วัณโรคนอกปอด (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

วัณโรคนอกปอด-6

      

      นอกจากนี้ ยังมีวัณโรคที่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ เช่น บริเวณหลอดเลือดที่ทำให้เกิดการแตกของหลอดเลือดเอออร์ตา (Aorta) บริเวณต่อมหมวกไต (Adrenal) ที่ทำให้เกิดโรคแอดดิสัน (Addison disease) บริเวณปลอกเอ็น (Tendon sheaths) ทำให้เกิดเยื่อหุ้มซินโนเวียมอักเสบ (Tuberculous tenosynovitis) เป็นต้น

      สำหรับการวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วยการ

  • การย้อมสีเอเอฟบี (Acid-fast staining) การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic analysis) การเพาะเชื้อ และการตรวจ NAT (Nucleic acid–based testing)
  • เอ็กซเรย์ช่องปอด
  • การทดสอบทูเบอร์คุลินทางผิวหนัง (Tuberculin skin testing: TST) หรือ การตรวจหาระดับสาร Interferon-gamma ในเลือด (Interferon-gamma release assay: IGRA)

      ส่วนการรักษาสามารถทำได้ด้วยการ

  • ให้ยาปฏิชีวนะ
  • ในกรณีที่มีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) อาจให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
  • ผ่าตัด

      ทั้งนี้ การให้ยาเป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษา ซึ่งโดยทั่วไปต้องกินยาเป็นเวลานาน 6-9 เดือน แม้ว่าจะไม่แสดงอาการแล้วก็ตาม ยกเว้นกรณีที่มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจต้องใช้เวลานานถึง 9-12 เดือน นอกจากนี้ การรักษามักมีปัญหาเรื่องการดื้อยาเนื่องจากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ มีการใช้ยาน้อยเกินไป หรือมีการการทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ (Susceptibility testing) ที่ไม่เพียงพอ

      ส่วนการผ่าตัดจะใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เพื่อระบายหนองในทรวงอก (Drain empyema) ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac tamponade) หรือ มีฝีหนองในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS abscess)
  • มีแผลรูเปิดระหว่างหลอดลมและช่องเยื่อหุ้มปอด (Bronchopleural fistulas)
  • เพื่อตัดลำไส้ส่วนที่ติดเชื้อออก
  • เพื่อลดความดันในกระดูกไขสันหลัง (Decompress spinal cord encroachment)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Extrapulmonary Tuberculousis (TB). https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/mycobacteria/extrapulmonary-tuberculosis-tb[2019, August 5].
  2. Tuberculosis (TB). https://www.who.int/tb/areas-of-work/preventive-care/ltbi_faqs/en/[2019, August 5].