ฮีม สารฮีม (Heme หรือ Haem)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 17 มกราคม 2557
- Tweet
ฮีม เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กและโปรตีน ฮีมเป็นส่วนประกอบสำ คัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งนอกจากในเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังพบสารฮีมได้ในเนื้อ เยื่อบางชนิดของร่างกาย แต่พบได้ในปริมาณน้อยกว่าในเม็ดเลือดแดงมาก เช่น ใน กล้ามเนื้อ
หน้าที่สำคัญของฮีม คือ การจับกับออกซิเจน ดังนั้นฮีมจึงเป็นตัวนำออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย
อวัยวะที่สร้างฮีม คือ ตับและไขกระดูก โดยสารเคมีสำคัญในการสร้างฮีม คือสารเคมีกลุ่มที่เรียกว่า Porphyrins
ร่างกายกำจัดฮีมส่วนเกิน หรือฮีมที่ไม่ใช้แล้วผ่านทางม้าม โดยม้ามจะสลายฮีมเป็นสารบิลิรูบิน และธาตุเหล็ก ซึ่งตับจะนำสารบิลิรูบินไปกำจัดออก โดยสร้างเป็นส่วนประกอบของน้ำดี และกำจัดออกทางระบบทางเดินน้ำดี โดยเข้าสู่ลำไส้ และกำจัดออกจากร่างกายทางอุจจาระ (ส่วนน้อยของบิลิรูบิน กำจัดออกทางปัสสาวะ/ทางไต) ส่วนธาตุเหล็ก ส่วนใหญ่ร่างกายจะนำกลับมาใช้สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยที่ส่วนน้อยจะกำจัดออกทาง ไต/ปัสสาวะ
โรคที่พบจากความผิดปกติในการสร้างฮีม เป็นโรคพบได้น้อย โดยจัดอยู่ในกลุ่มของโรคเลือด และสาเหตุทั้งหมดมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรค Congenital erythropoietic porphyria
บรรณานุกรม
- Heme http://en.wikipedia.org/wiki/Heme [2014,Jan10].