วาลแกนไซโคลเวียร์ (Valganciclovir)
- โดย ภก.วิชญ์ภัทร ธรานนท์
- 1 มิถุนายน 2564
- Tweet
- บทนำ: คือยาอะไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีขนาดหรือวิธีใช้ยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมบริหารยา/ใช้ยาควรทำอย่างไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาแกนไซโคลเวียร์อย่างไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาวาลแกนไซโคลเวียร์อย่างไร?
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- เชื้อไวรัส โรคติดเชื้อไวรัส (Viral infection)
- เอดส์ (AIDS)
- เอชไอวี: โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV: HIV infection)
- โรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส โรคติดเชื้อซีเอมวี (Cytomegalovirus infection: CMV infection)
- สะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome)
- รักษาโรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus หรือเรียกสั้นๆว่าเชื้อไวรัสซีเอ็มวี) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
- และใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซีเอมวีในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซีเอมวีสูง (CMV disease in high-risk transplant patients) กล่าวคือ ผู้บริจาคอวัยวะเป็นบุคคลที่ตรวจพบเชื้อไวรัสซีเอ็มวี (การตรวจให้ผลบวก/Donor CMV positive) ขณะที่ผู้ รับอวัยวะตรวจไม่พบเชื้อไวรัสซีเอมวี (การตรวจให้ผลลบ/Recipient CMV negative)
- เป็นยาเม็ดเคลือบฟิล์ม (Film-coated tablets) ชนิดรับประทานขนาด 400 มิล ลิกรัมต่อเม็ด
- สำหรับผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายไต ขนาดยาเริ่มต้นคือ 900 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้งหลังอาหาร ทั้งนี้เริ่มต้นให้ยาภายในวันแรกของการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะและรับประทานยาติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 200 วัน
- สำหรับผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะอื่นที่นอกเหนือจากไต ขนาดยาที่แนะนำคือ 900 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้งหลังอาหาร ควรเริ่มใช้ยาภายใน 10 วันหลังการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะนั้นจนถึงครบการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ 100 วัน (ใช้ยา 100 วัน)
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษา แพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- ประวัติแพ้ยา/แพ้อาหาร/แพ้สารเคมีทุกชนิด
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาวาลแกนไซโคลเวียร์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะเชื่อว่ายาวาลแกนไซโคลเวียร์อาจมีผลพิษต่อทารกในครรภ์ โดยอาจก่อให้ทารกเกิดความพิการขึ้นได้ ทั้งนี้ยังไม่มีผลการศึกษาถึงความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ของยานี้ เนื่องจากยาแวลแกนไซโคลเวียร์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็นยาแกนไซโคลเวียร์อย่างรวดเร็ว ซึ่งได้มีการศึกษาถึงผลพิษต่อระบบสืบพันธุ์ของยาแกนไซโคลเวียร์แล้ว (แพทย์จึงนำผลนั้นมาปรับใช้ในยาวาลแกนไซโคลเวียร์)
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาลแกนไซโคลเวียร์ แพทย์จะติดตามค่าความสมบูรณ์ของเลือดอยู่เสมอ (Complete Blood Count: CBC/ ซีบีซี) หากพบว่าผู้ป่วยมีค่าเม็ดเลือดขาวต่าผิดปกติ, มีนิวโทรฟิล(Neutrophil/เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง)ลดลงผิดปกติ, โลหิตจาง/ โรคซีด และ/หรือมีค่าเกล็ดเลือดต่ำผิดปกติอย่างรุนแรง, อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยากระตุ้นการเจริญของเม็ดเลือด (Hematopoietic growth factor) และ/หรือหยุดยาวาลแกนไซโคลเวียร์ชั่วคราว
- แพทย์จะติดตามค่าการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด และพิจารณาปรับขนาดยานี้ตามค่าการทำงานของไต
- ภาวะกดไขกระดูก (Bone Marrow Suppression: ส่งผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจึงเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อ, เกิดโลหิตจาง อาจทำให้เหนื่อยง่าย ซีด และมีเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกได้ง่าย) ในช่วงที่ใช้ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ แพทย์จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของเลือด (ตรวจเลือดซีบีซี/CBC) สม่ำเสมอ หากพบว่าจำนวนเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว, และเกล็ดเลือดลดลง อาจจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาหรือหยุดยาอื่นๆที่อาจมีผลกดการทำงานของไขกระดูกร่วมด้วย
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: ยานี้ทำให้เกิด คลื่นไส้-อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องมาน ท้องผูก
- ผลต่อระบบประสาท: ยาอาจทำให้เกิดภาวะหนาวสั่น (Chills), ปวดเส้นประสาท (Neuro pathy)
- ผลต่อผิวหนัง: ยาอาจทำให้เกิดผื่นคันบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆของร่างกาย และมีรายงานการเกิดผื่นแพ้ยาที่รุนแรงคือ สตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม (SJS: Stevens Johnson Syndrome) ได้ ผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการและรีบพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการผิดปกติ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือแพ้ส่วนประกอบของยานี้ หรือเคยมีประวัติแพ้ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ (Valganciclovir) หรือ อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มาก่อนเนื่องจากโครงสร้างของยามีความคล้ายคลึงกัน
- เนื่องจากยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง นิวโทรฟิลล์ลด ลง เกล็ดเลือดลดลง และโลหิตจาง แพทย์จึงมักไม่ใช้ยาแกนไซโคลเวียร์ขณะผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำ (นิวโทรฟิลสุทธิน้อยกว่า 500 เซลล์ต่อไมโครลิตร) หรือมีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 25,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือมีฮีโมโกลบินต่ำกว่า 8 กรัมต่อเดซิลิตร
- ระวังการใช้ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากยาวาลแกนไซโคลเวียร์ก่อ ให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ (เกิดทารกวิรูป/พิการ) ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีตั้งครรภ์ นอกจากประโยชน์ที่ได้รับต่อมารดาจะเหนือความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
- ยาวาลแกนไซโคลเวียร์อาจถูกขับออกทางน้ำนมและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ จึงควรหยุดการให้นมบุตรด้วยตนเองในรายที่มารดาจำเป็นต้องใช้ยาแกนไซโคลเวียร์
- เนื่องจากยามีผลพิษต่อทารกในครรภ์ (Teratogenic: ทารกวิรูป) และมีผลยับยั้งการสร้างเชื้ออสุจิ (Spermatogenesis) ดังนั้นช่วงที่ได้รับยา ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงควรมีการคุมกำเนิดตลอดช่วงได้รับยาและคุมกำเนิดต่อไปอีกเป็นเวลา 90 วันหลังวันหยุดใช้ยา (ปรึกษาวิธีคุมกำเนิดจากแพทย์ผู้รักษา)
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
- เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
- ไม่เก็บยาในที่อุณหภูมิสูงเกินกว่า 30 อง ศาเซลเซียส (Celsius)
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือเก็บยาในห้องที่ร้อนจัด หรือมีความชื้นมากเช่น ในรถยนต์หรือในห้องน้ำ
- ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุเดิม
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- เก็บยาให้พ้นจากแสงแดด หรือบริเวณที่มีแสงสว่างส่องถึงตัวยาตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของยาให้มีประสิทธิภาพตลอดถึงวันสิ้นอายุของยา
- Taketomo CK, Hodding JH, Kraus DM. Pediatric & Neonatal Dosage Handbook, 19th ed. Hudson, Ohio, Lexi-Comp, Inc.; 2012
- Lacy CF, Amstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug Information handbook. 20th ed. Ohio: Lexi-Comp,Inc.; 2011-12.
- Micromedex Healthcare Series, Thomson Micromedex, Greenwood Village, Colorado
- Product Information: Valcyte, Valganciclovir, Roche, Thailand.
- Randa HD, Laurence L.B. Goodman and Gilman’s Manual of Pharmacology and Therapeutics. 2nd ed. China: McGraw-Hill; 2014.
- TIMS (Thailand). MIMS. 130th ed. Bangkok: UBM Medica; 2013.
บทนำ: คือยาอะไร?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ (Valganciclovir) คือ ยาต้านไวรัส (Antiviral agent) ชนิดรับประ ทานที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus) หรือเรียกสั้นๆว่า ‘โรคติดเชื้อไวรัสซีเอมวี (CMV)’ ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (Immunocompromised host) เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (Immunosuppressive drug) นอก จากนี้ยานี้ยังใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซีเอมวี/ โรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (CMV: Cyto megalovirus) ในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ (CMV disease in transplant patients) ด้วย
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนรูปเป็นยาแกนไซโคลเวียร์ (Ganciclovir)อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์เพื่อออกฤทธิ์ต้านไวรัส พบว่าระดับยาแกนไซโคลเวียร์ในร่างกายที่ถูกเปลี่ยนมาจากยาวาลแกนไซโคลเวียร์นั้นจะมีระดับยาในร่างกายสูงกว่ายาแกนไซโคลเวียร์ที่นำมารับประทานถึง 10 เท่า ดังนั้นยาวาลแกนไซโคลเวียร์จึงมีค่าชีวประสิทธิผล (Oral Bioavailability: อัตราเร็วและปริมาณของตัวยาที่ถูกดูดซึมจากผลิตภัณฑ์เข้าสู่กระแสเลือด) สูงว่ายาแกนไซโคลเวียร์ชนิดรับประทานถึง 10 เท่า โดยยาวาลแกนไซโคลเวียร์ขนาด 900 มิลลิกรัม (ยาฉีด) เทียบ เท่าได้กับยาแกนไซโคลเวียร์ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้/สรรพคุณรักษาโรค:
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ (Valganciclovir) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ให้ไปเป็นยาแกนไซโคลเวียร์ (Ganciclovir) ซึ่งยาแกนไซโคลเวียร์มีโครงสร้างเป็น Acyclic guanine nucleoside analog ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir: ยาต้านไวรัส) ดังนั้นกลไกการออกฤทธิ์ของยาวาลแกนไซโคลเวียร์จึงเช่นเดียวกับยา Acyclovir และกับยา Ganciclovir คือ ยับยั้งการสร้างสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) ของไวรัส
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
รูปแบบที่มีจำหน่ายของยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีรูปแบบทางเภสัชภัณฑ์ เช่น
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีขนาดหรือวิธีใช้ยาอย่างไร?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีขนาดหรือวิธีใช้ยาดังนี้เช่น
1. ขนาดยาสำหรับทารกอายุ 4 เดือนถึงเด็ก(นิยามคำว่าเด็ก)อายุ16 ปีที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่มีความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อไวรัสซีเอมวี: ขนาดยาที่เหมาะสมจะถูกคำนวณโดยอ้างอิงจากพื้นที่ผิวของร่างกาย (Body Surface Area: BSA) และค่าการทำงานของไต ทั้งนี้ขนาดยาที่เหมาะ สมแพทย์และ/หรือเภสัชกรจะเป็นผู้แนะนำ ผู้ป่วยไม่ควรปรับเพิ่มหรือลดขนาดยาด้วยตนเอง
2. ขนาดยาสำหรับเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่:
2.1 ขนาดยาสำหรับการรักษาจอตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสซีเอ็มวี (CMV retinitis): ขนาดยาเริ่มต้นคือ 900 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้าและเย็นเป็นเวลา 21 วัน โดยขนาดยาเพื่อคงระดับการรักษาคือ 900 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้งหลังอาหาร ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง สามารถกลับไปใช้ขนาดยาเริ่มต้นได้
2.2 ขนาดยาสำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซีเอ็มวีในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะ:
2.3 การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องและ/หรือผู้ป่วยบำบัดทด แทนไต/การล้างไต: ปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไต/ชนิดการบำบัดทดแทนไต โดยเริ่มปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที และไม่แนะนำให้ใช้ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 10 มิลลิลิตร/นาที หรือได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยแนะนำให้ใช้ยาแกนไซโคลเวียร์แทนและต้องปรับขนาดยาแกนไซโคลเวียร์ด้วย ทั้งนี้ขนาดยาที่เหมาะสมแพทย์และ/หรือเภสัชกรจะเป็นผู้แนะนำ ผู้ป่วยไม่ควรปรับขนาดยาเอง
2.4 การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่อง: ไม่จำเป็นต้องปรับขนาด ยาเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาขนาดยาในผู้ป่วยตับบกพร่อง
*****หมายเหตุ:
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาวาลแกนไซโคลเวียร์ ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
อีกทั้งหากอยู่ในช่วงให้นมบุตร แนะนำให้หลีกเลี่ยงการให้นมบุตร เพราะยานี้อาจถูกขับออกทางน้ำนม จึงอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียงรุนแรงแก่บุตร จึงควรพิจารณาหยุดให้นมบุตรหากมารดากำลังได้รับยานี้อยู่หรือหยุดการใช้ยา ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
หากลืมบริหารยา/ใช้ยาควรทำอย่างไร?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์จะมีวิธีการรับประทานยาวันละ 1 ครั้งหรือวันละ 2 ครั้ง
ก. การรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง: กรณีลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ (หากห่างไม่เกิน 12 ชั่วโมงจากเวลารับประทานยาปกติ) แต่หากนึกขึ้นได้ในช่วงใกล้กับเวลาที่ต้องรับประ ทานยามื้อถัดไป (เกินกว่า 12 ชั่วโมงจากเวลารับประทานยาปกติ) ให้ข้ามมื้อยาที่ลืมไป รับประทาน ยามื้อถัดไปในขนาดยาปกติ จากนั้นรับประทานยาในขนาดปกติต่อไป
ข. การรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง: ควรรับประทานยาให้ห่างกัน 12 ชั่วโมง กรณีลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ (หากห่างไม่เกิน 6 ชั่วโมงจากเวลารับประทานยาปกติ) แต่หากนึกขึ้นได้ในช่วงใกล้กับเวลาที่ต้องรับประทานในมื้อถัดไป (เกินกว่า 6 ชั่วโมงจากเวลารับประทานยาปกติ) ให้ข้ามมื้อที่ลืมรับประทานยาไป รับประทานยามื้อถัดไปในขนาดยาปกติ จากนั้นรับประ ทานยาในขนาดปกติต่อไป (ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าหรือนำยามื้อที่ลืมมารับประทานด้วย) และรับประทานยาในมื้อถัดๆไปในขนาดยาปกติเช่นเดิม ยกตัวอย่างเช่น ปกติรับประทานยาเวลา 8.00 น. และ 20.00 น. หากผู้ป่วยนึกขึ้นได้ว่าลืมรับประทานยามื้อ 8.00 น. โดยนึกขึ้นได้ตอนเวลา 12.00 น.(เกินกว่าเวลาปกติที่รับประทานยา 4 ชั่วโมง) ก็ให้รับประทานยามื้อ 8.00 น. ทันที ณ เวลาที่นึกขึ้นได้ จากนั้นเมื่อถึงเวลา 20.00 น. ให้รับประทานยามื้อ 20.0 น.ในขนาดปกติ แต่ถ้าหากผู้ป่วยนึกขึ้นได้ในช่วงเวลาที่นานเกินกว่า 6 ชั่วโมงของเวลาปกติแล้ว ให้รอรับประทานยามื้อต่อไป โดยข้ามยามื้อที่ลืมไปและรับประทานยามื้อถัดไปในขนาดปกติ (ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าหรือนำยามื้อที่ลืมไปมารับประทานด้วย) ยกตัวอย่างเช่น หากนึกขึ้นได้ว่าลืมรับประทานยามื้อ 8.00 น. ตอนเวลา 16.00 น. (เกิน 6 ชั่วโมง) ให้ผู้ป่วยข้ามมื้อ 8.00 น. ไปเลย และให้รับประทานยามื้อ 20.00 น. ในขนาดยาปกติ ไม่ต้องนำยาที่ลืมในมื้อ 8.00 น. มารับประทานหรือเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าโดยเด็ดขาด
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ผลไม่พึงประสงค์/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ของยาวาลแกนไซโคลเวียร์ที่พบได้บ่อยเช่น
มีข้อควรระวังการใช้ยาแกนไซโคลเวียร์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาแกนไซโคลเวียร์ เช่น
***** อนึ่ง:
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาวาลแกนไซโคลเวียร์) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
1. พบรายงานเกิดการชักในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาลแกนไซโคลเวียร์ร่วมกับยาอิมมิพีเนม-ไซลาสตาติน (Imipenem-Cilastatin: ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มคาร์บาพีเนม) ดังนั้นแนะนำอย่างยิ่งให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์จะพิจารณาใช้เฉพาะเมื่อพิจารณาแล้วพบประโยชน์เหนือความเสี่ยงเท่านั้น
2. ระดับยาไดดาโนซีน (Didanosine: ยาต้านรีโทรไวรัส) จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อให้ร่วมกับยาวาลแกนไซโคลเวียร์ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับอาการไม่พึงประสงค์จากยาไดดาโนซีน ส่งผลทำให้เกิดตับอักเสบหรือตับอ่อนอักเสบ ดังนั้นแพทย์จะใช้เฉพาะกรณีที่พิจารณาแล้วพบประโยชน์เหนือความเสี่ยงเท่านั้น
3. เมื่อให้ยาโปรเบนาซิด (Probenacid: ยาขับกรดยูริค) คู่กับยาวาลแกนไซโคลเวียร์ จะทำให้ระดับยาวาลแกนไซโคลเวียร์เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาวาลแกนโซโคลเวียร์ได้เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไขกระดูกถูกกดการทำงาน ดังนั้นหากใช้ยาทั้งสอง ร่วมกันแพทย์จะตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (ซีบีซี/CBC) และค่าการทำงานของไตเสมอ
4. เมื่อให้ยาซิโดวูดีน (Zidovudine: ยาต้านรีโทรไวรัส) คู่กับยาวาลแกนไซโคลเวียร์จะทำให้ระดับยาวาลแกนไซโคลเวียร์ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ แต่ระดับยาซิโดวูดีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับอาการไม่พึงประสงค์จากยาซิโดวูดีนเช่น การกดการทำงานของไขกระดูกอาจเป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางหรือภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์ต่ำ (Granu locytopenia: ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อต่างๆได้ง่าย) หากใช้ยาทั้งสองร่วมกันแพทย์จะติดตามค่าความสมบูรณ์เของเลือดเป็นระยะๆ
5. เมื่อใช้ยาวาลแกนไซโคลเวียร์คู่กับยาไมโครฟีโนเลต โมเฟตติว (Mycophenolate mofetil: ยากดภูมิคุ้มกัน) จะทำให้ระดับวาลแกนไซโคลเวียร์เพิ่มสูงขึ้น จึงแนะนำให้ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาวาลแกนไซโคลเวียร์เช่น คลื่นไส้-อาเจียน ไขกระดูกถูกกดการทำงาน ดังนั้นหากใช้ยาทั้งสองร่วมกันแพทย์จะคอยตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (ซีบีซี/CBC) และค่าการทำงาน ของไตเสมอ
6. ระวังการใช้ยาวาลแกนไซโคลเวียร์คู่กับยาอื่นๆที่มีผลกดไขกระดูกหรือทำให้ไตเสื่อม เช่น แดปโซน (Dapsone: ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย), เพนทามีดีน (Pentamidine: ยาต้านเชื้อรา ยาฆ่าโปรโตซัว), วินคริสทีน (Vincristine: ยาเคมีบำบัด), วินบลาสทีน (Vinblastine: ยาเคมีบำบัด), อะเดรียมายซิน (Adriamycin: ยาเคมีบำบัด), แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B: ยาต้านเชื้อรา) , ไฮดร็อกซียูเรีย (Hydroxyurea: ยาเคมีบำบัด) เนื่องจากอาจเพิ่มความเป็นพิษของยาวาลแกนไซโคลเวียร์ได้จึงไม่ควรใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน นอกจากแพทย์พิจารณาว่ามีประโยชน์เหนือความเสี่ยงเท่านั้น
ควรเก็บรักษายาวาลแกนไซโคลเวียร์อย่างไร?
แนะนำเก็บยาวาลแกนไซโคลเวียร์:
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาวาลแกนไซโคลเวียร์ มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Valcyte (วาลไซท์) 450 มิลลิกรัม | Roche |