D2 receptor agonist และ 5-HT1A receptor agonist
- ฤทธิ์ในลักษณะเป็นการแข่งขัน/ต่อต้านคือ 5-HT2A receptor antagonist ซึ่งจากกลไกดังกล่าวจึงส่งผลต่อสมดุลเคมีต่างๆของสมอง จึงก่อให้เกิดฤทธิ์ในการรักษาตามมา
อะริพิพราโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาอะริพิพราโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้เช่น
- ยาน้ำชนิดรับประทาน ขนาด 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 5, 10 และ 15 มิลลิกรัม/เม็ด
อะริพิพราโซลมีขนาดรับประทานยาอย่างไร?
ยาอะริพิพราโซลมีขนาดรับประทานขึ้นกับแต่ละประเภทของอาการ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 2 อาการได้แก่
ก.สำหรับรักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia): ผู้ใหญ่: เริ่มต้นรับประทาน 10 - 15 มิลลิกรัม/วัน ทั้งนี้แพทย์อาจปรับขนาดรับประทานทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งขนาดรับประทานเพื่อคงระดับการรักษาอยู่ที่ 15 มิลลิกรัม/วัน และขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/วัน
ข. สำหรับรักษาโรคไบโพลาร์ (Acute manic episodes of bipolar disorder): ผู้ใหญ่: รับประทาน 30 มิลลิกรัมวันละครั้ง แพทย์อาจปรับลดขนาดรับประทานลงมาเป็น 15 มิลลิกรัม/วันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ความปลอดภัย และอาการข้างเคียง/ผลข้างเคียงต่างๆของยาที่ส่งผลต่อผู้ป่วย
*****หมายเหตุ:
- เด็กและผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี: ขนาดยาในคนกลุ่มนี้จะต้องมีความจำเพาะเป็นรายบุคคล โดยขึ้นกับแต่ละอาการ ความรุนแรงของอาการ อายุผู้ป่วย น้ำหนักตัว การตอบสนองต่อยา ดังนั้นการใช้ยานี้ในคนกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาเป็นรายบุคคลไป
- สามารถรับประทานยานี้ก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาอะริพิพราโซล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาอะริพิพราโซลอาจส่งผลให้อา การของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาอะริพิพราโซลสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อะริพิพราโซลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาอะริพิพราโซลสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ปวดตามร่างกาย คลื่นไส้ อา เจียน วิงเวียน อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปากแห้ง วิตกกังวล ความดันโลหิตต่ำ ตัวสั่น ตาพร่า และง่วงซึม
สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาดอาจจะพบอาการท้องเสียพร้อมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุน แรงรวมถึงอ่อนเปลี้ยเพลียแรง หากพบอาการดังกล่าวต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
มีข้อควรระวังการใช้อะริพิพราโซลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้อะริพิพราโซลดังนี้เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมา และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจชนิดต่างๆรวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
- การใช้ยานี้อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้จึงควรหมั่นตรวจสอบความดันโลหิต ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรในระหว่างที่ใช้ยานี้เนื่องจากผลข้างเคียงของยานี้ทำให้ง่วงซึม
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาอะริพิพราโซลด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
อะริพิพราโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาอะริพิพราโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
- ห้ามรับประทานยาอะริพิพราโซลร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ด้วยจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้ากับผู้ป่วย
- การใช้ยาอะริพิพราโซลร่วมกับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงจะเกิดการเสริมฤทธิ์กันจนอาจเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันควรแพทย์จะขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
- การใช้ยาอะริพิพราโซลร่วมกับยา Bupropion อาจกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ง่าย อีกทั้ง Bupropion จะทำให้ระดับของยาอะริพิพราโซลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นราย บุคคลไป
- ห้ามใช้ยาอะริพิพราโซลร่วมกับยา Metoclopramide ด้วยจะก่อให้เกิดอาการคล้ายเป็นโรคพาร์กินสันส่งผลให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติไปจากเดิม
ควรเก็บรักษาอะริพิพราโซลอย่างไร?
สามารถเก็บยาอะริพิพราโซลในอุณหภูมิห้องที่เย็น ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
อะริพิพราโซลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาอะริพิพราโซลที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Abilify (อะบิลิฟาย) | Otsuka |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Aripiprazole [2015,April18]
2. http://www.mims.com/USA/drug/info/aripiprazole/?type=full&mtype=generic [2015,April18]
3. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Abilify/?type=brief [2015,April18]
4. http://www.drugs.com/drug-interactions/aripiprazole-index.html?filter=3&generic_only= [2015,April18]
5. http://www.drugs.com/cdi/aripiprazole.html [2015,April18