วัคซีนที่แนะนำและตารางการรับวัคซีนผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ:อายุ 19 ปีขึ้นไป (Recommended Vaccine for Adults and Seniors)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

วัคซีน (Vaccines) เป็นสารชีววัตถุ (Biological preparation หรือ Biological product) ที่ได้จากจุลชีพ หรือสารชีวพิษ (Toxin) ของเชื้อโรค เพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน/ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษต่างๆ มนุษย์ได้เรียนรู้การพัฒนาวัคซีนมานานแล้วจากความพยายามในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่น การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) เป็นต้น

แม้วัคซีนมีที่มาจากตัวของจุลชีพเองหรือจากสารพิษ แต่ก็ได้มาผ่านกระบวนการทางการ แพทย์ที่ทำให้จุลชีพหรือสารพิษเหล่านั้นไม่คงฤทธิ์ต่อการเกิดโรคได้ หากแต่ยังมีความ สามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

วัคซีนมี 4 ประเภทได้แก่

1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine): เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ทำให้เชื้อโรคนั้นๆตายแล้วเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ

2. วัคซีนเชื้อเป็น (Live attenuated Vaccine): เป็นวัคซีนที่ได้จากเชื้อโรคที่ยังมีชีวิต แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อโรคได้แล้ว หากแต่ยังมีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันร่างกายได้อยู่เช่น วัคซีนไวรัสโรต้า วัคซีนโปลิโอ

3. วัคซีนซับยูนิต (Subunit Vaccine): เป็นวัคซีนที่ได้จากบางชิ้นส่วนของเชื้อไวรัสหรือของแบคทีเรียที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อโรคสูงเช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี

4. วัคซีนทอกซอยด์ (Toxoid): เป็นวัคซีนที่ผลิตได้จากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นเช่น วัค ซีนบาดทะยัก

เมื่อกล่าวถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันนั้น กลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็ก จึงมีการกำหนดแผน การให้บริการวัคซีน หรือ “ตารางการรับวัคซีน/ตารางวัคซีน/ตารางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน (Immunization schedules)” ของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่างๆและของประ เทศไทย (ทั้งนี้แต่ละประเทศจะมีตารางวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขแตกต่างกันตามลักษณะ ของโรคต่างๆของแต่ละประเทศนั้นๆ) และยังมีตารางวัคซีนที่แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ สตรี รวมถึงวัยชรา/ผู้สูงอายุนั้น ในกลุ่มคนบางกลุ่มอาจมีความจำเป็นที่ต้องได้รับวัคซีนด้วย ตารางวัคซีนจึงไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ เท่านั้นที่ควรทราบ หากมีข้อสงสัยในเรื่องของการรับวัคซีนชนิดต่างๆ สามารถสอบถามได้จาก แพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ใกล้บ้านของท่าน หรือจากสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 ก็ได้

อนึ่ง สามารถอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละวัคซีนได้ในเว็บ haamor.com เช่น ในเรื่องตารางการให้วัคซีนที่รวมถึงตารางการฉีดกระตุ้น วิธีให้วัคซีน ผลข้างเคียงของวัคซีนนั้นๆ เป็นต้น เช่น วัคซีนหัด วัคซีนหัดเยอรมัน วัคซีนคางทูม

คำแนะนำวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกับเด็กและวัยรุ่นอยู่มาก วัยผู้ใหญ่เป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ การเข้ารับวัคซีนในช่วงนี้จึงขึ้นอยู่กับสถานะและภาวะของผู้ป่วยแต่ละบุคคล อาทิ ประวัติการเข้ารับวัคซีนในช่วงวัยเด็ก ประวัติด้านสุขภาพ/ประวัติทางการแพทย์ ความเจ็บป่วยต่างๆ รูปแบบการใช้ชีวิต ลักษณะของอาชีพและการทำงาน หรือการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เป็นต้น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อประ เทศสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ได้มีคำแนะนำการใช้วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ดังนี้

วัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่แบ่งตามช่วงอายุ

วัคซีนที่แนะนำและตารางการรับวัคซีนผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่แบ่งตามช่วงอายุได้แก่

ตารางที่ 1 วัคซีนทีแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ทุกคนและในบางข้อบ่งใช้ที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปี ขึ้นไป

หมายเหตุ:

/สีเหลือง: คือวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ทุกคนในช่วงวัยต่างๆดังในตาราง หรือในกลุ่มบุคคลทีไม่มีประวัติการเคยเข้ารับวัคซีนนั้นๆมาก่อน

/สีเขียว: คือวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่างๆอาทิ ประวัติสัมผ้สโรค ลักษณะของอาชีพ รูปแบบการใช้ชีวิต หรือข้อบ่งใช้อื่นๆตามดุลพินิจของแพทย์

วัคซีนผู้ใหญ่ที่แนะนำให้แก่ผู้ป่วยผู้ใหญ่เฉพาะโรคหรือบุคคลเฉพาะกลุ่ม

ผู้ป่วยบางโรคมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนในการป้องกันโรคต่างๆเนื่องจากโรคบางโรคมีเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อเช่น ผู้ป่วยที่ไม่มีม้าม ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี รวมไปถึงบุคคลบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อเช่น ผู้ ชายที่มีคู่นอนกับผู้ชาย หรือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำวัคซีนสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือบุคคลเฉพาะกลุ่มดังในตารางที่ 4 ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 2 วัคซีนทีแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ในผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือบุคลเฉพาะกลุ่ม

คำอธิบายวัคซีนในตารางที่ 1 และ 2:

1. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine): ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) แนะนำให้ผู้ใหญ่ทุกคนควรเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถใช้ในรูปแบบวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated) ได้ กระทรวงสาธารณสุขของไทยสนับสนุนวัคซีนนี้แก่ประชาชนเช่นกัน

2. วัคซีนโรคบาดทะยักและคอตีบ (Td; Tetanus and Diptheria Vaccine) และโรคบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap; Tetanus, Diptheria, Pertussis Vaccine): วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่อยู่ในแผนการให้วัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขแก่เด็กไทย อย่างไรก็ดีผู้ใหญ่ควรได้รับการกระ ตุ้นภูมิคุ้มโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ทุกๆ 10 ปี โดยในครั้งแรกควรได้รับชนิด Tdap ซึ่งครอบคลุมทั้ง 3 โรค (คอตีบ บาดทะยัก และไอกรน) หลังจากนั้นสามารถให้วัคซีนชนิด Td ใน ช่วงทุกๆ 10 ปีต่อไปซึ่งจะครอบคลุม 2 โรคคือโรคคอตีบและโรคบาดทะยัก

3. วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella Vaccine): วัคซีนชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีประ วัติการได้รับหรือที่มีภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใสมาก่อน สามารถจำแนกอย่างคร่าวๆถึงผู้มีประวัติการมีหรือได้รับภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใสได้แก่

  • เคยได้รับวัคซีนชนิดนี้มาก่อน
  • เคยเป็นโรคอีสุกอีใสโดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์มาก่อน
  • เคยเป็นโรคงูสวัดโดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์มาก่อน
  • ได้รับการตรวจจากห้องปฏิบัติการว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้

4. วัคซีนเอชพีวี (HPV; Human papillomavirus): เป็นวัคซีนที่ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก แนะนำสำหรับผู้หญิงอายุ 11 หรือ 12 ปีโดยฉีด 3 ครั้ง หากไม่ได้ฉีดในช่วงอายุดัง กล่าว สามารถรับวัคซีนได้จนถึงอายุ 26 ปี สำหรับผู้ชายวัคซีนนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหูดหงอนไก่ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งอวัยวะเพศชาย โดยฉีด 3 ครั้งในช่วงอายุ 11 หรือ 12 ปี หรือผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 13 - 21 ปีหากไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับผู้ชายที่มีคู่นอนเป็นผู้ชาย สามารถให้รับวัคซีนนี้ได้จนถึงอายุ 26 ปี

5. Zoster คือ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Zoster Vaccine)

6. MMR คือ วัคซีนป้องกันโรคคางทูม-โรคหัด-โรคหัดเยอรมัน (MMR; Mump vaccine, Measle vaccine, Rubella Vaccine)

7. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส (Pneumococcal Vaccine; PCV13, PPSV23): ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป รับวัคซีนชนิดนี้ โดยรับวัคซีนชนิด PCV13 ก่อน หลังจากนั้น 1 ปีจึงให้ PPSV23

8. วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A Vaccine): แนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่ต้องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ อาทิ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ผู้ที่มีประวัติการใช้สาร/ยาเสพติด ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ

9. วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B Vaccine): แนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่ต้องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี อาทิ ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน (มากกว่า 1 คนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา), ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ผู้ที่มีประ วัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีด, ผู้ชายที่มีคู่นอนเป็นผู้ชาย, บุคลากรทางการแพทย์ที่มีโอกาสสัม ผัสกับเลือด รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้

10. วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Vaccine) มี 3 ชนิดคือ วัคซีน MenACWY, วัคซีน MPSV4 ซึ่งครอบคลุมโรคนี้จากเชื้อสายพันธุ์ย่อย A, C, W, Y และวัคซีน MenB ซึ่งครอบคลุมเชื้อฯสายพันธุ์ย่อย B การใช้วัคซีนขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย อายุ ประวัติการเจ็บป่วย การเดินทางไปยังบริเวณที่มีการแพร่ระบาดหรือเกิดการระบาดของเชื้อ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้วัคซีนเป็นกรณีๆไป โดยอาจให้ทั้ง 2 ชนิดที่ครอบคลุมเชื้อทุกสายพันธุ์ เช่น MenACWY พร้อมกับ MenB ก็ได้ แต่ฉีดเข้าคนละบริเวณของร่างกาย

11. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูอินซา ชนิดบี หรือ วัคซีนฮิบ (Hemophilus influenza Type B Vaccine or Hib/HIB/HiB vaccine): ให้ในผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโรคนี้เช่น ไม่มีม้ามหรือได้รับการผ่าตัดม้ามออก เป็นโรคเลือดชนิดมีเม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว (ปกติเม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างค่อนข้างกลม) หรือผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก

บรรณานุกรม

  1. Guidelines for Vaccinating Pregnant Women. US CDC. http://www.cdc.gov/vaccines/pregnancy/hcp/guidelines.html [2016,Nov19]
  2. Immunization Schedules for Infants and Children. US CDC. https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/easy-to-read/child.html [2016,Nov19]
  3. Immunization Schedules for Preteens and Teens. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/easy-to-read/preteen-teen.html [2016,Nov19]
  4. Meningococcal Vaccines for Preteens and Teens. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/parents/diseases/teen/mening.html [2016,Nov19]
  5. Recommended Adult Immunization Schedule United States 2016. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/downloads/adult/adult-combined-schedule.pdf [2016,Nov19]
  6. สันต์ ใจยอดศิลป์. วัคซีนในผู้ใหญ่ (Adult Vaccination). 2013. http://visitdrsant.blogspot.sg/2013/05/adult-vaccination.html [2016,Nov19]
  7. Immunological products and vaccines. บัญชียาหลักแห่งชาติ. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/14 [2016,Nov19]
  8. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. http://www.pidst.net/A478.html [2016,Nov19]
  9. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal vaccine). บลอคคลินิกนักท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน http://www.thaitravelclinic.com/blog/th/travel-medicine-issue/thai-meningococcal-vaccine.html [2016,Nov19]
  10. วิทยา ภิฐาพันธุ์. วัตซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ในรายการโทรทัศน์พบหมอศิริราช สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=428 [2016,Nov19]
  11. สธ. และ สปสช. รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กับประชาชน จำนวน 3.1 ล้านโด๊ส เริ่มดำเนินการ 1 พ.ค. 59 ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=82415 [2016,Nov19]
  12. หน่วยของ Anti-D ทำไมแตกต่างกัน. ศิริราชเภสัชสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 เดือนมกราคม 2558