หลับไม่ลงในวัยดึก (ตอนที่ 3)

หลับไม่ลงในวัยดึก-3

      

      หรือการใช้ยา (Medications) บางชนิดที่สามารถรบกวนการนอนได้ เช่น

  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคต้อหิน (Glaucoma)
  • ยาแอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergics) สำหรับผู้ที่ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease = COPD)
  • ยาลดความดันโลหิต (Antihypertensive)
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants)
  • ยาเอช 2 (H2 blockers) สำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease = GERD) หรือแผลในทางเดินอาหาร (Peptic ulcers)
  • ยาเลโวโดปา (Levodopa) ที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน
  • ยากระตุ้นประสานแอดริเนอร์จิค (Adrenergic drugs) สำหรับผู้ที่มีอาการหอบหืด (Asthma attacks) หรือหัวใจหยุดเต้น (Cardiac arrest)

      นอกจากนี้ยังมีสารบางอย่างที่สามารถรบกวนการนอนอย่าง คาเฟอีน แอลกอฮอล์ นิโคติน

      ในการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติด้านการนอน แพทย์จะซักถามอาการ ทำการตรวจร่างกาย และอาจให้ทำบันทึกการนอนหลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อศึกษาถึงแบบแผนการนอน (Sleeping patterns)

      นอกจากนี้แพทย์อาจส่งตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ (Sleep study) หรือที่เรียกว่า Polysomnogram ที่ใช้เวลาประมาณ 6 - 8 ชั่วโมงต่อการตรวจ 1 คืน ในห้องแล้ป ซึ่งเป็นการตรวจว่าผู้ป่วยมีอาการนอนหลับได้ดีเพียงใด โดยสิ่งที่ตรวจคือ

  • การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • การหายใจ
  • การกรนหรือมีเสียงอื่น
  • อัตราการเต้นของหัวใจ
  • การทำงานของสมอง
  • การวัดปริมาณของออกซิเจนในเลือด
  • การความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

      สำหรับการรักษาความผิดปกติด้านการนอนในผู้ใหญ่จะใช้พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy) เป็นอย่างแรก และจะไม่เน้นการใช้ยา เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีการใช้ยาหลายตัวเป็นปกติอยู่แล้ว

      โดยการรักษาอาจกินเวลานานมากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งรวมถึงการให้ความรู้ทางด้านการนอน การควบคุมสิ่งเร้า (Stimulus control) และข้อกำหนดเรื่องเวลาในการนอน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Sleep Disorders in Older Adults. https://www.healthline.com/health/sleep/sleep-disorders-in-the-elderly [2018, January 16].