หัวใจขัด (Heart block)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 29 กุมภาพันธ์ 2563
- Tweet
- หัวใจขัดคือโรคอะไร?
- อาการของหัวใจขัดเป็นอย่างไร?
- หัวใจขัดรุนแรงไหม?
- อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดหัวใจขัด?
- แพทย์วินิจฉัยหัวใจขัดได้อย่างไร?
- รักษาหัวใจขัดได้อย่างไร?
- หัวใจขัดมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?
- บรรณานุกรม
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart disease หรือ Cardiovascular disease)
- หัวใจ: กายวิภาคหัวใจ (Heart anatomy) / สรีรวิทยาของหัวใจ (Heart physiology)
- หัวใจล้ม (Heart attack)
- หัวใจหยุดเต้น (Cardiac arrest)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจวาย (Heart failure)
- อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction)
- การออกกำลังกาย: แนวทางการออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (Exercise concepts for healthy lifestyle)
หัวใจขัดคือโรคอะไร?
หัวใจขัด หรือ อาการหัวใจขัด (Heart block หรือ Arterioventricular block หรือ AV block) เป็นอาการหนึ่งของโรคของหัวใจที่เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ/เต้นผิดไปจากเดิม โดยมักเต้นช้าลงและอาจร่วมกับกับเต้นไม่เป็นจังหวะ ทั้งนี้เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าที่เป็นตัวควบคุมสั่งการเต้น/การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจจากห้องบนสู่ห้องล่างโดยการทำงานของเนื้อเยื่อ/เซลล์ส่วนที่เรียกว่า Arterioventricular node (ย่อว่า AV node)
หัวใจขัดพบในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงในผู้สูงอายุ พบทั้ง2 เพศ
อาการของหัวใจขัดเป็นอย่างไร?
อาการของหัวใจขัด ได้แก่
ก. ไม่มีอาการ กรณีเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง
ข. เมื่อมีอาการ อาการพบบ่อย คือ
- วิงเวียน
- เป็นลม
- เหนื่อย
- เจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
หัวใจขัดรุนแรงไหม?
หัวใจขัดมี3ระดับความรุนแรง คือ
- อาการหัวใจขัดระดับ1 (First degree heart block):อาการไม่รุนแรง บ่อยครั้งไม่มีอาการ เช่น ในนักกีฬา, หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด มักไม่จำเป็นต้องรักษา
- อาการรุนแรงระดับ2 (Second degree heart block): อาการรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
- ชนิด1(Type1): อาการรุนแรงน้อยกว่า
- ชนิด2(Type2): อาการรุนแรงมากกว่า
- อาการรุนแรงระดับ3(Third degree heart block): อาการรุนแรงมาก สัญญาณควบคุมการเต้นของหัวใจจะสูญเสียไปมาก อาจเป็นปัจจัยให้ตายได้
อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดหัวใจขัด?
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงเกิดหัวใจขัด ได้แก่
- ผู้สูงอายุ: จากการเสื่อมของเซลล์ทุกชนิดตามอายุ รวมเซลล์สร้างกระแสไฟฟ้าควบคุมการเต้นของหัวใจ
- มีโรคหัวใจชนิดอื่นๆอยู่ก่อนแล้ว เช่น
- หัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคลิ้นหัวใจ
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหัวใจ: โรคหัวใจและหลอดเลือด (URL ในเว็บ haamor คือ โรคหัวใจ2)
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติก
- นักกีฬา
- อาการข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่นยา Digoxin, Beta blocker, Calcium channel blocker
แพทย์วินิจฉัยหัวใจขัดได้อย่างไร?
ทั่วไปแพทย์วินิจฉัย หัวใจขัด ได้จาก
- การซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ที่สำคัญ เช่น อาการ โรคประจำตัว การเล่นกีฬา การใช้ยาต่างๆ อายุ
- การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจฟังการเต้นหัวใจด้วยหูฟัง
- การตรวจคลื่นฟ้าหัวใจอีเคจี
- การตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อการสืบค้นหาสาเหตุตามอาการผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเอคโคหัวใจ
รักษาหัวใจขัดได้อย่างไร?
การรักษาหัวใจขัด ขึ้นกับความรุนแรงของอาการและสาเหตุ ได้แก่
- ไม่จำเป็นต้องรักษากรณีไม่มีอาการ
- การหยุดยาที่เป็นสาเหตุ
- การใช้ยาต่างๆตามอาการและตามดุลพินิจของแพทย์
- การฝังเครื่องคุมจังหวะหัวใจ(Cardiac pacemaker)ซึ่งเป็นวิธีรักษาสำคัญที่สุด
- การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น
- ควบคุมอาหาร
- ควบคุมน้ำหนักตัว
- เลิกบุหรี่
- เลิกดื่มสุรา
- ออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
หัวใจขัดมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?
ความรุนแรง/การพยากรณ์โรคของหัวใจขัด ขึ้นกับความรุนแรงและสาเหตุ เช่น
- ผู้ป่วยใช้ชีวิตและมีอายุได้เป็นปกติ กรณีเป็นนักกีฬา หรือจากอาการข้างเคียงของยาที่เมื่อหยุดใช้ยาหรือแพทย์ปรับขนาดยา ผู้ป่วยก็จะกลับมาปกติ
- การพยากรณ์โรคหัวใจขัดจากสาเหตุอื่นๆจะต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคนขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เช่น ถ้ามีอาการรุนแรงมาก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ตายได้ ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาเท่านั้นจะเป็นผู้ให้การพยากรณ์โรคที่เหมาะสมสำหรับแต่ละผู้ป่วย