หยดนี้ให้ชีวิต (ตอนที่ 5)

หยดนี้ให้ชีวิต-5

      

ลักษณะความผิดปกติต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับเลือด (ต่อ)

  • ภาวะโลหิตจาง / ภาวะซีด (Anemia): เป็นภาวะที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำผิดปกติ จนทำให้เหนื่อยและหายใจลำบาก
  • ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทําลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolytic anemia)
  • ภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis): เป็นภาวะที่มีธาตุเหล็กในเลือดมากเกินไป จนไปสะสมที่ตับ ตับอ่อน และอวัยวะอื่นจนทำให้เกิดปัญหาโรคตับและเบาหวาน
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease): เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดรูปอยู่ในเนื้อเยื่อ จะเป็นสาเหตุของอาการปวดและอวัยวะถูกทำลาย
  • การติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด (Bacteremia)
  • โรคมาลาเรีย (Malaria): เป็นการติดเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium) ที่มียุงเป็นพาหะ ทำให้เกิดอาการเป็นไข้ หนาวสั่น และอวัยวะถูกทำลาย
  • เกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia): ที่อาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด
  • เม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia): เป็นผลทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  • ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated intravascular coagulation = DIC): มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรงหรือโรคมะเร็ง
  • โรคฮีโมฟีเลียหรือโรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia): เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมีความผิดปกติของโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหรือภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Hypercoaguable state): ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขาหรือปอด
  • เลือดข้น (Polycythemia): เป็นภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep venous thrombosis = DVT): มักเกิดขึ้นที่บริเวณขาหรือที่เรียกว่า “เส้นเลือดขอด” โรคหลอดเลือดดำอุดตันเป็นภาวะที่อันตรายหากเกิดขึ้นที่ปอดหรือที่เรียกว่า “โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด” (Pulmonary embolism = PE)
  • กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction = MI): หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “หัวใจวาย” เกิดจากการที่มีเลือดอุดตันที่หลอดเลือดโคโรนารี (Coronary arteries) ที่นำออกซิเจนและอาหาร กล่าวคือ นำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

แหล่งข้อมูล:

  1. What's Blood?https://kidshealth.org/en/kids/blood.html [2020, October 16].
  2. Picture of Blood. https://www.webmd.com/heart/anatomy-picture-of-blood#1 [2020, October 16].
  3. How does blood work, and what problems occur? https://www.medicalnewstoday.com/articles/196001#structure [2020, October 16].