วิกฤติหมอกพิษ (ตอนที่ 2)

วิกฤติหมอกพิษ-2

      

      ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) – เป็นฝุ่นละออง (Particulate matter / Particle pollution) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตรวจวัดได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เท่านั้น เพราะเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดเส้นผมของคนที่มีขนาดประมาณ 50-70 ไมครอน

      ฝุ่นละอองเหล่านี้ประกอบด้วยสารเคมีนานาชนิดที่มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป และสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น

  • เสียชีวิตก่อนกำหนดด้วยโรคหัวใจหรือโรคปอด
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Heart Attack)
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ทำให้โรคหอบหืดแย่ลง
  • การทำงานของปอดลดลง
  • มีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ หรือ หายใจลำบาก

      ฝุ่นละอองสามารถลอยตามลมไปได้เป็นระยะทางไกลและตกลงบนดินหรือน้ำ ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะ เช่น

  • ทำให้น้ำในลำน้ำและทะเลสาบ มีค่าเป็นกรด
  • สารอาหารในดินลดน้อยลง
  • ทำลายป่าและพืชพรรณ
  • มีผลต่อความหลากหลายของระบบนิเวศน์
  • ทำให้เกิดฝนกรด (Acid rain)

      ทั้งนี้ PM2.5 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ

      ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) – เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน

      เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Air Quality Index - A Guide to Air Quality and Your Health. https://www.airnow.gov/index.cfm?action=aqi_brochure.index [2018, January 9].
  2. Particulate Matter (PM) Pollution. https://www.epa.gov/pm-pollution/particulate-matter-pm-basics [2018, January 9].
  3. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php [2018, January 9].