สังกะสี (Zinc)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 18 สิงหาคม 2558
- Tweet
- อาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ (Healthy diet)
- โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- ไทรอยด์: โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid: thyroid diseases)
- โรคกระดูก (Bone disease)
สังกะสี (Zinc หรือมีสัญลักษณ์ว่า Zn) เป็นแร่ธาตุ/เกลือแร่จำเป็นสำหรับร่างกาย ถึงแม้ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม โดยปกติร่างกายจะได้รับปริมาณสังกะสีอย่างเพียงพอจากการบริโภคอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน
สังกะสีมีในอาหารหลากหลายชนิดแต่ที่มีมากเช่น หอย เนื้อแดง เนื้อเป็ด ไก่ อาหารทะเล ธัญพืช เมล็ดถั่ว ถั่วฝัก ลูกนัท นม และอาหารเช้าซีเรียล/Cerealที่เพิ่มสังกะสี
หน้าที่ของสังกะสีมีมากมายที่สำคัญเช่น
- เพื่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอของเนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกาย
- ช่วยการทำงานของเซลล์จอตา
- ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
- ช่วยให้แผลหายเร็ว
- ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์
- ช่วยการสร้างกระดูก
องค์กรด้านการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (The Institute of Medicine) แนะนำความต้องการสังกะสีของร่างกายในแต่ละวันดังนี้
- เด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน: 2 mg (มิลลิกรัม)
- 7 เดือนถึง 3 ปี: 3 mg
- 4 ปีถึง 8 ปี: 5 mg
- 9 ปีถึง13 ปี: 8 mg
- เด็กหญิงอายุ 14 ปีถึง 18 ปี: 9 mg
- ผู้ชายอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป: 11 mg
- ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป: 8 mg
- หญิงตั้งครรภ์อายุ 14 ปีถึง 18 ปี: 13 mg
- หญิงตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป: 11 mg
- หญิงให้นมบุตรอายุ 14 ปีถึง 18 ปี: 14 mg
- หญิงให้นมบุตรอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป: 12 mg/day
ทั้งนี้ ค่าปกติของสังกะสีในเลือดจะแตกต่างกันในแต่ละห้องปฏิบัติการ แต่โดยทั่วไป คือ 66 - 110 Microgram/deciliter (µg/dL) หรือ 10.1 - 16.8 Micromole/litre (µmol/L)
อนึ่ง:
- เมื่อขาดสังกะสีมักมีการติดเชื้อต่างๆโดยเฉพาะเชื้อไวรัสได้ง่าย เมื่อเกิดแผลแผลมักหายช้า และเกิดโรคกระดูกพรุนได้
- เมื่อได้รับสังกะสีมากเกินไปจากการเสริมอาหารด้วยวิตามิน/เกลือแร่มากเกินไปจะพบผลข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดท้อง
- แพทย์วินิจฉัยภาวะพิษจากสังกะสีได้จากประวัติบริโภค/สัมผัสสังกะสี ร่วมกับอาการของผู้ป่วย และการตรวจปริมาณสังกะสีในเลือด
บรรณานุกรม